คุณหมอเคลียร์ข้อสงสัย “สาเหตุ อันตราย วิธีรักษาการนอนกรนและ โรคหยุดหายใจขณะหลับ”
สำหรับคนที่นอนกรน และสงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะนอนกรน หยุดหายใจ (ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ) หรือไม่ วันนี้ซีมงได้ชวนคุณหมอมาร่วมพูดคุยถึง สาเหตุ อันตราย อาการหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงวิธีการรักษา มาให้ทุกท่านแล้วค่ะ
ซีมง: ทำไมบางคนถึงมีอาการกรนแต่บางคนกลับไม่มีอาการกรนคะ?
คุณหมอ: การกรนมี 2 แบบ
- แบบที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย: เกิดมาจากการที่เพดานอ่อนและลิ้นไก่ของเรามันพลิ้วไปกับเวลาที่เราหายใจ จึงทำให้เกิดเสียงขึ้น แต่ก็ไม่ได้ดังมาก แค่ทำให้คนข้างๆเกิดความรำคาญ
- แบบที่ก่อให้เกิดอันตราย: เกิดจากการที่ทางเดินหายใจตีบแคบ ทำให้คนไข้นอนไม่ได้ หายใจเข้าไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะ “นอนกรน หยุดหายใจ” หรือ “โรคหยุดหายใจขณะหลับ” วิธีการสังเกตคือ การกรนอันตรายจะมีเสียงกรนที่ดังมาก ดังครืดๆๆๆ แล้วพักนึงก็จะหายไป หายไปแล้วก็ดัง “เฮือก” แล้วคนไข้จะกลับมาหายใจ อันนี้คือสัญญาณที่บอกว่ามันอันตราย
สาเหตุของการเกิดโรคกรน และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น: มีอะไรบางอย่างที่มันงอกปิดกั้นทางเดินหายใจ
- โรคอ้วน: เวลาเราอ้วน ไขมันจะมาพอกตามคอ โดยเฉพาะคนที่คอสั้นๆ พอมันพอกเยอะๆ ทางเดินหายใจก็จะแคบลงๆ ทำให้เวลาหายใจจะลำบาก เกิดเป็น โรคหยุดหายใจขณะหลับ
- การหายใจทางปาก: ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจอ่อนแอ หากอยากแก้นอนกรน หยุดหายใจ ควรฝึกหายใจให้ถูกต้อง
ซีมง: ค่ะคุณหมอ…สรุปแล้ว โรคหยุดหายใจขณะหลับอันตรายยังไงบ้างคะ?
คุณหมอ: อันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับนะคะ ก็ลองนึกสภาพนะคะว่า แค่ซีมงทำงานหนักๆ หรือว่างานเยอะ นอนตี 3 ตี 4 แล้วต้องตื่นมาทำงานแต่เช้า ก็จะรู้สึกไม่เฟรชเนอะ เพลียๆ ตื้อๆ ทั้งวัน ง่วงทั้งวัน
ซีมง: เอ๊ะ หรือว่าจะเป็นอยู่ 55555+
คุณหมอ: อ้าวจริงเหรอ 5555+ ก็คือการนอนหลับนะคะ เป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิต มันเหมือนการ recharge ถ้าเรานอนไม่ได้ เหมือนเราไม่ได้ recharge พลังงานชีวิตเราจะลดลง ทีนี้พอคนไข้หายใจเข้าไม่ได้ เหมือนเราไม่มีออกซิเจน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หัวใจจะทำงานหนัก สัญญาณแรกๆที่โผล่มาก็คือ ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจได้ อีกเรื่องนึงคือ เราจะตื่นมาไม่สดชื่น ก็จะเกิดอาการ “Daytime sleepiness” ก็คือง่วงหงาวหาวนอนตลอดทั้งวันเลย
ซีมง: เอาละค่ะ… วันนี้เราก็ได้รู้สาเหตุและอันตรายของการกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับไปแล้วนะคะ คุณหมอมีอะไรจะทิ้งท้ายกับคนที่ดูอยู่ไหมคะ
คุณหมอ: ก่อนจบวันนี้นะคะ ขอฝากไว้ว่า ใครมีคนใกล้ชิดที่มีอาการนอนกรนเสียงดัง แล้วก็มีอาการหยุดหายใจไปแล้ว “เฮือกกก” กลับมาแบบนี้ ให้สันนิษฐานว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็พามาเลย ที่ Vital Sleep Clinic นะคะ
ซีมง: ค่ะ วันนี้เราก็ได้ความรู้ไปมากมาย ใครที่สนใจอยากรู้วิธีรักษาการนอนกรนเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามชมได้ใน EP ต่อไปเลยค่ะ
ก็ทราบกันไปแล้วนะคะว่า สาเหตุของการนอนกรนมาจากไหน อาการหยุดหายใจขณะหลับมีลักษณะยังไง ถ้าอยากรู้ว่าคุณหมอจะมีวิธีแก้นอนกรนยังไง สามารถติดตามต่อได้ใน EP ต่อไปนะคะ
รับชม EP. 2 ต่อ >> แพทย์เฉพาะทางแนะ 7 วิธีแก้นอนกรน อันตรายแค่ไหนก็รักษาได้!
ทำไมต้องรักษาโรคนอนกรน ที่ VitalSleep Clinic
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น
เทคโนโลยีที่ทันสมัย
VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เช่น Myosa®
เสียงตอบรับ
ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
ติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่
VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง
เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน