การรักษานอนกรน

โรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ

รักษาอาการนอนกรนเพื่อสุขภาพของคุณและคนที่นอนข้างๆ

“นอนกรน หยุดหายใจ กรนเสียงดัง” อาจนำไปสู่ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

หยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นอาการที่อาจเกิดได้กับผู้ที่มีอาการกรน กรนเสียงดัง กรนหยุดหายใจ ซึ่งเป็นภัยร้ายที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะเหล่านี้ควรได้รับการรักษานอนกรนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA)

นอกจากเกิดการกรนหรือโรคกรนแล้ว ยังพบว่า ในขณะที่หลับนั้น ระหว่างการกรน อาจมีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย เนื่องจาก เมื่อเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ร่างกายจะพยายามหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อให้อากาศผ่านเข้าทางเดินหายใจที่ตีบลง ยิ่งทำให้ทางเดินหายใจแคบขึ้นจนกระทั่งปิดสนิท

คล้ายกับการดูดชิ้นของอาหารด้วยหลอด ชิ้นของอาหารจะติดที่ปลายหลอด ทำให้ไม่สามารถผ่านไปได้ อาหารในที่นี้เปรียบเสมือนอากาศนั่นเอง เมื่ออากาศไม่สามารถผ่านทางเดินอากาศที่ปิดสนิท ร่างกายจึงไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ และเมื่อสมองขาดออกซิเจน จะทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นในรูปแบบการหายใจแรงหรือไอแรง เพื่อปรับตำแหน่งของลิ้นใหม่ 

ในวงรอบการนอน (Sleep cycle) แต่ละครั้ง อาจมีการกรนและอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับเกิดขึ้นหลายครั้ง เป็นผลทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่เพียงพอและสมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ จึงอาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดวัน ส่งผลเสียอื่น ๆ มากมายตามมา

นอนกรน เสี่ยงต่อ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจทำให้เสียชีวิตได้

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคหยุดหายใจขณะหลับที่มาร่วมกับอาการนอนกรนเป็นโรคที่อันตราย และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้อาจให้คนใกล้ชิดที่นอนด้วยช่วยกันสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

วิธีในการรักษานอนกรน และหยุดหายใจขณะนอนหลับ

สำหรับวิธีแก้นอนกรนนั้น มีทั้งวิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด ขึ้นกับความเหมาะสมและความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย โดยผู้ป่วยสามารถทำการทดสอบการนอนหลับ (Sleep Test) ก่อนได้ เพื่อทราบความรุนแรงของอาการ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัยและประเมินผล พร้อมแนะนำแนวทางการรักษาต่อไป

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยวิธีอื่น

null

การเปิดทางเดินหายใจ โดยไม่ผ่าตัด

การเปิดทางเดินหายใจ โดยไม่ผ่าตัด

null

เครื่องมือทันตกรรม แก้นอนกรน

เครื่องมือทันตกรรม แก้นอนกรน

null

การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP)

การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP)

null

การฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน

การฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน

null

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น

null

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้ในการรักษาเยื่อบุจมูกบวม

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้ในการรักษาเยื่อบุจมูกบวม

null

Myofuctional Therapy

การรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ การรักษานอนกรน โดยวิธีไม่ผ่าตัด

การแก้นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แบบไม่ต้องผ่าตัด มีด้วยกันหลากหลายวิธี ดังนี้

1. การเปิดทางเดินหายใจโดยไม่ผ่าตัด

เครื่องมือทันตกรรมนอนกรน
(
Anti-snoring Appliance) 

เครื่องมือทางทันตกรรมนอนกรน เป็นอุปกรณ์แก้กรนที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ โดยเป็นการจัดตำแหน่งลิ้นหรือขากรรไกรมาทางด้านหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ซึ่งจะทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น ข้อดีของเครื่องมือนี้ คือ พกพาง่าย และใส่สบายมากกว่า CPAP

การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP) 

CPAP เป็นอุปกรณ์แก้กรนอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหลักการในการรักษาคือ การให้แรงดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอและโคนลิ้น เพื่อให้ทางเดินหายใจเปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดตันขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ สามารถหายใจรับอากาศอย่างพอเพียงและนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน

การฝังพิลลาร์ (Pillar) ในเพดานอ่อน


การรักษาด้วยพิลลาร์จะช่วยลดการสั่นสะเทือน หรือการสะบัดตัวของเพดานอ่อน และพยุงไม่ให้เพดานอ่อนในปากอุดกั้นทางเดินหายใจได้โดยง่าย โดยเป็นการสอดแท่งเล็กๆ 3 แท่ง) ซึ่งทำมาจากวัสดุโพลิเอสเตอร์อันอ่อนนุ่ม ที่ใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ชนิดที่สามารถสอดใส่ในร่างกายมนุษย์ได้อย่างถาวร ฝังเข้าไปในเพดานอ่อนในปาก

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น
(
Radiofrequency at Base of Tongue : RF BOT) 

การแก้นอนกรนด้วยวิธีนี้ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใส่เครื่องมือที่เป็นเข็มชนิดพิเศษแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อบริเวณโคนลิ้น เพื่อส่งคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency) ให้เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนในเนื้อเยื่อ ซึ่งจะทำให้โคนลิ้นกระชับตัวขึ้น ส่งผลให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น เหมาะกับผู้ที่มีการกรนเสียงดัง

ใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้รักษาเยื่อบุจมูกบวม
(
Radiofrequency (RF) for inferior turbinate reduction) 

การใช้คลื่นความถี่วิทยุในการรักษาเยื่อบุจมูกบวมหรืออักเสบเป็นการรักษาที่นิยมทำเพื่อลดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง โดยแพทย์จะใส่เครื่องมือเป็นเหมือนเข็มชนิดพิเศษสำหรับปล่อยพลังงานคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency, RF) สอดเข้าไปในเยื่อบุจมูก ส่วนที่เรียกว่า เทอร์บิเนตอันล่าง (Inferior turbinate) เพื่อให้เกิดความร้อนในเนื้อเยื่อดังกล่าว และกลายเป็นพังผืดเล็กๆ ซึ่งทำให้มีการหดตัวของเยื่อบุจมูกในเวลาถัดมา

การรักษาแบบผ่าตัด โดยวิธีอื่น

null

การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า

การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า

null

การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน และลิ้นไก่ โดยใช้เลเซอร์

การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน และลิ้นไก่ โดยใช้เลเซอร์

null

การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด

การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด

2. การรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ การรักษานอนกรน โดยวิธีการผ่าตัด

การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า
(
MMA : Maxillomandibular advancement)  

วิธีนี้สามารถขยายส่วนของทางเดินหายใจที่ตีบแคบระดับหลังเพดานอ่อน คอหอย (Pharynx) โดยเฉพาะหลังโคนลิ้น และคอหอยส่วนล่าง (Hypopharynx) ได้ โดยการเลื่อนกระดูกโครงสร้างของใบหน้าไปข้างหน้า ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดปานกลางถึงรุนแรง โดยสามารถทราบระดับความรุนแรงด้วยการตรวจการนอนหลับ (sleep test)

การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน และลิ้นไก่ โดยใช้เลเซอร์
(
Uvulopalatopharyngoplastry : UPPP) 

เป็นการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่หย่อนยานบริเวณลิ้นไก่และเพดานอ่อนออก ซึ่งจะทำให้ทางเดินหายใจบริเวณคอหอยกว้างขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีการหยุดหายใจขณะหลับชนิดรุนแรงน้อยถึงปานกลาง โดยสามารถทราบระดับความรุนแรงด้วยการตรวจการนอนหลับ (sleep test)

การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด 


การผ่าตัดแก้ไขภาวะดังกล่าว ทำโดยการผ่าตัดผ่านช่องจมูก เพื่อจัดผนังกั้นจมูกให้อยู่ในแนวตรงจึงไม่มีแผลหรือรอยผ่าตัดให้เห็นภายนอก ซึ่งการผ่าตัดชนิดนี้จะทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น

การรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ โดยการทำ
Myofuctional Therapy 

เป็นการฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าและกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าและกล้ามเนื้อทางเดินหายใจแข็งแรง  เหมาะทั้งสำหรับผู้ที่มีอาการกรนเสียงดัง หรือผู้ที่ผ่าตัดขากรรไกร (ทั้งก่อนและหลังผ่าตัด) ซึ่งสามารถใช้วิธีนี้ร่วมกับการรักษาด้วย เครื่องมือทางทันตกรรมแก้กรน (Oral appliance) หรือ CPAP ได้ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น

การตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินหายใจ ที่
VITALSLEEP CLINIC ดีอย่างไร

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น คลินิกนอนกรนของเรามีเครื่องตรวจนอนกรน บริการตรวจการนอนหลับ (Sleep Testและเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมทั้งเครื่องมือการตรวจที่ครบครันและได้มาตรฐานเพื่อทราบถึงความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มาร่วมกับอาการนอนกรน

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น

เทคโนโลยีที่ทันสมัย

VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เช่น Myosa®

 

ความหลากหลายของการรักษา

เทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่ VITALSLEEP CLINIC

VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดนอนกรนหรืออุปกรณ์รักษานอนกรนอีกหลากหลาย เช่น เครื่องเป่าความดันลม Cpap, หมอนลดกรน, Snore circle  อีกด้วย

เสียงตอบรับ

ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

คุณเจมส์
ดีเลยครับ แฮปปี้เลย แฟนก็แฮปปี้ เพราะว่าหลับสบายเต็มอิ่ม ถ้าใครนอนกรน แนะนำให้มาปรึกษาที่ VitalSleep ดีกว่าครับ
ฟรีแลนซ์
คุณวี
ที่ VitalSleep Clinic มีโปรแกรมหลายโปรแกรมเลยครับ ทั้งผ่าตัดและไม่ผ่าตัด แล้วที่นี่ยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยครับ
CEO บริษัทนำเข้าส่งออก

สถานที่เดินทางสะดวกติดรถไฟฟ้า BTS

VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS สถานีพญาไท เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง 

เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เพราะเราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน