เรื่องต้องรู้! นอนกรนเกิดจากอะไร รักษาอย่างไรจึงจะหายขาด
หลาย ๆ คนเชื่อว่าการนอนหลับที่จะช่วยให้ร่างกายระบบการทำงานอวัยวะโดยเฉพาะหัวใจและหลอดเลือดได้พักผ่อน นอกจากนี้การนอนหลับยังเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการฟื้นฟูการทำงานของร่างกายอีกด้วย
การนอนกรนถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพในการนอนนั้นลดลง จากผลสำรวจอาการนอนกรนจะเกิดขึ้นได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการนอนกรนเกิดจากหลายสาเหตุและจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
- ปัญหานอนกรน ปัญหากวนใจ
- การนอนกรนที่มีอาการไม่รุนแรง
- อาการนอนกรนระดับรุนแรง
- อาการนอนกรนเกิดจากอะไร
- สั่นสะเทือนของเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณด้านหลังหลอดลมส่วนบน ลิ้นไก่ และเพดานอ่อน
- ความผิดปกติของขากรรไกร
- ความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้า
- โรคต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในโพรงจมูก ภูมิแพ้ เป็นต้น
- พฤติกรรมในการใช้ชีวิต
- อาการนอนกรนเกิดจากสาเหตุใดในช่วงวัยต่าง ๆ
- นอนกรนในวัยเด็ก
- นอนกรนในผู้ใหญ่
- การนอนกรนอันตรายมากแค่ไหน
- การนอนกรนธรรมดา
- การนอนกรนที่อันตราย
- วิธีการรักษานอนกรน
- การรักษานอนกรนโดยการผ่าตัด
- การรักษานอนกรนโดยไม่ผ่าตัด
ปัญหานอนกรน ปัญหากวนใจ
การกรน คือภาวะที่การนอนมีเสียงดังขณะหลับ โดยจะมีเสียงที่ดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย การนอนกรนที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนอาการนอนกรนระดับรุนแรงนั้นจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษา หรือการบำบัดจากแพทย์เฉพาะทางเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
การนอนกรนระดับรุนแรงจะมีการหยุดหายใจร่วมด้วย เรียกว่า Sleep Apnea ซึ่งเป็นอันตรายและมีผลเสียต่อสุขภาพ เป็นอาการนอนกรนเกิดจากการปิดกั้นอย่างสมบูรณ์ของทางเดินหายใจชั่วคราว ซึ่งภาวะเช่นนี้จะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง ทำให้เกิดการสะดุ้งเฮือกกลางดึก หรืออาการเหนื่อยหอบหลังสะดุ้งตื่น เป็นต้น
ปัญหาจากอาการนอนกรนส่วนใหญ่ที่พบได้ มักจะเป็นปัญหาเรื่องเสียง และการหายใจ เช่น กรนเสียงดังมากจนรบกวนการนอนของผู้อื่น กรนสลับกับหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ กรนแล้วสะดุ้งเฮือกเพื่อหาอากาศหายใจ โดยที่ผู้นอนกรนอาจจะไม่รู้สึกตัว
นอกจากนี้ยังสามารถพบส่วนอาการร่วมอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการนอนกรน หรือระหว่างกำลังนอนหลับและตื่นนอน ได้แก่ ปัสสาวะกลางคืนบ่อยครั้ง รู้สึกไม่สดชื่นในตอนเช้า มีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ ง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวันได้อีกด้วย
อาการนอนกรนเกิดจากอะไร?
การนอนกรนเกิดจากการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณด้านหลังหลอดลมส่วนบน ลิ้นไก่ และเพดานอ่อน ที่แคบลงจากหย่อนตัวของกล้ามเนื้อขากรรไกรล่าง ลิ้น และเพดานอ่อน ในขณะหลับทำให้ไปขัดขวางทางลมผ่านของการหายใจ
โดยเสียงดังจากการนอนกรนนั้น เกิดจากตำแหน่งการสั่นของอวัยวะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าเกิดการสั่นที่เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่ ก็จะทำให้เสียงของการนอนกรนเกิดจากในลำคอ หรือถ้ามีการสั่นที่เนื้อเยื่ออ่อนด้านหลังโพรงจมูก ก็จะทำให้มีเสียงนอนกรนแบบขึ้นจมูก
นอกจากนี้อาการนอนกรนเกิดจากสาเหตุโดยอ้อมอย่างความผิดปกติของขากรรไกร โครงสร้างใบหน้า โรคต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในโพรงจมูก ภูมิแพ้ การรับประทานยานอนหลับ หรือปัจจัยร่วม ดังนี้
- น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งวัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
- ไขมันในช่องคอหนา
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนได้
- นอนกรนมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
- สูบบุหรี่เป็นประจำ
- ความเหนื่อยที่สะสมในแต่ละวัน
- นอนหงายเป็นประจำ
อาการนอนกรนเกิดจากสาเหตุใดในช่วงวัยต่าง ๆ
การนอนกรนนั้นสามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับคนในทุกช่วงวัย โดยในแต่ละวัยนั้นการนอนกรนเกิดจากสาเหตุมากมาย และมีผลกระทบที่แตกต่างกันซึ่งในบางผลเสียอาจอันตรายถึงชีวิตได้
1. นอนกรนในวัยเด็ก
ในเด็กสาเหตุของการนอนกรนเกิดจากความผิดปกติของทางเดินหายใจที่เป็นผลมาจากขนาดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ที่โตขึ้นมาเบียดทางเดินหายใจ และนอกจากนี้การนอนกรนเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น โรคภูมิแพ้โพรงจมูก เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ภาวะอ้วน เด็กที่มีรูปหน้าผิดปกติ เช่น คางร่น หรือ โครงหน้าแคบ มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง และโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น
อาการนอนกรนในเด็กที่ไม่ได้มีความรุนแรงมากนัก จะเป็นอาการที่นาน ๆ ครั้งจะเกิดขึ้น หรือเป็นเฉพาะเวลาที่รู้สึกคัดจมูก เป็นหวัด แต่หากว่ามีอาการเป็นประจำ (มากกว่า 3 คืนต่อสัปดาห์) จะส่งผลให้เด็กมีภาวะพร่องออกซิเจน นำไปสู่การเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ซึ่งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
2. นอนกรนในผู้ใหญ่
ในวัยของผู้ใหญ่สาเหตุของการนอนกรนเกิดจากกล้ามเนื้อคอจะผ่อนคลายและหย่อนตัว ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง อากาศที่เคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง จะทำให้เกิดการสั่นของเนื้อเยื่อคอ เช่น ทอนซิล เพดานอ่อน ลิ้นไก่ เป็นต้น และการสั่นดังกล่าวก็ส่งผลให้เกิดเสียงกรนในที่สุด รวมไปถึงพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายโดยจะแตกต่างออกไปในแต่ละบุคคล เช่น
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- มีสรีระที่ผิดปกติ
- น้ำหนักตัวที่มากเกินกว่ามาตรฐาน
- พฤติกรรมการนอน เช่น นอนหงาย นอนหนุนหมอนสูง
- การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
- ความเครียดและอาการเหนื่อยสะสม
จากผลสำรวจพบว่าผู้ชายมีอัตราการนอนกรนที่มากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกิดปกติ และผู้สูงอายุ ซึ่งในผู้ชายที่มีการทำงานหักโหม หรือออกกำลังกายมากเกินไปนั้นมีความเสี่ยงที่จะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
ในขณะที่ผู้หญิงซึ่งมีความเสี่ยงน้อยกว่าผู้ชายนั้นมีสาเหตุของการนอนกรนเกิดจากปัจจัยทางร่างกาย โดยผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ รวมไปถึงผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ปัญหานอนกรนก็จะมีเพิ่มขึ้นได้
การนอนกรนอันตรายมากแค่ไหน?
ปัญหาการนอนกรนนั้นมีทั้งแบบที่อันตรายและไม่อันตราย โดยจะสามารถแยกได้ด้วยอาการที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ ดังนี้
1. การนอนกรนธรรมดา เป็นอาการนอนกรนเกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจบางส่วนขณะนอนหลับ ซึ่งในขณะที่นอนหลับก็ยังสามารถหายใจได้ ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย แต่เสียงกรนจะสร้างความรำคาญให้กับรอบข้าง
ส่งผลให้นอนหลับยาก จนเกิดปัญหาความสัมพันธ์ อีกทั้งยังทำให้ผู้ที่นอนกรนเกิดความไม่มั่นใจ และก่อให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคมได้
2. การนอนกรนที่อันตราย เป็นอาการนอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย โดยการนอนกรนเกิดจากทางเดินหายใจที่ตีบแคบมากขึ้นเรื่อย ๆ จนปิดสนิทไปชั่วขณะ ทำให้อากาศผ่านไม่ได้ โดยจะมีอาการนอนกรนเสียงดัง แล้วหยุดเงียบไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง
การนอนกรนเป็นประจำ ก็ทำให้ผู้นอนกรนต้องประสบกับความยากลำบากในการหายใจ กลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย สุขภาพจิตเสีย สมาธิและความจำไม่ดี การเผาผลาญอาหารของร่างกายด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดโรคอ้วนและเบาหวานได้อีกด้วย
วิธีการรักษานอนกรน
เนื่องจากสาเหตุหลักของการนอนกรนเกิดจากความผิดปกติของทางเดินหายใจและกล้ามเนื้อคอที่หย่อนลงจากอายุที่เพิ่มขึ้นโดยการรักษาอาการนอนกรนในปัจจุบันนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามอาการและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล คือ
1. การรักษานอนกรนโดยการผ่าตัด : เป็นวิธีแก้ปัญหานอนกรน ด้วยวิธีรักษาผ่าตัดแก้นอนกรน ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละคน โดยมีวิธีดังนี้
- การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า
- การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน และลิ้นไก่ โดยใช้เลเซอร์
- การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด
2. การรักษานอนกรนโดยไม่ผ่าตัด : เป็นวิธีการแก้ปัญหานอนกรนที่แพทย์เฉพาะทางจะแนะนำเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด หากว่าไม่สามารถรักษาการกรนได้ หรือมีปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด โดยมีวิธีดังนี้
- อุปกรณ์แก้นอนกรน iNAP
- อุปกรณ์แก้นอนกรน CPAP
- เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance)
- คลื่นความถี่วิทยุ RF
- การฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน
- การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)
แต่การจะรักษาปัญหาการนอนกรนจะต้องทราบเสียก่อนว่าสาเหตุของการนอนกรนนั้นเกิดจากอะไร ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการประเมินจากแพทย์เฉพาะทาง หรือการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อหาต้นตอที่แท้จริงของการนอนกรนเสียก่อน
สรุป
การนอนกรนเป็นปัญหาการนอนหลับที่สามารถจะเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย และผลกระทบนั้นมีทั้งไม่อันตรายและอันตรายถึงชีวิต หากว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย โดยอาการนอนกรนเกิดจากหลายปัจจัยทั้งความหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อคอ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งการจะรักษาอาการนอนกรนนั้นสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัด และการรักษาโดยไม่ผ่าตัด เลือกรักษาอาการนอนกรนของคุณเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างทันท่วงทีนะคะ
“ทุกปัญหาการนอนไว้ใจ Vital Sleep Clinic”