
การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่ โดยใช้เลเซอร์
เป็นการผ่าตัดที่มักทำในคนไข้ที่มีอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดรุนแรงน้อยถึงปาน กลาง โดยการรักษาชนิดนี้เป็นการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่หย่อนยานบริเวณลิ้นไก่และเพดานอ่อนออก ซึ่งจะทำให้ทางเดินหายใจบริเวณคอหอยกว้างขึ้น โดยการดมยาสลบ ข้อดี สามารถลดขนาดเนื้อเยื่อต่างๆ ที่อุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนได้ด้วย เช่น ต่อมทอนซิลที่โต เนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อนที่มาก ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น อาการนอนกรนและหรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับน้อยลง
คนไข้จะหายใจได้สะดวกขึ้น การผ่าตัดชนิดนี้เป็นการผ่าตัดผ่านทางช่องปากแก้นอนกรน แพทย์จะใส่เครื่องมือทางช่องปาก ผู้ป่วยจึงไม่มีบาดแผลใดๆ ที่มองเห็นได้จากภายนอก การผ่าตัดนอนกรนชนิดนี้ควรทำเมื่อผู้ป่วยมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่เป็นหวัดหรือมีการ ติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน
เนื้อหาให้เลือกอ่าน
- ข้อดีของการรักษาด้วยการผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน
- การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา
- ขั้นตอนการรักษา
- การดูแลหลังการผ่าตัดเพดานอ่อน
- ภาวะแทรกซ้อน
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่โดยใช้เลเซอร์
- สามารถลดขนาดเนื้อเยื่อต่างๆ ที่หนาตัวหรือหย่อนยาน จนทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนได้ เช่น ต่อมทอนซิลที่โต เนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อนที่มาก ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น แก้นอนกรนหรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับน้อยลง
- อาจทำซ้ำได้อีก หากมีการหย่อนยานขึ้นตามอายุ
- การผ่าตัดนอนกรนหรือแก้นอนกรนครั้งนี้แพทย์จะทำหัตถการทางช่องปาก ผู้ป่วยจึงไม่มีบาดแผลใดๆที่มองเห็นได้จากภายนอก
การรักษาการนอนกรนด้วยคลื่นความถี่วิทยุรักษาเยื่อบุจมูกบวม เหมาะกับใคร
เหมาะกับผู้ที่นอนกรนเสียงดังและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่รุนแรง เช่น มีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก นอนเยอะแต่ยังรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย ง่วงนอนในเวลางาน ไม่สดชื่น
แนะนำ การรักษานอนกรนโดยผ่าตัดวิธีอื่น
- ผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกร
- ผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่โดยเลเซอร์
- ผ่าตัดนอนกรนแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา
ก่อนผ่าตัดเพดานอ่อน
แพทย์จะตรวจความสมบูรณ์ของร่างกายผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเพดานอ่อน เช่น การตรวจเลือด ผู้ป่วยสามารถมาโรงพยาบาลวันที่นัดทำผ่าตัดนอนกรนได้เลย ในบางรายแพทย์อาจแนะนำให้นอนในหอผู้ป่วยหลังผ่าตัด 1 คืน เพื่อสังเกตการหายใจหลังผ่าตัด สามารถกลับบ้านได้หลังพักฟื้น 1 คืน
ขั้นตอนการรักษา
- พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาปัญหาการนอนกรน ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วย
- ตรวจสุขภาพการนอนหลับ Sleep Test เพื่อประเมินอาการว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด
การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test) สามารถตรวจได้ที่บ้าน เพื่อที่ผลการตรวจจะได้ใกล้เคียงกับการนอนปกติมากที่สุด โดยจะมีเจ้าหน้าที่ นำเครื่องตรวจไปให้ที่บ้าน
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแปลผลและอ่านผลตรวจสุขภาพการนอนหลับ
