การรักษานอนกรนโดยไม่ผ่าตัด
แก้ปัญหานอนกรน โรคนอนกรน ตามความเหมาะสมของแต่ละเคส
แก้นอนกรน รักษานอนกรน โดยวิธีไม่ผ่าตัด ด้วยวิธีต่าง ๆ
รักษาโรคนอนกรน แก้ปัญหานอนกรน ด้วยวิธีรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัด เป็นการรักษาโรคนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาการกรนแบบไม่ผ่าตัดก่อน ถ้าไม่สามารถรักษาโรคนอนกรนได้ หรือมีปัญหาที่ต้องแก้นอนกรนโดยการผ่าตัด เช่น มีโครงหน้าสั้น หรือเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน จึงต้องทำการผ่าตัดรักษาการกรนด้วยการขยายทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาหลายปัจจัย ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องรักษานอนกรนแบบผ่าตัดได้ การแก้โรคนอนกรนแบบไม่ผ่าตัดด้วยการใช้เครื่องมือทันตกรรมแก้นอนกรน ในปัจจุบันสามารถรักษาได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากที่มีโรคนอนกรน มักจะเลือกวิธีรักษาการกรนด้วยการไม่ผ่าตัด เพราะไม่ต้องผ่าตัดให้เจ็บตัว และไม่ต้องเสียเวลาในการพักฟื้นอีกด้วย ก่อนอื่นผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep test) ก่อนที่จะระบุวิธีการรักษาการกรนได้ เพราะขึ้นกับความเหมาะสมของอาการนอนกรน ทั้งระดับความรุนแรงอาการนอนกรน และสาเหตุของโรคนอนกรนในแต่ละเคส โดยมีวิธีรักษาโรคนอนกรนโดยไม่ผ่าตัด ดังนี้
อุปกรณ์แก้กรน iNAP
อุปกรณ์แก้กรน iNAP® ออกแบบมาเพื่อมอบประสบการณ์การนอนหลับที่สบายให้กับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ซึ่งแตกต่างจากเครื่อง CPAP ทั่วไป การรักษาด้วยอุปกรณ์รักษานอนกรน iNAP ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากครอบใบหน้าหรือต้องพกพาเครื่องขนาดใหญ่อย่างเช่นเครื่อง CPAP
การเปิดทางเดินหายใจโดยไม่ผ่าตัด
หลังจากผู้ป่วยรับการตรวจรักษานอนกรนโดยแพทย์แล้ว แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับการตรวจการนอนหลับ (Sleep test) เพื่อแยกว่าเป็น นอนกรนแบบธรรมดา หรือนอนกรนแบบอันตราย และถ้าเป็นโรคนอนกรนแบบอันตราย การตรวจการนอนหลับ (Sleep test) จะบอกถึงระดับความรุนแรงของอาการนอนกรนแบบอันตราย ได้ว่ารุนแรงมากหรือน้อยเพียงใด
เครื่องมือทันตกรรมแก้นอนกรน
แก้ปัญหานอนกรน ด้วยฟันยางแก้นอนกรน ครอบฟันแก้นอนกรน จัดเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่นอนกรนหรือ ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับที่ดีอีกวิธีหนึ่ง สามารถใช้โดยง่ายด้วยการให้ผู้ป่วยสวมเครื่องมือในปากขณะนอนหลับ
การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP)
การเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอและโคนลิ้น ซึ่งเป็นส่วนทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดตันขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องสามารถหายใจรับอากาศอย่างพอเพียงและนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน
การฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน
แก้ไขนอนกรนด้วยการการฝังพิลลาร์ (Pillar) เข้าไปในเพดานอ่อน เป็นการรักษาที่นิยมทำในการรักษา อาการนอนกรน (Snoring) และ/หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea) ที่เป็นไม่มากอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง หรือไม่ใช่อาการนอนกรนแบบอันตราย โดยสอดแท่งเล็ก ๆ 3 แท่ง ซึ่งทำมาจากโพลิเอสเตอร์อันอ่อนนุ่ม ช่วยแก้นอนกรน
การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น
การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้นเป็นการผ่าตัดเล็กที่นิยมทำมาก เพื่อรักษานอนกรน และ/ หรือ มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การรักษาวิธีนี้ทำโดยแพทย์จะใส่เครื่องมือที่เป็นเข็มชนิดพิเศษแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อบริเวณโคนลิ้น เพื่อส่งคลื่นความถี่วิทยุ
การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้ในการรักษาเยื่อบุจมูกบวม
การใช้คลื่นความถี่วิทยุในการรักษาเยื่อบุจมูกบวมหรืออักเสบ เพื่อแก้ปัญหานอนกรน เป็นการรักษาที่นิยมทำเพื่อลดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและการปฏิบัติตนพื้นฐาน ขั้นตอนการรักษาการกรนทำโดยแพทย์จะใส่เครื่องมือเป็นเหมือนเข็มชนิดพิเศษ