การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น
(Radiofrequency at Base of Tongue : RF BOT)

การแก้นอนกรนด้วยวิธีนี้สามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ หรือการดมยาสลบ หลังรักษามีแผลที่เยื่อบุโคนลิ้นเพียงเล็กน้อย จึงไม่มีบาดแผลใดๆ ที่มองเห็นได้จากภายนอก อาการปวดหรือเจ็บแผลหลังผ่าตัดไม่มาก ใช้ระยะการรักษาเพียงแค่ 15 นาที

การรักษานอนกรนด้วยวิธีการใช้ RF จี้บริเวณโคนลิ้น เหมาะกับใคร

เหมาะกับผู้ที่นอนกรนเสียงดังและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่รุนแรง เช่น มีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก นอนเยอะแต่ยังรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย ง่วงนอนในเวลางาน ไม่สดชื่น

ข้อดีของการรักษานอนกรนด้วยวิธีการใช้ RF บริเวณโคนลิ้น

แต่ถ้าผลการรักษา แก้นอนกรนยังคงไม่เป็นที่น่าพอใจ สามารถทำซ้ำได้อีก วิธีแก้โรคนอนกรนที่นิยมใช้ ร่วมกับการผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนลิ้นไก่และผนังคอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

ข้อเสียของการรักษานอนกรนด้วยวิธีการใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น

อย่างไรก็ตามไม่ใช่การรักษาที่คาดหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ถาวรตลอดไปเช่นเดียวกับการรักษาหรือแก้อาการนอนกรน ชนิดอื่นๆ เนื่องจากในอนาคต ถ้าผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น อาการนอนกรนอาจกลับมาเป็นอีกได้

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

ผู้ป่วยที่จะรักษานอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพื่อลดเสียงกรนด้วยการใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น (Radiofrequency at Base of Tongue : RF BOT)

  • ควรจะรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันไข้หวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน
  • สำหรับผู้ป่วยโรคนอนกรนที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน หรือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ต้องหยุดยาก่อนผ่าตัดหลายวัน ทั้งนี้ต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินความพร้อมของผู้ป่วยสำหรับการผ่าตัด ซึ่งอาจต้องตรวจเลือด ภาพถ่ายรังสี หรือคลื่นหัวใจแล้วแต่ความจำเป็น

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้คลื่นวิทยุ

  • ผู้ป่วยที่ใช้คลื่นวิทยุรักษา อาจรู้สึกหายใจลำบากจากการบวมบริเวณโคนลิ้น ซึ่งถ้าอาการรุนแรง อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเจาะหลอดลมคอ
  • บางรายอาจเลือดออกจากแผลผ่าตัด ซึ่งปกติมักมีปริมาณน้อยและหยุดได้เอง ยกเว้นถ้าเลือดออกไม่หยุดอาจต้องไปทำการห้ามเลือดในห้องผ่าตัด
  • ผู้ป่วยอาจกลืนไม่สะดวกเนื่องจากบวมและเจ็บโคนลิ้นในช่วงแรก ซึ่งมักเป็นไม่เกิน 1 สัปดาห์
  • การแก้อาการนอนกรนด้วยวิธีนี้ อาจมีความเสี่ยงต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 ซึ่งมาเลี้ยงกล้ามเนื้อของลิ้นได้ แต่มีรายงานที่พบน้อยมาก (ไม่ถึงร้อยละ 1) และผู้ป่วยเกือบทุกรายพูดได้ชัดปกติ

นอกจากความเสี่ยงจากการใช้คลื่นความถี่วิทยุแล้วยังมีความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของการใช้ยาชาเฉพาะที่ เช่น

  • ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม หูอื้อ ซึ่งอาการเหล่านี้มักหายได้เอง อย่างไรก็ตามแม้ว่าผลข้างเคียงที่รุนแรงจะพบได้น้อยมาก
  • แต่ผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับและมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือ มีโรคหัวใจหรือโรคปอดร่วมด้วย จะมีอัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการแก้ปัญหานอนกรนด้วยวิธีนี้ได้สูงขึ้น

ขั้นตอนการรักษา

พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาปัญหาการนอนกรน ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วย

ตรวจสุขภาพการนอนหลับ Sleep Test

เพื่อประเมินอาการว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test) สามารถตรวจได้ที่บ้านเลย เพื่อที่ผลการตรวจจะได้ตรงตามอาการมากที่สุด โดยจะมีเจ้าหน้าที่ นำเครื่องตรวจไปให้ที่บ้าน

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแปรผลและอ่านผลตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test) 

หลังจากตรวจสุขภาพการนอนหลับเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะนำเครื่องตรวจกลับมาที่คลินิก และให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนอ่านผลการตรวจ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ 

