ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
หัวข้อย่อย
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับสาเหตุ เกิดจากอะไร?
โรคหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากอะไร?
เครื่องช่วยนอนกรน หรือ เครื่องมือแก้นอนกรน แบบไหนที่เหมาะกับคุณ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นภาวะผิดปกติที่พบมากในผู้ที่มีปัญหานอนกรน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะอากาศสามารถไหลเข้าสู่ปอดได้น้อยลง จนถึงขั้นไม่มีอากาศไหลเข้าสู่ปอดเลยเป็นเวลายาวนานถึง 10 วินาที หรืออาจยาวนานกว่านั้นในบางเคส ปัญหาที่ตามมาคือ ออกซิเจนในเลือดต่ำลง ในขณะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดกลับเพิ่มสูงขึ้น อาการเหล่านี้พบได้มากในผู้สูงอายุหรือกลุ่มคนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และอาจพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาจกล่าวได้ว่า โรคหยุดหายใจขณะหลับที่มาร่วมกับอาการนอนกรนเป็นโรคที่อันตราย และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้อาจให้คนใกล้ชิดที่นอนด้วยช่วยกันสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ประเภทภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดอุดกั้น Obstructive sleep apnea (OSA) เป็นความผิดปกติที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจมากจนกระทั่งทำให้เกิดหยุดหายขณะหลับใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ
2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดสมองส่วนกลาง Central sleep apnea (CSA) เป็นความผิดปกติจากสมองส่วนกลางของคุณไม่ส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจ ให้เหมาะสม หรือจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่กดสมองส่วนกลางไว้ ทำให้หยุดหายใจขณะหลับ เช่น ยานอนหลับ
3. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดซับซ้อน Complex sleep apnea syndrome เป็นความผิดปกติที่ผสมผสานทั้งแบบภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดอุดกลั้น(OSA) และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดสมองส่วนกลาง (CSA) ทำให้หยุดหายใจขณะหลับโดยอัตโนมัติ
อาการหยุดหายใจขณะหลับ
อาการที่บ่งบอกว่าคุณมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเช็กได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบางบุคคลยากที่จะระบุอาการได้ว่ามีอาการหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้นควรพบแพทย์เมื่อมีอาการข้างต้นดังกล่าว 2-3 ข้อขึ้นไป
- อาการนอนกรนเสียงดังมากๆ
- มีบุคคลใกล้ชิดสังเกตเห็น ว่าคุณมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ
- ตื่นขึ้นมาด้วยอาการคอแห้งผาก ปากแห้ง
- สะดุ้งเฮือกขณะนอนหลับ
- ตื่นขึ้นมาด้วยอาการปวดหัว
- มีอาการเหนื่อยง่าย
- มีอาการง่วงนอนตลอด ทั้งวัน
- ตื่นขึ้นมาด้วยความไม่สดชื่น
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับสาเหตุ เกิดจากอะไร?
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น Obstructive sleep apnea (OSA)
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับสาเหตุ เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหลังลำคอคลายตัว ซึ่งกล้ามเนื้อนี้มีหน้าที่รองรับเพดานอ่อน (ลิ้นไก่) ต่อมทอนซิลผนังด้านข้างของลำคอ และลิ้น ขณะที่คุณหลับ กล้ามเนื้อหลังลำคอจะคลายตัวลง และค่อยๆแคบลง จนกระทั่งปิดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง เมื่อสมองของคุณรับรู้ว่าคุณไม่สามารถหายใจได้คุณจะถูกปลุกขึ้นมาโดยอัตโนมัติ เพื่อให้คุณสามารถหายใจได้อีกครั้ง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้มักจะสั้นมากจนคุณจำไม่ได้ สามารถเกิดขึ้นได้ 5 – 30 ครั้ง หรือมากกว่านั้นในแต่ละชั่วโมง ทำให้คุณไม่สามารถหลับได้ลึก และพักผ่อนไม่เพียงพอ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดสมองส่วนกลาง Central sleep apnea (CSA)
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับสาเหตุ เกิดจากภาวะสมองของคุณไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อหายใจของคุณได้ คุณอาจตื่นขึ้นมาด้วยอาการหายใจแบบถี่ และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับสาเหตุ นี้พบได้น้อยมาก คือประมาณ 0.4 %
แนะนำอ่านเพิ่มเติม
โรคหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากอะไร
โรคหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจาก อาการเหนื่อยล้าในตอนกลางวัน : เกิดจากการตื่นนอน ขณะหลับ ระยะสั้น ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว ส่งผลให้สมาธิ และการจดจ่อของคุณลดน้อยลง รวมถึงคุณจะอาการหงุดหงิด อารมณ์เสีย ระหว่างวัน บ่อยครั้ง ซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบนทางถนน มากกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับทั่วไป
โรคหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจาก ความดันโลหิตสูง หรือภาวะความผิดปกติของหัวใจ : ระหว่างหยุดหายใจขณะหลับ ระดับออกซิเจนในเลือดของคุณจะลดลงอย่างกะทันหัน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง โรคหายใจวาย และโรคหลอดเลือดในสมอง หากคุณมีภาวะโรคหัวใจร่วมด้วย และมีอาการออกซิเจนในเลือดต่ำหลายครั้ง หรือภาวะขาดออกซิเจนในเลือด อาจทำให้คุณเสียชีวิตได้อย่างกะทันหันจากการหัวใจเต้นผิดปกติ
โรคหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจาก โรคเบาหวานชนิดที่ 2 : ชนิดนี้พบมากที่สุด (ประมาณ 90%) ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดเนื่องจากภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) เมื่อรับประทานอาหาร ตับอ่อนพยายามผลิตอินซูลิน เพื่อน้ำน้ำตาลจากอาหารเข้าเซลล์ไปใช้เป็นพลังงาน แต่ภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้อินซูลินทำหน้าที่ลดน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง เกิดเป็นเบาหวาน ซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
โรคหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจาก ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาและการผ่าตัด : ภาวะหยุดหายใจขณะหลับยังเป็นปัญหากับยาบางชนิดและการดมยาสลบ ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจมีแนวโน้มที่จะมีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดใหญ่ เนื่องจากมีปัญหาในการหายใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนอนหลับและนอนหงาย ก่อนการผ่าตัดควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
แนะนำอ่านเพิ่มเติม
- นอนกรน เสี่ยงเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- นอนกรนเสี่ยงมะเร็ง?
- นอนกรน เสี่ยง โรคไหลตาย ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
เครื่องช่วยนอนกรน หรือ เครื่องมือแก้นอนกรน แบบไหนที่เหมาะกับคุณ
ทางคลินิกมีวิธีการรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัดโดยหลักๆ ดังนี้
1. เครื่องช่วยนอนกรน หรือ เครื่องมือแก้นอนกรน iNAP : ออกแบบมาเพื่อมอบประสบการณ์การนอนหลับที่สบายให้กับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเครื่องช่วยนอนกรน หรือ เครื่องช่วยหายใจ CPAP ทั่วไป การรักษาด้วยเครื่องช่วยนอนกรน หรือ เครื่องมือแก้นอนกรน iNAP ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากครอบใบหน้าหรือต้องพกพาเครื่องขนาดใหญ่อย่างเช่นเครื่องมือแก้นอนกรน CPAP
2. เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance) : แก้ปัญหานอนกรน ด้วยฟันยางแก้นอนกรน ครอบฟันแก้นอนกรน จัดเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่นอนกรนหรือ ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับที่ดีอีกวิธีหนึ่ง สามารถใช้โดยง่ายด้วยการให้ผู้ป่วยสวมเครื่องมือในปากขณะนอนหลับ
3. เครื่องช่วยหายใจCPAP : แพทย์หลายๆ ท่านแนะนำให้แก้โรคนอนกรนด้วยวิธีนี้เพราะ สามารถลดอาการกรนได้จริง และตื่นเช้าในวันถัดมาด้วยความสดชื่นจากการได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอในขณะที่หลับอยู่
4. คลื่นความถี่วิทยุ RF : การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น หรือใช้คลื่นความถี่วิทยุในการรักษาเยื่อบุจมูกบวมหรืออักเสบ เพื่อแก้ปัญหานอนกรน ขั้นตอนการรักษาการกรนทำโดยแพทย์จะใส่เครื่องมือเป็นเหมือนเข็มชนิดพิเศษ
แนะนำอ่านเพิ่มเติม
5. การฝังพิลลาร์ (Pillar) : เป็นการรักษาที่นิยมทำในการรักษา อาการนอนกรน (Snoring) และ/หรือ อาการหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea) ที่เป็นไม่มากอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง หรือไม่ใช่อาการนอนกรนแบบอันตราย โดยสอดแท่งเล็ก ๆ 3 แท่ง ซึ่งทำมาจากโพลิเอสเตอร์อันอ่อนนุ่ม เข้าไปในเพดานอ่อน
6. การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ(Myofunctional Therapy) : เป็นนวัตกรรมการแก้นอนกรนที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ เพราะเป็นการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุ เช่น การวางตำแหน่งลิ้นให้ถูกต้อง หรือแม้แต่ช่วยฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรง เพื่อลดการหย่อนคล้อยของอวัยวะภายในจนนำไปสู่ปัญหาอุดกั้นทางเดินหายใจ