เครื่องมือทันตกรรมแก้นอนกรน
Oral appliance (Anti-Snoring Appliance)

การใช้ อุปกรณ์รักษานอนกรน หรือเครื่องครอบฟัน Oral Appliance เพื่อรักษาผู้ที่นอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ถือเป็นวิธีที่นิยมทำวิธีหนึ่งเพราะมีคุณสมบัติ “เล็กกว่า สบายกว่า พกพาสะดวกกว่า”

หลักการของอุปกรณ์แก้กรนชนิดนี้คือ การจัดตำแหน่งลิ้นหรือขากรรไกรมาทางด้านหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น สามารถลดการอุดกั้นทางเดินหายใจและลดเสียงกรนได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ท่านต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับและรับการ ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ก่อน จึงจะพิจารณาได้ว่า สามารถรักษาด้วยเครื่องมือนอนกรน Oral Appliance ได้หรือไม่

“เล็กกว่า สบายกว่า พกพาสะดวกกว่า”

การรักษานอนกรนด้วยอุปกรณ์แก้กรน Oral appliance เหมาะกับใคร

“เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ไม่อยากใช้เครื่องเปิดทางเดินหายใจอย่าง CPAP รวมถึงผู้ที่ปฏิเสธการรักษาโดยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดทอนซิล อะดีนอยด์ การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกร การเจาะคอ รวมถึงผู้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้า”

ข้อดี ที่เหนือกว่าการใช้เครื่อง CPAP ในการรักษานอนกรน

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับบางราย มักนิยมใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน Oral Appliance ขณะหลับมากกว่าเครื่องช่วยหายใจ CPAP เนื่องจาก

“สำหรับบางรายที่มีอาการนอนกัดฟันร่วมกับอาการนอนกรน อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรนชนิดนี้ยังสามารถช่วยแก้ปัญหานอนกัดฟันที่มีสาเหตุมาจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย นอกจากนี้เครื่องมือทันตกรรมนอนกรน ยังสามารถใช้ร่วมกับการรักษาด้วยคลื่นวิทยุ RF หรือการผ่าตัดทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการรักษาร่วมกันให้สูงขึ้นได้อีกด้วย”

อุปกรณ์แก้กรน Oral Appliance มี 3 ชนิด ดังต่อไปนี้

1. เครื่องช่วยจัดตำแหน่งของขากรรไกรล่าง (Mandibular repo­sitioning devices, MRD)

เครื่องมือนอนกรนชนิดนี้เป็นอุปกรณ์แก้อาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน โดยหลักการคือ ปรับเลื่อนขากรรไกรล่างไปทางด้านหน้า ยึดขากรรไกรบนและล่างเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ลิ้นที่ยึดติดอยู่กับขากรรไกรล่างเคลื่อนมาทางด้านหน้า

นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อของลิ้นในหลายๆ มัด ให้มีความตึงตัวมากขึ้น และช่วยจัดตำแหน่งของเพดานอ่อนให้มีการตึงตัวและเลื่อนมาทางด้านหน้าด้วย ป้องกันไม่ให้มีการอ้าปากขณะหลับ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อลิ้นเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ เครื่องมือทันตกรรมยังช่วยให้ทางเดินหายใจส่วนบนเปิดกว้างขึ้นขณะนอนหลับ จึงสามารถแก้ไขปัญหานอนกรนได้อย่างแท้จริง

2. เครื่องมือปรับตำแหน่งลิ้นให้ยื่นมาด้านหน้า (Tongue retaining devices)

เครื่องมือนอนกรนชนิดนี้ มีส่วนประกอบที่จะช่วยยึดลิ้นไว้ให้อยู่ในตำแหน่งทางด้านหน้า ไม่ให้ตกลงไปทางด้านหลังขณะนอนหลับ โดยอาศัยแรงดันที่เป็นลบในอุปกรณ์ดังกล่าว ทำให้ทางเดินหายใจบริเวณหลังโคนลิ้นเปิดกว้าง ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ผู้ที่ไม่มีฟัน ผู้ที่มีโรคเหงือก หรือ โรคของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint Disorders) เช่น ข้อต่อขากรรไกรอักเสบขณะนอนหลับด้วย

3. เครื่องมือในช่องปากที่ใช้ร่วมกับเครื่องเป่าความดันลมเพื่อขยายทางเดินหายใจ (Combined Oral Appliances and CPAP)

เป็นเครื่องครอบฟันที่เหมาะกับผู้ที่นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจจะมีความจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องใช้อุปกรณ์นอนกรนร่วมกันทั้งสองชนิด

ขั้นตอนการรักษา

1. พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาปัญหาการนอนกรนที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วย

2. ตรวจสุขภาพการนอนหลับ Sleep Test

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ สามารถตรวจได้ที่บ้าน เพื่อที่ผลการตรวจจะได้ตรงตามอาการมากที่สุด โดยจะมีเจ้าหน้าที่ นำเครื่องตรวจไปให้ที่บ้าน

3. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแปลผลและอ่านผลตรวจสุขภาพการนอนหลับ

เจ้าหน้าที่จะนำเครื่องตรวจกลับมาที่คลินิก และให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนอ่านผลการตรวจ

4. รับอุปกรณ์ เครื่องครอบฟัน เพื่อรักษา

แพทย์จะให้เครื่องมือทันตกรรมที่เหมาะสมกับตัวเรา และสอนวิธีการใช้โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ

5. ติดตามการรักษา

ผู้ที่มีอาการนอนกรนเสียงดังหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับควรใส่เครื่องมืออย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมถึงเข้ารับการตรวจ เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด

6. ระยะเวลาในการรักษา

ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและวินัยของคนไข้ที่จะใช้เครื่องมือทันตกรรมในการรักษานอนกรนด้วย

เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด ควรได้รับการดูแลสภาพช่องปากและฟัน ตลอดจนขากรรไกร โดยทันตแพทย์ควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือทันตกรรมนอนกรน

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะสั้นขณะสวมใส่อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรนที่พบได้ เช่น

  • ในช่วงแรกอาจพบว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บบริเวณที่ใส่เครื่องมือทันตกรรม
  • อาจเกิดแผลบริเวณเหงือกสำหรับผู้ป่วยบางราย
  • อาจมีอาการปวดเมื่อยหรือ รู้สึกไม่สบายบริเวณกรามและขากรรไกรได้
  • อาการส่วนใหญ่จะหายไปเองหลังจากได้รับการปรับเครื่องมือทันตกรรมให้เข้าที่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีน้ำลายออกมามากผิดปกติ หรืออาจมีอาการปากแห้ง
  • ถ้าใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ไปนาน ๆ ผู้ป่วยอาจมีการสบฟันที่เปลี่ยนแปลงไป หรือปวดฟันบ้าง

อ่านเพิ่มเติม

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น

เทคโนโลยีที่ทันสมัย

VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เช่น Myosa®

เสียงตอบรับ

ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่

VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง

เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน

Scroll to Top