หลังจากตรวจสุขภาพการนอนหลับเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะส่งผลตรวจกลับมาที่คลินิก และให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนอ่านผลการตรวจ
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ
เมื่อแพทย์แปลผลอ่านผลเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะแนะนำการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเรา และสามารถทำการรักษาได้เลยในวันที่ฟังผล
- ติดตามการรักษา
การดูแลหลังการผ่าตัดเพดานอ่อน
- ผู้ป่วยจะมีแผลที่เพดานอ่อน และลิ้นไก่ อาจมีอาการเจ็บคอ กลืนอาหารหรือน้ำลายลำบากจากแผลผ่าตัด ทำให้รับประทานไม่ค่อยสะดวก อาจมีน้ำลายปนเลือดออกมาได้บ้างเล็กน้อย
- ผู้ป่วยอาจจะมีไข้ หรือมีอาการบวม หรือรู้สึกติดๆ ขัดๆ ตึงๆ คล้ายมีสิ่งแปลกปลอมบริเวณคอ หรือมีเสียงเปลี่ยนได้ ซึ่งอาการดังกล่าวมักจะหายไปภายใน 1 สัปดาห์
- หลังการผ่าตัด 1-2 วันแรก เพดานอ่อน และลิ้นไก่ อาจบวมมากขึ้นได้ ทำให้หายใจอึดอัด ไม่สะดวก ทำให้นอนกรนมากขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรนอนศีรษะสูง โดยใช้หมอนหนุน อมและประคบน้ำแข็งบ่อยๆ ในช่วงสัปดาห์แรก เพื่อลดอาการบวมบริเวณที่ทำผ่าตัด
- ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด ยาลดบวม ยาฆ่าเชื้อ และยากลั้วคอ ผู้ป่วยควรจะรับประทานยาดังกล่าวให้หมด ไม่ว่าอาการจะดีขึ้นหรือไม่ก็ตาม ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล เมื่อจำเป็นได้
- ควรหลีกเลี่ยงการขากเสมหะแรงๆ การล้วงคอ หรือแปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไป งดการออกกำลังกายหักโหมหรือยกของหนัก 24-48 ชั่วโมงแรก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกจากแผลในช่องปากได้ ถ้ามีเลือดออกจากช่องปาก ควรนอนพัก ยกศีรษะสูง อมน้ำแข็งในปาก นำน้ำแข็งหรือ Cold pack มาประคบบริเวณหน้าผากหรือคอ เพื่อให้เลือดหยุด
- ควรรับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม ไม่ควรรับประทานอาหารที่แข็งหรือร้อน หรือรสเผ็ดหรือจัดเกินไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด อาหารที่รับประทานหลังผ่าตัดควรเป็นอาหารเหลวที่เย็น หรือไอศกรีม
- โดยปกติหลังผ่าตัดประมาณ 4 สัปดาห์ แผลจะหายเป็นปกติ เพดานอ่อนและลิ้นไก่จะลดขนาดลง นอนกรน และ/หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะดีขึ้น หลังทำการผ่าตัดประมาณ 4-8 สัปดาห์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจนเห็นได้ชัด ภายในระยะเวลาดังกล่าว อาจต้องรับการปรึกษาจากแพทย์อีกครั้ง
ภาวะแทรกซ้อน
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้คือ เลือดออกจากแผลผ่าตัดจำนวนมากหลังผ่าตัด (พบได้น้อย) การหายใจลำบากจากการบวมของเนื้อเยื่อรอบๆ บริเวณผ่าตัด หรือแผลผ่าตัดติดเชื้อ แต่พบได้น้อย
ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเนื่องจากมีข้อบ่งชี้ของอาการนอนกรน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อ้วนมาก มีโรคหัวใจหรือโรคปอดร่วมด้วย มีดัชนีของการหยุดหายใจขณะหลับสูง มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำมากในเวลาหลับที่ตรวจพบตั้งแต่ก่อนผ่าตัด จะเป็นผู้ที่มีอัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า
ทำไมต้องรักษาโรคนอนกรน ที่ VitalSleep Clinic
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น
เทคโนโลยีที่ทันสมัย
VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เช่น Myosa®
เสียงตอบรับ
ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่
VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง
เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน