การตรวจวินิจฉัยระบบหายใจ

ที่ VitalSleep Clinic มีอุปกรณ์แก้นอนกรนและวิธีการตรวจนอนกรนหลายรูปแบบ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ตรวจให้ ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ดังนั้นไม่ต้องกังวลใจว่าผลการตรวจจะคลาดเคลื่อน เพราะเรามีเทคโนโลยีการตรวจที่ทันสมัยได้รับมาตรฐานของโลก

การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยระบบ CT SCAN

CT Scan (ซีที สแกน หรือ Computerized Tomography Scan) คือ เครื่องตรวจการนอนกรน ที่วินิจฉัยโรคด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์จะฉายรังสีเอกซ์ตามร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์สร้างเป็นภาพฉายลักษณะและอวัยวะภายในร่างกาย เพื่อประกอบการวินิจฉัยหาความผิดปกติของร่างกายต่อไป โดยวิธีการนี้จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน

ทำ CT Scan ที่ VitalSleep Clinic

นอนกรน ทำ CT Scan

เพื่อตรวจนอนกรน อาการนอนกรน ตรวจทางเดินหายใจดูตำแหน่งการตีบแคบของทางเดินหายใจการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อลิ้นและเพดานอ่อน รวมไปถึงดูความผิดปกติของโครงสร้างระบบทางเดินหายใจที่อาจเกิดขึ้นได้ 

สรุปก็คือ CT Scan คือการตรวจวินิฉัยโรคเพื่อรักษานอนกรน ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อย่างแม่นยำและรวดเร็ว

การเตรียมตัวทำ CT SCAN

การเตรียมตัว

ผู้ป่วยควรซักถามถึงข้อสงสัยที่มี อย่างสาเหตุ ความจำเป็น ความเสี่ยง และประโยชน์ที่ได้จากการตรวจด้วยเครื่องตรวจการนอนกรนอย่าง CT Scan หรือ เครื่องซีที สแกน โดยก่อนทำ ผู้ป่วยควรสวมเสื้อผ้าหลวม ๆ ที่ไม่มีส่วนประกอบของโลหะ เช่น ซิป เข็มขัด ถอดแว่นตา ฟันปลอม และไม่สวมใส่เครื่องประดับใด ๆ เพื่อที่เครื่องซีที สแกนจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจต้องเปลี่ยนใส่ชุดที่ทางคลินิคจัดให้ เพื่อให้สะดวกต่อการฉายรังสีและการสร้างภาพ

ข้อดีของการทำ CT SCAN

01. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถสแกนตรวจอวัยวะในร่างกายส่วนใหญ่ได้ เพื่อรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้อย่างแม่นยำ

02. สามารถสแกนได้รวดเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการสแกนแบบ MRI

03. ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดในขณะตรวจสแกน

04. ภาพที่ได้มีรายละเอียดสูงกว่าการทำอัลตราซาวนด์ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น

ข้อเสียของการทำ CT SCAN

01. อาจมีวัตถุแปลกปลอมที่รบกวนการแปลผลเอกซเรย์ เช่น เครื่องประดับต่าง ๆ

02. CT Scan เครื่องเอกซเรย์จะใช้ฉายรังสีปริมาณมากอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการรับรังสีมากเกินไป

03. ในการสแกนสมองด้วย CT Scan หรือเครื่องเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ อาจถูกกระดูกส่วนกะโหลกศีรษะบัง ทำให้แปลผลคลาดเคลื่อนได้

04. ในขณะสแกน ต้องมีการกลั้นหายใจ ซึ่งผู้ป่วยบางรายไม่สามารถปฏิบัติได้

05. ในตำแหน่งอื่น ๆ ที่มีกระดูกอยู่จำนวนมาก เช่น บริเวณกระดูกสันหลัง อาจเกิดการบดบังอวัยวะส่วนที่ ต้องการตรวจวินิจฉัยโรค จึงทำให้ภาพที่ได้จาก CT Scan มีโอกาสแปลผลคาดเคลื่อนได้

การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยการ X-RAY ระบบหายใจ

การเอกซเรย์นั้น เป็นการดูอาการนอนกรน ตรวจนอนกรน ที่ตำแหน่งตรวจทางเดินหายใจการตีบแคบของระบบหายใจ แต่เดิมเป็นการถ่ายภาพร่างกาย โดยใช้รังสีเอกซเรย์วิ่งผ่านร่างกาย ใช้เซ็นเซอร์รับภาพ และแสดงทาง จอคอมพิวเตอร์ แต่ภาพที่ได้ออกมาเป็นภาพ 2 มิติ ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาก้าวไปอีกครั้ง เป็นการเอกซเรย์ 3 มิติ ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และวางแผนการรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับให้เป็นปกติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

VitalSleep Clinic เรามีระบบการตรวจด้วยการ X-ray อวัยวะของระบบทางเดินหายใจประกอบด้วย รูจมูก, โพรงจมูก, คอหอย, หลอดลม

ตรวจทางเดินหายใจเพื่อหาความผิดปกติ ที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับการหายใจผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ไหลตายได้

การเตรียมตัวก่อนไปตรวจนอนกรนด้วยเอกซเรย์ (X-Ray)

การเอกซเรย์ (X-Ray) ในเเต่ละประเภทต้องมีการเตรียมตัวที่เเตกต่างกันไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องมีการเอกซเรย์แบบพิเศษ เช่น ก่อนที่จะทำการเอกซเรย์ระบบทางเดินอาหาร ต้องมีการงดอาหาร หรืออาจต้องกินยาระบายก่อน เพื่อเป็นการเคลียร์ระบบทางเดินอาหาร ส่วนการตรวจระบบหายใจหรือทางเดินหายใจ อาจจะไม่ต้องเตรียมตัวไป 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เหมือนกันในการทำการเอกซเรย์ ผู้ป่วยต้องมีการถอดเครื่องประดับออกจากร่างกายก่อนทำการเอกซเรย์วินิจฉัยโรคทั้งหมด 

และจำไว้เสมอว่า รังสีเอกซ์สามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ฉะนั้น หากผู้ป่วยเป็นผู้หญิงและมีโอกาสที่คุณจะตั้งครรภ์ควรบอกแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ก่อนที่คุณจะทำการเอกซเรย์ทุกครั้ง 

การฟังผล เอกซเรย์ 

ผลเอกซเรย์ของผู้ป่วยจะถูกอ่าน และแปลผลโดยแพทย์รังสี และนักรังสีวิทยา ซึ่งจะรายงานผลให้แพทย์ทราบ วินิจฉัยโรคเเล้วจะมีเจ้าหน้าที่นัดฟังผล และชี้เเจงให้ทราบ 

ความเสี่ยงจากการเอกซเรย์ (X-Ray) 

ถึงแม้ว่าการรับหรือสัมผัสรังสีเอกซ์ในปริมาณมากจะเป็นอันตราย แต่ในปัจจุบันเราต้องยอมรับว่ากระบวนเอกซเรย์ มีสิ่งอำนวยความสะดวก และกระบวนการที่ทันสมัย มีการใช้เทคนิคและอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเอกซ์น้อยที่สุด

การตรวจวินิจฉัยโรค การส่องกล้อง (FLEXIBLE SCOPE)

คือหัตถการที่แพทย์ใช้กล้องขนาดเล็กที่มีความยืดหยุ่นสูง (flexible) แสดงภาพขึ้นบนจอแบบละเอียดสูง (high definition) เพื่อตรวจหาวินิจฉัยโรคและสำรวจความผิดปกติของระบบหายใจเพื่อการตัดชิ้นเนื้อในการวินิจฉัยโรค เพื่อการตรวจนอนกรนและรักษานอนกรน รวมทั้งติดตามการนอนกรน 

ในปัจจุบันการส่องตรวจ หลอดลมชนิดนี้ได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการและเครื่องมือ เพื่อช่วยให้ หัตถการได้ข้อวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องแม่นยำและ ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยมากขึ้น การส่องตรวจนอนกรนนั้นเป็นวิธีที่มีความปลอดภัย พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้น้อย

การส่องกล้อง (FLEXIBLE SCOPE) ที่ VITALSLEEP CLINIC

ตรวจส่องกล้องเพื่อตรวจดูความผิดปกติในจมูก โพรงจมูกหลัง เพดานอ่อน คอหอย และกล่องเสียงที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ ในบริเวณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่นทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร หลอดลม ฯลฯ ภายในร่างกายของคนไข้ ทำให้การ วินิจฉัยโรคที่เกิดขึ้นกับระบบหายใจและประเมินอาการสภาพภายในหู คอ จมูก และไซนัสเป็นไป ได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น และบอกระยะ ความรุนแรงของโรคได้ และสามารถวางแผนการรักษา หลังจากตรวจได้ถูกต้องมากขึ้น

การเตรียมผู้ป่วยและการให้ยาชาเฉพาะที่บริเวณจมูก และคอ
ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร ก่อนมารับการตรวจส่องกล้อง (Flexible Scope)ตรวจหู คอ จมูก  ทางเดินหายใจและไซนัส ผู้ป่วยควร  แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาที่รับประทานเป็น ประจำ  รวมทั้งประวัติการแพ้ยา โดยเฉพาะ ยาชา 

วิธีการตรวจส่องกล้องตรวจหู, โพรงจมูก และไซนัส, คอ และกล่องเสียง และการปฏิบัติตัว

การส่องกล้อง (Flexible Scope) ตรวจหู คอ จมูกและไซนัส 

01. สามารถทำได้โดย ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งบนเก้าอี้ตรวจที่มีพนักพิงและมีที่พิงศีรษะ

02. การตรวจในท่านั่งมีข้อดี คือ สะดวกจัดท่าง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปที่เตียง แต่จะมีปัญหาเรื่องผู้ป่วยกลัวแล้วเป็นลมหมดสติ

03. ดังนั้นเวลาส่องตรวจแพทย์จะพูดคุยซักถามและสังเกตผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลาว่ามีอาการกลัวหน้าซีด มือเย็นหรือไม่ ถ้ามีแพทย์จะรีบให้ผู้ป่วยนอนราบทันที นอกจากนั้นอาจมีปัญหาเรื่องผู้ป่วยขยับศีรษะหรือผงะหนี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีระดับความทนทานต่อความเจ็บปวดน้อย ดังนั้นจึงต้องใช้เก้าอี้ที่มีพนักพิงและมี ที่พิงศีรษะด้วย

04. ขณะตรวจผู้ป่วยไม่ควรเคลื่อนไหวศีรษะ เพราะจะทำให้กล้องกระทบกับผนังหูชั้นนอก, โพรงจมูก และคอ ทำให้เกิดอาการเจ็บได้ระหว่างการส่องตรวจอาจมีอาการเจ็บ, คันหรือ แสบของหู คอ และจมูก และอาจจามได้เล็กน้อย

หลังการส่องกล้อง (Flexible Scope) ตรวจหู คอ จมูก และไซนัส ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้และในรายที่ยาชาไหลลง คอทำให้มีอาการชาที่คอ หรือแพทย์พ่นคอเพื่อให้ชา อาจรู้สึกคล้ายมีอะไร เช่น เสมหะ ติดในลำคอได้ หรือ รู้สึกคล้ายหายใจไม่ออกได้

ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะหายไปภายใน ½ ชั่วโมงหลังส่องกล้องเสร็จ

1. ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานน้ำหรืออาหารเป็นระยะเวลาประมาณ½-1ชั่วโมงหลังทำ เพื่อป้องกันการสำลักลง หลอดลม หลังจากนั้นจึงเริ่มดื่มน้ำได้ ถ้าสามารถดื่มได้ดี

2. ไม่มีอาการผิดปกติ จึงเริ่มรับประทานอาหาร ได้ภายใน 24 ชั่วโมงแรกผู้ป่วยอาจมีน้ำมูกหรือเสมหะไหลลงคอมากขึ้น อาจมีอาการแสบหรือคัดจมูก ระคายคอ หรือเจ็บคอเล็กน้อยได้ แต่อาการดังกล่าวมักจะหายไปเอง

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น

เทคโนโลยีที่ทันสมัย

VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เช่น Myosa®

เสียงตอบรับ

ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่

VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง

เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน

Scroll to Top