แก้อาการนอนกรน สำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหานอนกรนหรือโรคนอนกรน มักมีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งการหยุดหายใจขณะหลับ เป็นประจำ อาจส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงทั้งสุขภาพกายและจิตใจ เช่น อารมณ์แปรปรวนง่าย ง่วงนอนมากระหว่างวัน ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง การรักษาอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับจึงไม่ควรถูกละเลย สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาปัญหาเหล่านี้ ในปัจจุบันมีหลายวิธีแก้นอนกรนให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษานอนกรน หรือการรักษาภาวะนอนกรนแบบไม่ผ่าตัด เช่น เครื่องช่วยนอนกรน CPAP เครื่องช่วยลดการนอนกรน iNAP การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ทั้งนี้แต่ละวิธีแก้นอนกรน จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแต่ละบุคคล หากต้องการรักษากรนต้องทราบว่าเรากรนอยู่ในระดับใด
นอนกรน เกิดจากอะไร
การนอนกรนเกิดจาก การหายใจผ่านระบบทางเดินหายใจแคบลงในขณะที่เรานอนหลับ ซึ่งสาเหตุมาจากการอุดกั้นของกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในช่องปาก ทำให้ช่องลมมีพื้นที่แคบลง เกิดการหย่อนตัวและสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อบริเวณด้านหลังหลอดลม เช่น ทอนซิล เพดานอ่อน ลิ้นไก่ จนสุดท้ายเกิดเป็น “เสียงกรน”
ระดับความรุนแรงและอันตรายของภาวะนอนกรน
ระดับความรุนแรงและอันตรายจากภาวะนอนกรน สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
ความรุนแรงระดับ 1 คือ อาการนอนกรนทั่วไป มีเสียงไม่ดังมาก และเกิดขึ้นไม่บ่อย สำหรับภาวะนอนกรนในระดับนี้ยังไม่ร้ายแรง หรือส่งผลอันตรายต่อการหยุดหายใจขณะหลับ
ความรุนแรงระดับ 2 คือ ภาวะนอนกรนที่เกิดขึ้นบ่อย โดยเราพบว่าเรานอนกรนมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งการนอนกรนในระดับที่ 2 สามารถส่งผลต่อการหายใจขณะนอนหลับได้ในระดับน้อยถึงปานกลาง ผู้ที่มีอาการนอนกรนในระดับนี้จะรู้สึกง่วงและเหนื่อยในเวลากลางวัน
ความรุนแรงระดับ 3 คือ อาการนอนกรนขั้นรุนแรง การนอนกรนเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน และมีเสียงดังมาก การนอนกรนในระดับที่ 3 จัดเป็นภาวะนอนกรนที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะทำให้เกิดการหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงสมองขาดออกซิเจนขณะหลับด้วย เนื่องจากระบบทางเดินหายใจของผู้ที่อยู่ในภาวะนี้จะถูกปิดกั้นอย่างต่อเนื่องขณะนอนหลับ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร
การหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ โดยมีลักษณะอาการ คือ หยุดหายใจหรือหายใจตื้นขณะนอนหลับ อาการหยุดหายใจ หายใจตื้นระหว่างหลับ อาจเกิดขึ้นชั่วคราวเพียงไม่กี่วินาทีหรืออาจยาวนานจนถึงนาที สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้มากถึง 30 ครั้งขึ้นไปต่อชั่วโมง
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมี 3 ประเภท ได้แก่ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับส่วนกลาง (CSA) อาการหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เกิดจากการอุดกั้นทางกายภาพของทางเดินหายใจ เช่น การหย่อนตัวของกระดูกขากรรไกรและเนื้อเยื่อบริเวณด้านหลังหลอดลม ส่วนภาวะหยุดหายใจขณะหลับส่วนกลาง เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับการส่งสัญญาณของสมองไปยังกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจน และประเภทสุดท้าย ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบผสม (Mixed Sleep Apnea) เป็นการหยุดหายใจที่เกิดขึ้นจากสาเหตุของสมองส่วนกลาง และการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจร่วมกัน
ผู้ที่ประสบปัญหาหยุดหายใจขณะหลับจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกหายใจแรง อ่อนเพลีย และไม่สดชื่น เพราะตลอดช่วงเวลานอนหลับ มีการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับหลายครั้ง
สัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถสังเกตได้ดังนี้
• กรนเสียงดัง กรนบ่อยมากกว่า 3 คืน / สัปดาห์
• หายใจหอบหรือสำลักระหว่างหลับ
• เหนื่อยหรืออ่อนล้าระหว่างวัน
• ผล็อยหลับ หรือรู้สึกง่วงนอนมากในเวลากลางวัน
• หลับยาก นอนหลับไม่สนิท
• ปวดศีรษะหลังจากตื่นนอนตอนเช้า
• รู้สึกซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน และหงุดหงิดง่าย
• หลงลืมบ่อย ความจำไม่ดี ไม่ค่อยมีสมาธิ
อาการหยุดหายใจขณะหลับ อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคไหลตาย และอาการซึมเศร้า หากเริ่มสงสัยว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแนวทางสำหรับการรักษาภาวะนี้ เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การใช้เครื่องช่วยลดการนอนกรน (CPAP) หรือ อุปกรณ์แก้นอนกรนต่างๆ เป็นต้น
แนวทางการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ผู้ที่มีภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ควรมองข้ามปัญหาสุขภาพการนอน เพราะการหยุดหายใจขณะหลับเป็นเรื่องอันตราย สามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรง สมองขาดออกซิเจนขณะหลับ จนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้วิธีแก้นอนกรนและรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละบุคคล ดังนี้
ใช้เครื่องมือทันตกรรมสำหรับแก้นอนกรน (Oral Appliance) สำหรับแนวทางการรักษานี้เหมาะกับผู้ที่มีอาการนอนกรนแบบไม่อันตราย (หยุดหายใจขณะหลับเล็กน้อยถึงปานกลาง) ผู้ที่ไม่ต้องการรักษาภาวะนอนกรนด้วยการผ่าตัด รวมถึงผู้ที่มีโครงสร้างใบหน้าที่ผิดปกติ ซึ่งการรักษาโดยใช้อุปกรณ์ทันตกรรมนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเมื่อเทียบกับเครื่องแก้นอนกรนอัดอากาศ CPAP ถือว่ามีข้อดีกว่า คือ มีขนาดเล็กกว่า สวมใส่ง่าย พกพาสะดวก อย่างไรก็ตามในช่วงแรกผู้สวมใส่อาจรู้สึกเมื่อยกรามและขากรรไกรได้
ใช้คลื่นความถี่วิทยุ RF (Radio Frequency) เป็นการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น หรือใช้คลื่นความถี่วิทยุในการรักษาเยื่อบุจมูกบวมหรืออักเสบ สำหรับขั้นตอนการรักษา แพทย์จะใส่เครื่องมือที่เป็นเหมือนเข็มชนิดพิเศษจี้บริเวณที่เป็นต้นตอของปัญหา ซึ่งวิธีการรักษานี้เหมาะกับผู้ที่นอนกรนเสียงดังและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่รุนแรง เช่น มีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก นอนเยอะแต่ยังรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย ง่วงนอนในเวลางาน รู้สึกไม่สดชื่น เป็นต้น
เครื่องช่วยนอนกรน iNAP เป็นเครื่องแก้นอนกรนที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) สามารถหลับสบายยิ่งขึ้น ซึ่งความแตกต่างระหว่างเครื่องช่วยนอนกรน iNAP กับเครื่องช่วยลดการนอนกรน CPAP คือ การใช้เครื่องช่วยนอนกรน หรือเครื่อง iNAP ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากครอบใบหน้า ใส่สบาย ขนาดกะทัดรัด สะดวกต่อการพกพา และไร้เสียงรบกวนคนที่นอนข้าง ๆ ส่วนเครื่องช่วยหายใจ cpap ต้องใส่หน้ากากครอบ อาจเกิดความไม่สบายในการนอนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล
บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy) การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยวิธีนี้เป็นแนวทางที่แพทย์เฉพาะทางส่วนใหญ่แนะนำ เพราะเป็นนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับการวางของตำแหน่งลิ้น การฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจให้แข็งแรง ทั้งนี้เพื่อลดการหย่อนของอวัยวะที่อาจนำไปสู่ปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ฝังพิลลาร์ (Pillar) สำหรับแนวทางการรักษานี้นิยมทำเพื่อรักษาอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับในระดับที่ไม่รุนแรง โดยแพทย์จะสอดแท่งเล็ก ๆ 3 แท่ง ซึ่งทำมาจากโพลิเอสเตอร์นุ่ม เข้าไปในเพดานอ่อน พิลลาร์ทำหน้าที่ช่วยลดการสั่นสะเทือน หรือการสะบัดตัวของเพดานอ่อน และพยุงไม่ให้เพดานอ่อนในปากปิดทางเดินหายใจ
ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก CPAP (Positive Airway Pressure Therapy) เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับรุนแรง ซึ่งเข้าข่ายเป็นอาการนอนกรนแบบอันตราย ซึ่งเครื่องช่วยนอนกรน CPAP เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจเปิดโล่งมากขึ้น ปัจจุบันเครื่องแก้นอนกรน CPAP หรือเครื่องช่วยหายใจตอนนอน ถือว่าเป็นเครื่องช่วยนอนกรนที่ได้รับมาตรฐานสากล และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีหลักการทำงาน คือ การใช้แรงดันลม เพื่อเป่าทางจมูกหรือปากผ่านคอหอยและโคนลิ้นไปยังกล่องเสียงก่อนที่จะลงไปที่ปอด แรงดันลมจะเข้าไปช่วยขยายทางเดินหายใจ ไม่ให้เกิดการอุดกั้นจากการหย่อนตัวของอวัยวะภายในขณะนอนหลับ
วิธีการใช้เครื่องช่วยนอนกรน CPAP
ผู้ที่มีภาวะนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ ต้องได้รับการทดสอบการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อให้แพทย์ประเมินระดับความรุนแรงของอาการหยุดหายใจขณะหลับ และตั้งค่าการใช้งานเครื่องช่วยนอนกรน CPAP ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล เนื่องจากมีความต้องการแรงดันลมเพื่อถ่างขยายช่องทางเดินหายใจไม่เท่ากัน ทั้งนี้ควรทดลองสวมหน้ากากครอบจมูกที่เข้ากับใบหน้า ใส่แล้วรู้สึกสบายที่สุด ขั้นต้นแพทย์แนะนำให้เริ่มจากการใช้หน้ากากแบบครอบจมูก (Nasal Mask) ก่อน
การรักษาด้วยเครื่องแก้นอนกรน อัดอากาศแรงดันบวก CPAP ผู้ที่มีภาวะนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับควรใช้เครื่องช่วยลดการนอนกรนเป็นประจำ เนื่องจากอาจต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคยกับการสวมหน้ากากระหว่างนอนหลับ โดยส่วนใหญ่จะปรับตัวได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ นอกจากนี้การติดตามผลกับแพทย์อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้แน่ใจว่าผลการรักษาดีขึ้นมากน้อยเท่าไร จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาหรือไม่ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น