ปัญหาเด็กนอนกรนพบได้ทั่วไปเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการหวัด หรือภูมิแพ้กำเริบ อาการนอนกรนในเด็ก มีสาเหตุคล้ายกับอาการนอนกรนในผู้ใหญ่ คือ ระบบทางเดินหายใจแคบลงจากการอุดกั้นของอวัยวะภายในช่องปาก ทำให้ทอนซิล เพดานอ่อน รวมไปถึงลิ้นไก่หย่อนตัวลงจนสั่นสะเทือนเป็น ‘เสียงกรน’ ซึ่งภาวะเด็กนอนกรน เป็นปัญหาสุขภาพที่ผู้ปกครองมักมองข้ามเนื่องจากคิดว่าทารกนอนกรนเป็นอาการปกติ ไม่ส่งผลเสียหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็ก แต่ความจริงแล้วทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า สมาธิสั้น หยุดหายใจขณะหลับ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต บทความนี้ เรามาทำความรู้จัก สาเหตุและอันตรายจากปัญหาลูกนอนกรน
เด็กนอนกรน ภาวะอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
เด็กทารกนอนกรน เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ร้อยละ 10 จากจำนวนประชากรเด็กในประเทศไทย ซึ่งจำนวนร้อยละ 1 พบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 2-6 ปี เนื่องจากภาวะเด็กนอนกรนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่บ่อย ทำให้พ่อแม่ส่วนใหญ่ขาดความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายจากอาการนอนกรนในเด็ก ซึ่งการละเลยปัญหาดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กถึงขั้นเสียชีวิต หากลูกนอนกรนร่วมกับมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เด็กนอนกรน เกิดจากอะไร
ทารกนอนกรน มีสาเหตุใกล้เคียงกับผู้ใหญ่นอนกรน ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ได้แก่
• ต่อมอะดีนอยด์ หรือต่อมทอนซิลโต เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดในภาวะเด็กนอนกรน เมื่อต่อมอะดีนอยด์ หรือทอนซิลขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ และเด็กทารกนอนกรนขณะหลับ
• อาการภูมิแพ้ คัดจมูก หรือน้ำมูกไหล ทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูกซึ่งนำไปสู่ปัญหาการนอนกรน
• โรคอ้วน เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน (BMI) มีโอกาสที่จะนอนกรนมากกว่าเด็กน้ำหนักปกติในวัยเดียวกัน เนื่องจากไขมันใต้คางอาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลง
• โรคหอบหืด หากลูกน้อยมีอาการหอบหืด ก็อาจทำให้ลูกนอนกรนได้ เพราะระบบทางเดินหายใจอักเสบและถูกปิดกั้น
• โครงสร้างใบหน้าผิดปกติ เด็กบางคนอาจมีความผิดปกติทางโครงสร้างใบหน้าและทางเดินหายใจ เช่น คางสั้น เยื่อบุโพรงจมูกคด ทำให้ทางเดินหายใจและเพดานช่องปากหย่อนลงไปปิดกั้นช่องทางเดินหายใจขณะหลับ จนเกิดเป็นภาวะเด็กนอนกรน
สังเกตอย่างไร อาการนอนกรนในเด็ก
อาการนอนกรนในเด็ก ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของลูก ผู้ปกครองสามารถสังเกตว่าลูกนอนกรนจากพฤติกรรมที่แสดงออกทั้งในเวลากลางวันและขณะหลับ สัญญาณเด็กนอนกรนสังเกตได้ง่าย แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าเป็นสาเหตุมาจากปัญหาเด็กทารกนอนกรน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้
• กรนดัง กรนบ่อยมากกว่า 3 คืน / สัปดาห์
• หายใจเฮิอก สะดุ้งตื่นหลังเสียงนอนกรน
• เหงื่อออกง่าย รู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลีย
• หงุดหงิด ก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเอง
• ฝันกลางวัน ปัสสาวะรดที่นอนบ่อย
• ไม่มีสมาธิจดจ่อ ขาดความสนใจเรื่องเรียน
ทารกนอนกรน อันตรายหรือไม่
เด็กนอนกรนไม่บ่อย อาจไม่เป็นอันตราย แต่ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนกรนร่วมกับหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ เพราะอาการหยุดหายใจขณะหลับเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา
6 อันตรายจากอาการนอนกรนในเด็ก
• ทารกนอนกรน เหนื่อยล้า และง่วงนอนมากตอนกลางวัน
• เด็กที่นอนกรน อาจปัสสาวะรดที่นอนบ่อย
• เด็กนอนกรน อาจมีผลการเรียนแย่ลง เนื่องจากขาดสมาธิ เรียนรู้ช้า ไม่สามารถจอจ่อกับการเรียน
• เด็กทารกนอนกรน เสี่ยงต่อการพัฒนาการช้า ภาวะเด็กนอนกรนที่เกิดร่วมกับอาการหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ออกซิเจนเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หากไม่ได้รับการรักษา ลูกน้อยอาจสมองเสื่อม
• ทารกนอนกรน มีปัญหาด้านอารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว หรือซุกซน
• เด็กทารกนอนกรนที่หยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจโต เนื่องจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
หากผู้ปกครองพบว่าลูกน้อยมีอาการนอนกรนดัง หายใจติดขัด ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น มีอาการง่วงระหว่างวันมากผิดปกติ หงุดหงิด ก้าวร้าว หรือสังเกตพบการหยุดหายใจขณะหลับ สามารถพาเด็กเข้ามารับการ ทดสอบการนอนหลับ (Sleep Test) ได้ทันที ซึ่งการตรวจสามารถวัดการทำงานของคลื่นสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระบบหายใจ ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ ความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ท่านอนที่ส่งผลต่อระดับออกซิเจน ความดังของเสียงกรน รวมไปถึงท่านอนที่ทำให้ระบบทางเดินหายใจถูกอุดกั้น
วิธีแก้ปัญหาลูกนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
แม้อาการนอนกรนในเด็ก อาจดูเป็นปัญหาการนอนหลับผิดปกติเพียงเล็กน้อยสำหรับผู้ปกครองบางคน แต่ความจริงแล้วภาวะนอนกรนทำให้เกิดอาการสมองพร่องออกซิเจนขณะหลับ ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรมองข้ามปัญหาภาวะเด็กนอนกรน ที่เกิดร่วมกับอาการหยุดหายใจขณะหลับ สำหรับแนวทางการรักษาเด็กนอนกรน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของเด็กแต่ละคน ดังนี้
• หลีกเลี่ยงการนอนหงาย เพราะเป็นท่าที่กล้ามเนื้อภายในช่องคอหย่อนตัว ทำให้ระบบทางเดินหายใจถูกอุดกั้น เด็กที่นอนกรนควรนอนตะแคง เพื่อลดอาการนอนกรน
• เด็กที่มีน้ำหนักมาก หรือมีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน ต้องควบคุมอาหาร เพราะไขมันที่หนาบริเวณช่องคอจะทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง
• กรณีที่ลูกน้อยมีอาการภูมิแพ้ ผู้ปกครองควรหมั่นทำความสะอาดผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าห่ม รวมไปถึงบริเวณในห้องนอนให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดฝุ่น และสิ่งแปลกปลอมที่ส่งผลโดยตรงต่ออาการภูมิแพ้ และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
• ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก กรณีที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด และแพทย์แนะนำให้ใช้ยาเพื่อรักษาอาการนอนกรน ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
• ใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP เหมาะสำหรับเด็กทารกนอนกรนที่หยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย โดยเครื่อง CPAP เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งมากขึ้น
• รักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนอนกรนในเด็กที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ ซึ่งส่งผลต่อการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินอาการของเด็กแต่ละคนว่าเหมาะกับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือไม่
โดยสรุป ภาวะเด็กนอนกรนเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป สาเหตุหลักของปัญหาเด็กนอนกรน เกิดจากต่อมอะดีนอยด์โต บางครั้งทารกนอนกรนก็มีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา มีความผิดปกติด้านพัฒนาการ พฤติกรรมก้าวร้าว สมองเสื่อม สมาธิสั้น หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคใหลตายในทารก