รักษานอนกรนด้วยการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบน-ล่างมาทางด้านหน้า

treat snoring with jaw surgery

การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า (MMA : Maxillomandibular advancement)

งานวิจัยพบว่าความสำเร็จของการรักษาสูงถึง 95% เป็นวิธีรักษาที่ยอมรับกันทั่วโลก

การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า  (MMA : Maxillomandibular advancement) เพื่อการแก้นอนกรนและรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ ก่อให้เกิดอาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับคือ การที่กระดูกขากรรไกรบน (Maxilla) และกระดูกขากรรไกรล่าง (Mandible)  ถอยร่นไปทางด้านหลังจากพันธุกรรม หรือจากโครงสร้างที่ผิดปกติ (Maxillomandibular deficiency) ทำให้ขนาดของทางเดินหายใจเล็กลง นอกเหนือไปจาก การหนาตัว และการหย่อนยานของเนื้อเยื่ออ่อนในระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่มาจากอายุ

จากงานวิจัยพบว่า การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า (MMA: Maxillomandibular advancement)ความสำเร็จของวิธีนี้สูงถึง  95 เปอร์เซ็นต์ โดยสามารถขยายส่วนของทางเดินหายใจที่ตีบแคบบริเวณหลังเพดานอ่อน คอหอย (Pharynx) โดยเฉพาะหลังโคนลิ้น และคอหอยส่วนล่าง (Hypopharynx) เป็นการแก้นอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับได้

โดยการเลื่อนกระดูกโครงสร้างของใบหน้าไปข้างหน้าในสัดส่วนที่เหมาะสมและได้รับการประเมินจากแพทย์เฉพาะทาง นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ป้องกันการหย่อนยาน และการยุบ หรือหย่อนตัวด้วย การผ่าตัดนอนกรนชนิดนี้สามารถเลือกทำเป็นการผ่าตัดขากรรไกรเริ่มต้นเลยก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดปานกลางถึงรุนแรง หรือมีความผิดปกติของโครงสร้างของกระดูกใบหน้า (กระดูกขากรรไกรบนและล่าง)

การผ่าตัดนอนกรนหรือที่เรียกว่าการผ่าตัดขากรรไกรนอนกรน อาจเป็นทางเลือกการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับแก้อาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) บางกรณีที่มีสาเหตุจากปัญหาในทางเดินหายใจส่วนบน

เป้าหมายหลักของการผ่าตัดขากรรไกรแก้นอนกรน คือการจัดตำแหน่งของกรามบนและล่างเพื่อปรับปรุงการจัดตำแหน่งของทางเดินหายใจและลดการอุดกั้นทางเดินหายใจระหว่างการนอนหลับ การผ่าตัดสามารถแก้ไขปัญหาการนอนกรนและปรับปรุงการหายใจได้ด้วยการแก้ไขปัญหาโครงหน้า ซึ่งส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น การรักษาโรคนอนกรนด้วยวิธีผ่าตัดก็เป็นอีกทาเลือกที่น่าสนใจ

Maxillo-Mandibular-Advancement_Compare
ขอบคุณภาพประกอบจาก Youtube : Kevin Coppelson, MD, DDS

หรือเลือกทำในกรณีที่ผ่าตัดขากรรไกร แก้นอนกรน หรืออาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับโดยวิธีอื่นๆแล้ว ไม่เหมาะกับการรักษานั้น นอกจากนั้นการเลื่อนขากรรไกรบนและล่าง อาจช่วยในด้านความสวยงามของใบหน้าด้วย โดยเฉพาะคนไข้ที่มีโครงหน้าผิดปกติ คางสั้น โครงหน้าเอียง การทำ MMA จะช่วยให้สัดส่วนใบหน้าปกติและสวยงามมากขึ้น ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผ่าตัด

ก่อนเข้ารับการผ่าตัดขากรรไกร ผู้ที่มีอาการนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับควรปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับและศัลยแพทย์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกรเพื่อพิจารณาว่าบุคคลเหล่านี้สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้หรือไม่ โดยการตรวจการนอนหลับ จะประเมินความรุนแรงของอาการ เพื่อตรวจว่ามีภาวะหยุดหายใจ apnea คือสิ่งที่เป็นปัจจัยทางร่างกายที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด

เนื้อหาให้เลือกอ่าน

ข้อดีของการรักษานอนกรนด้วยวิธีการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า

  • เป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด เนื่องจากหากรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล มักจะใช้วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้าย
  • ผู้ที่อยากจะแก้ปัญหานอนกรน พร้อมใบหน้าที่ผิดปกติ อยากให้โครงหน้ามีสัดส่วนที่สวยงาม

ข้อเสียของการรักษานอนกรนด้วยวิธีการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า

  • ใช้เวลาพักฟื้นนานกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่น
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องมีการใช้เครื่องมือจัดฟันหลังผ่าตัดเพื่อช่วยในเรื่องของฟันสบกัน
การรักษานอนกรนด้วยการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า เหมาะกับใคร

เหมาะกับผู้ที่นอนกรนเสียงดัง นอนกรนหายใจติดขัด และมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับรุนแรงถึงรุนแรงมาก ซึ่งเสียต่อการเสียชีวิต และส่งผลกับสุขภาพอย่างมาก

แนะนำ การรักษานอนกรนโดยผ่าตัดวิธีอื่น

ก่อนการผ่าตัดขากรรไกร

  • คนไข้บางรายอาจจะต้องมีการใช้เครื่องมือจัดฟันหลังผ่าตัด เพื่อช่วยในเรื่องของฟันสบกัน เป็นการเตรียมพร้อมตำแหน่งการสบฟันใหม่ ที่เกิดขึ้นหลังจากเลื่อนตำแหน่งขากรรไกรไปในตำแหน่งใหม่
  • ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีความจำเป็นต้องติดเครื่องมือจัดฟัน  ขึ้นอยู่กับแผนการเลื่อนตำแหน่งของขากรรไกร  บนและล่าง ผู้ป่วยจะได้รับการพิมพ์ฟัน และจำลองโครงสร้างของกระดูกใบหน้าด้วยระบบคอมพิวเตอร์ระบบ 3D ก่อนการผ่าตัด
  • แพทย์สามารถจำลองเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างได้เพื่อประเมินว่า ช่องทางเดินหายใจจะเพิ่มขึ้นแบบมีนัยสำคัญหลังผ่าตัดได้หรือไม่

ขั้นตอนการผ่าตัดขากรรไกร

  • คนไข้จะได้รับการผ่าตัดนอนกรนโดยทีมแพทย์ และวางยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์ ซึ่งระยะเวลาในการผ่าตัดจะประมาณ 4-5 ชั่วโมง
  • คนไข้จะต้องใส่เครื่องมือจัดฟันในส่วนของการผ่าตัดขากรรไกรก่อนเข้าห้องผ่าตัด
  • หลังจากนั้น แพทย์จะทำการตัดกระดูกขากรรไกรบนและ/ หรือล่าง โดยลงแผลผ่าตัดในช่องปาก (ไม่มีแผลที่ใบหน้าภายนอก)
  • ขั้นตอนต่อไป แพทย์จะเลื่อนขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า (ระยะของการเลื่อนขากรรไกรแพทย์จะแจ้งให้ทราบก่อนการผ่าตัด) จากนั้น แพทย์จะทำการยึดกระดูกใบหน้าด้านบนด้วยวัสดุยึดกระดูกทางการแพทย์ (Plate และ screw)

ขั้นตอนการรักษา

  • พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาปัญหาเสียงกรนที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วย

  • ตรวจสุขภาพการนอนหลับ Sleep Test เพื่อประเมินอาการว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ โดยนำผลที่ได้มาประเมินการรักษาได้อย่างตรงจุด

  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแปรผลและอ่านผลตรวจสุขภาพการนอนหลับ

หลังจากตรวจสุขภาพการนอนหลับเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะส่งผลตรวจกลับมาที่คลินิก และให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนอ่านผลการตรวจ

  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ

เมื่อแพทย์แปรผลอ่านผลเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะแนะนำการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ และสามารถทำการรักษาได้เลย

ติดตามการรักษาหลังจากผ่าตัด

  • คนไข้จะได้รับการสังเกตอาการในห้อง ICU เป็นระยะเวลา 1 คืน ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ จากการผ่าตัดนอนกรน คนไข้จะถูกย้ายกลับไปที่หอผู้ป่วยพิเศษในวันรุ่งขึ้น
  • คนไข้อาจรู้สึกว่าบริเวณใบหน้ามีอาการบวมได้มากที่สุดใน 4-5 วันแรก และอาจรู้สึกชาบริเวณใบหน้าได้ หรือมีอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด การประคบน้ำแข็งใน 2 วันแรกหลังผ่าตัดทำให้ลดบวมเร็วขึ้น และอาการชาจะค่อยๆ ดีขึ้น
  • ช่วงแรกหลังผ่าตัด ริมฝีปากอาจบวมและแห้ง เจ็บหลังผ่าตัด การทาขี้ผึ้งหรือวาสลีนจะช่วยทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้น
  • คนไข้อาจรู้สึกว่าจมูกคัด หายใจไม่ออก อาจมีเลือดที่ค้างอยู่ในโพรงจมูกและโพรงไซนัสไหลออกมาได้ แพทย์อาจแนะนำให้ล้างจมูกหรือพ่นน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูก เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลหลังผ่าตัด
  • คนไข้อาจมีรอยช้ำ บริเวณใต้ผิวหนังบริเวณคอและใบหน้าได้ ซึ่งจะค่อยๆหายไปได้เอง ผู้ป่วยอาจต้องพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล 2-3 วัน
  • คนไข้สามารถกลับบ้านได้ ถ้าทางเดินหายใจยุบบวมดี ไม่มีการอุดกั้น ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารเหลวและน้ำได้ดี ผลของการผ่าตัดนั้นจะเห็นผลทันทีหลังผ่าตัด และจะเห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น
  • หลังเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจและใบหน้ายุบบวม ประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังผ่าตัด ส่วนใหญ่คนไข้มักกลับไปทำงานได้ภายในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์
  • คนไข้สามารถอ้าปากขยับขากรรไกรบนและล่างได้ สามารถรับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนได้ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ตุ๋น แต่ไม่ควรเคี้ยวอาหารเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  • หลังผ่าตัด 4-6  สัปดาห์ แพทย์จะเอาเหล็กที่ครอบฟันบน และล่าง (Arch bar) ออกและอนุญาตให้ผู้ป่วยเริ่มเคี้ยวอาหารชนิดนิ่มได้

ภาวะแทรกซ้อน​

อาจมีอาการชาบริเวณเหงือกด้านบน หรือด้านล่าง หรือบริเวณริมผีปากหรือคางได้เนื่องจากมีการกระทบกระเทือนเส้นประสาทสัมผัสที่มาเลี้ยงบริเวณดังกล่าวจากการผ่าตัด อาการดังกล่าวส่วนใหญ่จะดีขึ้นใช้เวลา 2-3 เดือนหลังจากผ่าตัด โดยปกติแพทย์จะประเมินอาการและความเสี่ยงอาการชาให้เบื้องต้นตามแต่ละบุคคล

  • การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด (พบได้น้อยมาก) การผ่าตัดที่ใดก็ตามในร่างกายเรามีโอกาสติดเชื้อได้
  • อาการปวดแผลหลังผ่าตัด อาจมีบ้างแต่สามรถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
  • กระดูกขากรรไกรบนและล่างเลื่อนมาด้านหน้า อาจทำให้รูปหน้าเปลี่ยนแปลงไปตามแผนที่ปรึกษาแพทย์ผ่าตัดไว้
  • ภาวะเลือดออกมากหลังผ่าตัด (พบได้น้อยมาก)

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น

เทคโนโลยีที่ทันสมัย

VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เช่น Myosa®

เสียงตอบรับ

ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่

VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง

เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน

คลินิกรักษานอนกรน

รักษานอนกรนด้วยเครื่องมือทันตกรรม รับรองโดย American Board of Dental Sleep Medicine

ศูนย์รวมทางการแพทย์แผนปัจจุบันที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มแพทย์และ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความผิดปกติของการนอนหลับ รวมไปถึงการนอนกรนและหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Amornpong Vachiramon

แพทย์เฉพาะทางศัลยกรรม ช่องปาก ใบหน้า
ขากรรไกร และทันตกรรมจัดฟัน

Oral Maxillofacial Surgery And Orthodontics (ศัลยศาสตร์ช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียล)

รักษานอนกรน
Scroll to Top