
รักษาอาการนอนกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบด้วยเฝือกสบฟัน
นอนกัดฟันคืออะไร
อาการนอนกัดฟันสามารถนิยามได้ว่า เป็นอาการที่ผิดปกติทางด้านการบดเคี้ยว หรือมีปัญหาการทำงานของขากรรไกร ส่วนมากมักเกิดขึ้นขณะหลับ ซึ่งจะมีการขบเคี้ยวฟันแน่น หรือบนฟันบนและฟันล่างถูซ้ำไปมา โดยผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันรุนแรงอาจมีอาการดังกล่าวมากกว่า 80 ถึง 100 ครั้งต่อคืน

อาการกัดฟันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
กัดฟันแบบรู้ตัว
(Diurnal Bruxism)
กัดฟันแบบไม่รู้ตัว
(Nocturnal Bruxism)
เชื่อกันว่าอาการกัดฟันแบบรู้ตัว อาจมีสาเหตุที่แตกต่างจากการกัดฟันแบบไม่รู้ตัว ขณะที่กัดฟัน จะมีการเสียดสีกันอย่างรุนแรงระหว่างพื้นผิวที่ถูกกัดของขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง การนอนกัดฟันสามารถแบ่งประเภทย่อยเป็นระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยปกติแล้ว เชื่อว่าสาเหตุนอนกัดฟันแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัวมีความแตกต่างกัน การนอนกัดฟันปฐมภูมิไม่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขทางการแพทย์ ส่วนการนอนกัดฟันทุติยภูมิเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทหรืออาจถือได้ว่าเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา
สาเหตุนอนกัดฟัน
1. นอนกัดฟันเกิดจาก ความเครียดจากชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดการขบเคี้ยวฟันโดยไม่รู้ตัว
2. นอนกัดฟันเกิดจาก สภาพฟันของแต่ละบุคคลเช่น จุดสูงบนตัวฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก เกิดการสูญเสียฟันและไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน
3. นอนกัดฟันเกิดจาก สารกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
4. นอนกัดฟันเกิดจาก การใช้ยารักษาโรคบางชนิดเช่น ยารักษาโรคซึมเศร้าและยารักษาอากรทางจิต
การรักษานอนกัดฟันด้วย Myosa®, แทนเฝือกสบฟัน (Splint) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมในการช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากอาการนอนขบฟันกันในตอนกลางคืน เนื่องจากตัวอุปกรณ์ Myosa® รักษานอนกัดฟันมีเนื้อสัมผัสนุ่ม ยืดหยุ่น จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันปัญหาฟันร้าวและฟันสึกก่อนวัยอันควร

10 สัญญาณที่อาจต้องพบแพทย์มีดังนี้
- ปวดข้อต่อขากรรไกรหรือมีอาการข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
- เมื่อมีการสึกกร่อนของฟันเพิ่มขึ้น
- ฟันแตกหักจากการบดเคี้ยว
- รู้สึกติดขัดเวลาอ้าปากหรือหุบปาก
- เสียงดังที่เกิดระหว่างนอนหลับ จนทำให้คนนอนข้างๆตื่น
- นอนหายใจทางปาก
- เจ็บปวดบริเวณหน้าหูหรือกกหู
- ได้ยินเสียง “คลิก” จากข้อต่อขากรรไกร
- มีอาการปวดหัว
- มีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็น
วิธีแก้นอนกัดฟันด้วยเฝือกสบฟันแข็ง (Splint)
โดยปกติเฝือกสบฟันแก้นอนกัดฟันมี 2 ชนิด
- เฝือกสบฟันแบบนุ่ม: บางงานวิจัยเผยว่า การใส่เฝือกสบฟันแบบนุ่มอาจยิ่งกระตุ้นให้สบฟันมากยิ่งขึ้น
- เฝือกสบฟันแบบแข็ง: ข้างนอกเป็นแบบแข็ง แต่ข้างในอ่อนนุ่ม ทำให้รู้สึกสบายตอนสวมใส่ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันอาการกัดฟันได้จริง ซึ่งทาง Vital Sleep Clinic ได้เลือกอุปกรณ์ชนิดนี้ในการรักษาคนไข้
เฝือกสบฟันแข็ง (Splint) สามารถใช้รักษาอาการนอนกัดฟัน ใส่ตอนนอนเพื่อช่วยให้อาการปริทันต์อักเสบดีขึ้น อุปกรณ์ชนิดนี้ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันได้รับบาดเจ็บจากการบดเคี้ยวฟันในช่วงเวลากลางคืน โดยอุปกรณ์ชนิดนี้จะปกคลุมพื้นผิวของฟันทั้งหมด จึงช่วยให้กล้ามเนื้อลดความตึงตัวลง อุปกรณ์สามารถผลิตได้โดยทันตแพทย์หรือห้องแลปที่ดูแลด้านนี้โดยฉพาะ
วัสดุที่นำมาใช้ผลิต splint คือ อะคริลิกใส ที่มีความแข็ง โดยทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ใส่อุปกรณ์ครอบแค่ขากรรไกรบนหรือขากรรไกรล่างแค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่อุปกรณ์ เพื่อลดการสึกของฟัน อาการข้อต่อขากรรไกรอักเสบซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการปวด รวมทั้งลดแรงที่บดลงบนฟันด้วย
นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันฟันสึกจากการนอนกัดฟันได้เพราะเมื่อใส่เครื่องมือแล้ว ฟันบนและฟันล่างจะไม่สามารถสัมผัสกันโดยตรง ทั้งนี้แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์เนื่องจากจะต้องมีการนัดมาตรวจและดูอาการเป็นระยะด้วย
ข้อแนะนำในการใช้เฝือกสบฟันแข็ง (Splint)
- ควรใส่อุปกรณ์เป็นประจำทุกคืนหรือตามที่แพทย์แนะนำ
- ไม่ต้องรู้สึกกังวลหากรู้สึกเจ็บตึงขณะเพิ่งเริ่มใส่
- ขณะใส่อุปกรณ์ อาจมีน้ำลายไหลออกมากกว่าปกติในช่วงแรก
- ขณะใส่อุปกรณ์ หากรู้สึกเจ็บจนผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อปรับแต่งแก้ไขอุปกรณ์
- เมื่อถอดอุปกรณ์ อาจมีการสบฟันที่เปลี่ยนไป เมื่อผ่านไปสักพักจะมีการกัดฟันที่ปกติได้ดังเดิม
- ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกวัน โดยใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันแปรงด้านนอกและตัวในของอุปกรณ์
คำถามที่พบบ่อย
Splint กับ รีเทนเนอร์เหมือนหรือแตกต่างกันยังไง?
ไม่เหมือนซะทีเดียว แต่คุณสมบัติของ splint บางอย่างสามารถใช้รีเทนเนอร์ได้ เพราะมีการล็อคซี่ฟันทุกซี่เหมือนกัน แต่รีเทนเนอร์ไม่มีด้านสบจึงอาจป้องกันการนอนกัดฟันได้ดีไม่เท่า
หากใส่รีเทนเนอร์อยู่ สามารถใส่ splint ร่วมด้วยได้ไหม?
สวมใส่ร่วมกันได้ เพียงแค่อาจต้องนำรีเทนเนอร์ที่ครอบฟันล่างมาปรับแต่งที่คลินิกเล็กน้อย เพื่อให้การสบฟันเป็นไปได้โดยปกติ
ฉีดโบท็อกซ์ช่วยลดพฤติกรรมนอนกัดฟันได้จริงไหม?
สามารถช่วยให้มีการสบฟันที่เบาลงได้เนื่องจาก กล้ามเนื้อใบหน้ามีความหดรัด ทำให้เกิดอาการตึง จนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อใบหน้าและข้อต่อขากรรไกรได้มากเท่าที่ควร แต่ทั้งนี้ วิธีนี้ก็เป็นเพียงการรักษาเสริม เพราะไม่สามารถช่วยให้พฤติกรรมการกัดฟันหายขาด ช่วยเพียงแค่ลดความรุนแรงของพฤติกรรมนอนกัดฟันเท่านั้นเอง
รักษานอนกัดฟันที่ไหนดี?
ผู้ที่มีปัญหานอนกัดฟันอาจกำลังคิดว่า ควรรักษานอนกัดฟันที่ไหนดี ความจริงแล้วโรงพยาบาลและคลินิกหลายแห่งก็มีบริการรักษานอนกัดฟัน Vital Sleep Clinic ก็เป็นหนึ่งในคลินิกที่ให้การรักษานอนกัดฟันโดยทันแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองในระดับสากล (รู้จักแพทย์ให้มากขึ้น) อีกทั้งมีห้องแลปที่สามารถผลิตอุปกรณ์รักษานอนกัดฟันเป็นของตัวเองซึ่งสะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐานภายใต้การดูแลของทันตแพทย์เฉพาะทางอีกด้วย นี่อาจเป็นหนึ่งในข้อมูลให้ผู้ที่กำลังประสบกับปัญหานอนกัดฟันสามารถตัดสินใจได้ว่า ควรรักษานอนกัดฟันที่ไหนดี
ทำไมต้องรักษานอนกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ที่
VITALSLEEP CLINIC ดีอย่างไร
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น
เทคโนโลยีที่ทันสมัย
VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เช่น Myosa®
ความหลากหลายของการรักษา

เทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่ VITALSLEEP CLINIC

VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดนอนกรนหรืออุปกรณ์รักษานอนกรนอีกหลากหลาย เช่น เครื่องเป่าความดันลม Cpap, หมอนลดกรน, Snore circle อีกด้วย
เสียงตอบรับ
ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
สถานที่เดินทางสะดวกติดรถไฟฟ้า BTS
VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS สถานีพญาไท เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง
เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เพราะเราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน
วิธีการรักษานอนกัดฟัน
1. รักษาการนอนกัดฟันด้วยเฝือกสบฟัน
2. รักษาการนอนกัดฟันด้วยการแก้ไขฟัน
การรักษานอนกรน
นอกจากทางคลินิกจะมีบริการรักษาการนอนกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบแล้ว ยังมีบริการรักษานอนกรนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicine ด้วย