เมื่อแพทย์แปรผลอ่านผลเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะแนะนำการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเราเช่น การใช้คลื่นวิทยุ RF รักษา หรืออาจจ่ายอุปกรณ์แก้กรนให้กับคนไข้

ติดตามการรักษา

การปฏิบัติตนและสิ่งที่ควรทราบหลังใช้ Radio Frequency รักษานอนกรน
  1. ผู้ป่วยส่วนมากมักได้รับการรักษาร่วมกับการผ่าตัดบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ หรือการรักษาในจมูก ดังนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงมักให้นอนพักในโรงพยาบาล หลังผ่าตัด 1-2 คืน เพื่อเฝ้าระวัง และสังเกตอาการ
  2. ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บคอ ราว 1 – 2 สัปดาห์ ซึ่งมักเป็นเนื่องจากการผ่าตัดอื่นที่ทำร่วมด้วยมากกว่า อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีนี้มักจะได้รับยาที่จำเป็น เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ และ ยาลดบวมกลุ่มสเตียรอยด์ ร่วมด้วย
  3. หลังการใช้คลื่นความถี่วิทยุสัปดาห์แรก ทางเดินหายใจมักจะบวมขึ้น อาจทำให้หายใจไม่สะดวก และยังมีอาการนอนกรนนอกจากนี้อาจมีเลือดออกได้ ดังนั้นควรอมน้ำเข็งหรือประคบเย็นที่คอบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการขับเสมหะแรงๆ ระวังไม่แปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไป งดเล่นกีฬาที่หักโหมหรือยกของหนักชั่วคราว นอนศีรษะสูง โดยใช้หมอนหนุน แต่ถ้าอาการเป็นรุนแรงขึ้นควรรีบไปโรงพยาบาลพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาทันที
  4. ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม หรือ อาหารเหลวที่เย็น เช่น ไอศกรีม ไม่ควรรับประทานอาหารที่แข็งหรือร้อน หรือ รสเผ็ดรสจัดเกินไป อย่างน้อย 1 สัปดาห์แรกหลังใช้คลื่นความถี่วิทยุแก้ปัญหานอนกรน
  5. ควรรักษาความสะอาดในช่องปาก เช่น บ้วนปากและแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
  6. การนัดตรวจติดตามอาการ แพทย์จะนัดมาดูแผลครั้งแรกประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด และหลังจากนั้น 4 สัปดาห์ แพทย์จะนัดมาเพื่อประเมินผลการรักษา ถ้าอาการต่าง ๆ เช่น โรคนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับม่ดีขึ้น แพทย์อาจจะพิจารณาการรักษาซ้ำหรือ แนะนำทางเลือกในการรักษาอื่น ๆ ที่เหมาะสมมากกว่า ต่อไป

ทำไมต้องรักษาโรคนอนกรน ที่ VitalSleep Clinic

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น

เทคโนโลยีที่ทันสมัย

VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและระบบทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์แก้กรนหรืออุปกรณ์อีกหลากหลาย เช่น เครื่องเป่าความดันลม Cpap , หมอนลดกรน , Snore circle ชิป อีกด้วย

 

ความหลากหลายของการรักษา

เสียงตอบรับ

ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

คุณเจมส์
ดีเลยครับ แฮปปี้เลย แฟนก็แฮปปี้ เพราะว่าหลับสบายเต็มอิ่ม ถ้าใครนอนกรน แนะนำให้มาปรึกษาที่ VitalSleep ดีกว่าครับ
ฟรีแลนซ์
คุณวี
ที่ VitalSleep Clinic มีโปรแกรมหลายโปรแกรมเลยครับ ทั้งผ่าตัดและไม่ผ่าตัด แล้วที่นี่ยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยครับ
CEO บริษัทนำเข้าส่งออก
ติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่

VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง

เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยวิธีอื่น

null

การเปิดทางเดินหายใจ โดยไม่ผ่าตัด

การเปิดทางเดินหายใจ โดยไม่ผ่าตัด

null

เครื่องมือทันตกรรม แก้นอนกรน

เครื่องมือทันตกรรม แก้นอนกรน

null

การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP)

การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP)

null

การฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน

การฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน

null

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น

null

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้ในการรักษาเยื่อบุจมูกบวม

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้ในการรักษาเยื่อบุจมูกบวม

null

Myofuctional Therapy

การรักษาแบบผ่าตัด โดยวิธีอื่น

null

การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า

การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า

null

การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน และลิ้นไก่ โดยใช้เลเซอร์

การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน และลิ้นไก่ โดยใช้เลเซอร์

null

การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด

การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด