นอนกรน เสี่ยงเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

น้องชายสลด-หดไวไม่ปึ๋งปั๋ง

นอนกรน เสี่ยงเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

โรคนอนกรนส่งผลเสียต่ออารมณ์  ความสัมพันธ์ รวมถึงร่างกายด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชายที่มีมีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ส่งผลเสียให้คุณผู้ชายมีภาวะ “เสื่อมสมรรภาพทางเพศ” วันนี้จึงอยากแนะนำทุกท่านให้รู้จักกับอาการนอนกรนมากขึ้น 

ผลเสียจากอาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับ

1. ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย

– ร่างกายอ่อนเพลีย
– ความจำไม่ดี
– การเผาผลาญอาหารแย่ลง
– เสี่ยงต่อโรคอ้วนหรือเบาหวาน และอื่นๆ
– ไม่สดชื่นในตอนเช้า

2. ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจ

– มีอารมณ์หงุดหงิด
– เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า
– อารมณ์ขุ่นมัวหลังตื่นนอน

3. ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์

– เสี่ยงต่อการหย่าร้าง: มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้ความใกล้ชิดระหว่างคู่นอนหมดไป
– สมรรถภาพทางเพศลดลง: อาการนอนกรนเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่าน่าจะเกิดจากระดับฮอร์โมนทางเพศที่ลดลง เช่น ฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า “เทสโทสเตอโรน” เมื่อมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ จึงเกิดภาวะนอนไม่เพียงพอ ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจึงลดลง ส่งผลให้มีอารมณ์ทางเพศลดทาง ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม นอกจากนี้ ผลการศึกษายังระบุอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบผู้หญิง 240 คนที่ไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กับ ผู้หญิงจำนวน 80 คน ที่มีภาวะดังกล่าว โดยมีอายุระหว่าง 28 และ 64 ปี พบว่าในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจชั่วคราวมีอัตราของการมีเพศสัมพันธ์ผิดปกติ (Sexual disorder) อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้นักวิจัยยังค้นหาอาการของปัญหาทางเพศในผู้ชายจำนวน 401 คน สำหรับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ พบว่าผู้ป่วยซึ่งได้รับการวินิจฉัยประมาณร้อยละ 70 มีโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม อาจจะสรุปได้ว่าภาวะหยุคหายใจขณะนอนหลับเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของอาการสมรรถภาพทางเพศลดลง

โรคกรนคืออะไร 

โรคนอนกรน (Snoring) คือภาวะที่มีเสียงแหบ ๆ หรือเสียงผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างหายใจในขณะนอนหลับ เกิดขึ้นจากการถูกปิดกั้นของทางเดินหายใจบางส่วน

สาเหตุของการนอนกรนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. โรคกรนแบบไม่อันตราย

นอนกรนชนิดนี้เกิดจาก การที่อากาศเคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง ซึ่งมักเกิดจากหย่อนตัวของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบนขณะนอนหลับ เช่น กล้ามเนื้อบริเวณเพดานอ่อน (soft palate), ลิ้นไก่ (uvula), ผนังคอหอย (pharyngeal wall) หรือโคนลิ้น (tongue base)
เป็นผลให้เกิดการสั่นสะเทือนและสะบัดของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนในบริเวณดังกล่าวเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น การนอนกรนชนิดนี้ถือว่าไม่อันตราย ไม่ส่งผลเสียต่อผู้ที่นอนกรน แต่สร้างความรำคาญให้กับคนที่นอนรอบข้าง

2. โรคกรนแบบอันตราย

นอนกรนชนิดนี้เกิดจาก การตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน ผลเสียที่ตามมาคือ เกิดการหยุดหายใจขณะนอนหลับแต่ละครั้งนานกว่าคนปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับบ่อยครั้ง สมองก็จะยิ่งได้รับออกซิเจนน้อยลงไปด้วย
เมื่อสมองขาดออกซิเจนก็จะต้องคอยปลุกให้ผู้ป่วยตื่นเพื่อเริ่มหายใจใหม่ และเมื่อสมองได้รับออกซิเจนเพียงพอแล้ว ผู้ป่วยจึงจะสามารถหลับลึกได้อีกครั้ง แต่ต่อมาการหายใจก็จะเริ่มขัดขึ้นอีก วนเวียนเช่นนี้ตลอดคืน
จึงเป็นที่มาว่า ทำไมผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจึงรู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม อ่อนเพลียตลอดวัน นอนกรนชนิดนี้ถือว่าอันตราย มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย เสี่ยงต่อการไหลตาย

3. โรคกรนจากภาวะอื่นๆ

นอกจากสาเหตุ 2 ข้อข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น ต่อมทอนซิล และต่อมอดีนอยด์โต ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการนอนกรนที่สำคัญในเด็ก ผู้ป่วยที่อ้วนมาก อาจมีเนื้อเยื่อผนังคอที่หนาทำให้ทางเดินหายใจแคบลง
ในผู้ป่วยที่มีเนื้องอก หรือซีสต์ (cyst) ภายในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งในระบบทางเดินหายใจส่วนบน อาจก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้เช่นกัน การที่มีโพรงจมูกอุดตัน ซึ่งมีสาเหตุจากหลายกรณี เช่นอาการคัดจมูกจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, ความผิดปกติของผนังกั้นช่องจมูก, เนื้องอกในจมูกและโพรงอากาศข้างจมูก, ริดสีดวงจมูก, ไซนัสอักเสบ เป็นต้น

รักษานอนกรนได้ยังไง?

ก่อนถึงขั้นตอนการรักษานอนกรนหรือจ่ายอุปกรณ์แก้นอนกรนเช่น ที่ครอบฟันแก้กรน หรือเครื่องช่วยนอนกรน CPAP Oral Appliance แพทย์จะแนะนำให้ตรวจการนอนกรน (sleep test) จากนั้นแพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้ประเมินว่าควรรักษาแบบใด การรักษานอนกรนหลักๆ จะมี 2 วิธีคือ

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยวิธีอื่น

การรักษาแบบผ่าตัด โดยวิธีอื่น

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น

เทคโนโลยีที่ทันสมัย

VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เช่น Myosa®

เสียงตอบรับ

ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่

VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง

เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน

Scroll to Top