หัวข้อย่อย
– หยุดหายใจขณะหลับ เกี่ยวยังไงกับ นอนกรน
– รักษานอนกรนกับ VitalSleep Clinic ดียังไง ?
ทุกคนรู้กันไหมว่าการนอนกรนเกิดจากอะไร หรือเสียงกรนที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับเกิดขึ้นมาได้อย่างไรกัน การนอนกรนหรือเสียงกรนที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสัญญาณร้ายที่บ่งบอกได้ว่า ช่องของทางเดินหายใจส่วนต้นกำลังถูกอุดกั้น ซึ่งทำให้ลมหายใจไม่สามารถเดินทางผ่านหลอดลมแ
ละช่องทางเดินหายใจส่วนต้นไปสู่ปอดได้อย่างสะดวกเท่าที่ควรในขณะนอนหลับ โดยส่งผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนคือ ร่างกายเริ่มเกิดปัญหาการหายใจที่ลำบากมากขึ้น มีอาการหายใจแรง หายใจไม่ออกเป็นช่วงๆพักๆในขณะหลับ หรือในบางรายที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจที่รุนแรง อาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) หรือหายใจไม่ออกอย่างสมบูรณ์
หยุดหายใจขณะหลับ เกี่ยวยังไงกับ นอนกรน
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการนอนกรน เนื่องจากการนอนกรนเกิดจากทางเดินหายใจส่วนต้นถูกอุดกั้น หรือกีดขวางทางเดินหายใจในขณะหลับ จากกล้ามเนื้อภายในช่องคอ เช่น โคนลิ้น เพดานอ่อน ที่เกิดการหย่อนคล้อยตัวลงและตกลงมาอุดกั้นหลอดลมหรือทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งส่งผลให้บริเวณของช่องทางเดินหายใจส่วนต้นมีขนาดที่แคบลง ลมหายใจไม่สามารถเดินทางผ่านเข้าออกได้อย่างสะดวก จึงเกิดการเสียดสีกันระหว่างลมหายใจและเนื้อเยื่อภายในบริเวณช่องคอที่กีดขวางทางเดินหายใจอยู่ ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวเกิดการสะทั่นเทือนและเกิดเสียงกรนขึ้นนั่นเอง
โดยการหยุดหายใจขณะหลับเป็นอาการที่มักจะพบเจอได้บ่อย ในผู้ที่มีปัญหาอาการนอนกรน ถือเป็นโรคร้ายที่มักจะเกิดขึ้นร่วมกัน เพราะการที่ทางเดินหายใจส่วนต้นถูกอุดกั้นหรือตีบแคบลง นอกจากจะทำให้เกิดเสียงกรน ยังทำให้การหายใจในขณะนอนหลับเกิดการติดขัดไม่สามารถหายใจได้อย่างสะดวก ซึ่งในบางรายที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างรุนแรง เป็นกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับแทรกซ้อนจากการที่ทางเดินหายใจส่วนต้นถูกอุดกั้นอย่างสมบูรณ์
เกล็ดความรู้เพิ่มเติม : ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นภาวะที่มักจะเกิดขึ้นร่วมกับการนอนกรนโดยส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ผู้ที่มีอาการนอนกรนทุกคนจะต้องเกิดภาวะดังกล่าว ดังนั้นหากมีอาการนอนกรนเกิดขึ้นกับตัวคุณเองหรือคนรอบตัว สิ่งแรกที่สำคัญและควรทำเป็นอย่างยิ่งคือ การตรวจสุขภาพการนอนหลับ(Sleep Test)โดยเร็วที่สุด เพื่อวินิจฉัยว่าอาการนอนกรนที่เกิดขึ้นนั้นมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ และหาสาเหตุของการกรนเกิดจากปัญหาใด เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการวางแผนการรักษาปัญหานอนกรนในแต่ละบุคคลอย่างเหมาะสม
อ่านเพิ่มเติม
| หยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงโรคใหลตายไม่รู้ตัว
นอนกรนมีกี่ประเภท ?
การนอนกรนเป็นโรคร้ายที่ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพต่างๆแทรกซ้อนในระยะยาวที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ภาวะใหลตาย อัมพาต หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง โดยภาวะการนอนกรนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆได้ 2 ประเภท
1.การนอนกรนปกติ
การนอนกรนในประเภทนี้ เป็นภาวะการนอนกรนที่ไม่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นร่วมด้วย ซึ่งยังอยู่ในระดับที่ไม่ได้ส่งผลกระทบอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพโดยตรง เพียงแต่เป็นปัญหาที่ส่งเสียงกรนรบกวนคนรอบข้างให้เกิดความรำคาญ ส่งผลกระทบด้านลบที่ร้ายแรงต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง รวมไปถึงคนรัก
รู้กันไหมว่าปัญหาเสียงกรนรบกวน เป็นปัจจัยลำดับต้นๆที่ทำให้คู่รักหลายคู่ตัดสินใจแยกกันนอน และนำไปสู่การกระทบต่อความสัมพันธ์ในด้านลบที่เริ่มเกิดการไม่เข้าใจกัน และเป็นสาเหตุการหย่าร้างเลิกรากันไปในที่สุด
2.นอนกรนแบบเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย (Obstructive Sleep Apnea) ในกลุ่มของผู้ที่นอนกรนประเภทนี้ เป็นกลุ่มที่มีภาวะการหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นร่วมด้วยพร้อมกับการนอนกรน โดยมีสาเหตุของการกรนเกิดจากช่องทางเดินหายใจส่วนต้นที่ถูกอุดกั้น อาจเกิดได้จากกล้ามเนื้อภายในช่องคอหย่อนคล้อยตัวลง หรือมีการทำงานที่ผิดปกติ รวมไปถึงการอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง โดยส่งผลทำให้ช่องทางเดินหายใจส่วนต้นเกิดการตีบแคบที่มากขึ้น จนทำให้ลมหายใจไม่สามารถเดินทางผ่านเข้าออกได้อย่างสะดวก ลมหายใจขาดช่วงเป็นพักๆ และนำไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งส่งผลกระทบให้ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณที่ลดน้อยลงเกินกว่าปกติ ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย เช่น การทำงานของสมอง หัวใจ ปอด และระบบไหลเวียนโลหิตที่เกิดปัญหาการทำงานอย่างผิดปกติ
อ่านเพิ่มเติม
| นั่นคุณหรือเปล่า!? นอนกรน ปัญหาระดับชาติ
3 ระดับอันตรายของการนอนกรน
การนอนกรนสามารถจำแนกและแบ่งแยกออกได้เป็น 3 ระดับ ซึ่งจะมีอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้นแตกต่างกันออกไป ดังนี้
ระดับที่ 1 : เริ่มมีอาการนอนกรนเกิดขึ้น แต่อาจไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เกิดขึ้นเพียงแค่นานๆที และไม่ได้มีเสียงกรนที่ดังมาก สำหรับในระดับนี้เป็นระดับที่ยังไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรง และอาจยังไม่ก่อให้เกิดภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ
ระดับที่ 2 : มีภาวะการนอนกรนที่บ่อยครั้งมากขึ้น โดยอาจสังเกตได้ว่ามีการกรนมากกว่า 3 วัน/สัปดาห์ ซึ่งในระดับนี้สามารถส่งผลให้เกิดภาวะการหยุดหายใจขณะหลับขึ้นได้ในระดับน้อยถึงปานกลาง ผู้ที่นอนกรนในระดับนี้อาจมีอาการที่แสดงคือ เริ่มรู้สึกนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ง่วงอ่อนเพลียบ่อยในช่วงเวลากลางวันมากกว่าปกติ
ระดับที่ 3 : จัดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายในขั้นรุนแรงต่อชีวิต โดยสามารถสังเกตได้ว่ามักจะมีอาการนอนกรนเกิดขึ้นเป็นประจำในทุกๆวัน และมีเสียงกรนที่ดังมาก ซึ่งเป็นระดับอันตรายที่สามารถเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับในระดับรุนแรง เสี่ยงเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนในขณะหลับ รวมไปถึงอวัยวะส่วนอื่นๆ จากการที่ทางเดินหายใจส่วนต้นถูกปิดกั้นไม่สามารถหายใจได้ในขณะหลับ
เกล็ดความรู้เพิ่มเติม
ในทางการแพทย์นั้นภาวะการหยุดหายใจขณะหลับสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ระดับ โดยมีหน่วยวัดระดับความรุนแรงที่เรียกว่า Apnea-Hypopnea Index หรือเรียกง่ายๆว่า ค่า AHI โดยจะแบ่งแยกระดับความรุนแรงของภาวะการหยุดหายใจขณะหลับจากอัตราจำนวนครั้งที่เกิดการหยุดหายใจในขณะหลับต่อหนึ่งชั่วโมง ซึ่งมีการแบ่งแยกระดับออกไว้ดังนี้
ระดับน้อย (Mild) : มีระดับอัตราของภาวะการหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงระหว่าง 5-14 ครั้ง/ชั่วโมง และมีระดับของออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ระหว่าง 86-90
ระดับปานกลาง (Moderate) : มีระดับอัตราของการหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงระหว่าง 15-29 ครั้ง/ชั่วโมง และมีระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ระหว่าง 70-85ระดับรุนแรง (Severe) : มีระดับอัตราการหยุดหายใจขณะหลับที่มากกว่า 30 ครั้ง/ชั่วโมง และมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 69 ซึ่งภาวะการหยุดหายใจขณะหลับในระดับนี้ จัดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตที่ควรรีบรักษาโดยด่วน
อ่านเพิ่มเติม
| นอนกรนเกิดจากอะไร เช็คด่วน ใครเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับบ้าง
รักษานอนกรนกับ VitalSleep Clinic ดียังไง ?
ที่ VitalSleep Clinic เป็นคลินิกที่ให้บริการรักษาปัญหาด้านการนอนหลับแบบครบวงจร โดยมีแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาปัญหาการนอนหลับแบบครบวงจรที่ได้รับการรับรองโดย American Board of Dental Sleep Medicine คอยให้คำปรึกษาแนะนำ พร้อมทั้งวางแผนดูแลการรักษาคนไข้อย่างใกล้ชิด
อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีในการรักษาที่ทันสมัยและได้รับมาตรฐาน ซึ่งมีรูปแบบการรักษาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการผ่าตัด และไม่ผ่าตัด เช่น การรักษานอนกรนด้วยอุปกรณ์ทางทันตกรรม (Oral Appliance) ,การใช้คลื่นความถี่วิทยุแก้นอนกรน (RF Bot) ,และการรักษานอนกรนด้วยการบำบัดกล้ามเนื้อบนใบหน้า (Myofunctional Therapy) ซึ่งดูแลรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางผู้ได้รับการรับรองจากสถาบันนานาชาติ เฉพาะทางด้านการรักษานอนกรนด้วยการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าโดยเฉพาะ
เพิ่มเติม
-
รีวิวรักษานอนกรน VitalSleep Clinic แข็งแรงแบบนี้แต่หยุดหายใจขณะหลับ
-
BoomTharis ตรวจ Sleep test รักษานอนกรน และพบว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ!!!
-
รีวิวผ่าตัดแก้นอนกรน จบปัญหานอนกรน ด้วยวิธี “ผ่าตัดขากรรไกร”