หยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงโรคใหลตายไม่รู้ตัว

หยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงใหลตายไม่รู้ตัว

หยุดหายใจขณะหลับ ปัจจัยเสี่ยงโรคใหลตาย อันตรายถึงชีวิต

ตลอดช่วงเวลานอนหลับ ผู้ที่ประสบปัญหาหยุดหายใจขณะหลับจะมีการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับหลายครั้ง ซึ่งการหยุดหายใจขณะหลับ เป็นประจําส่งผลต่อความจํา สภาวะอารมณ์ รวมไปถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงและโรคใหลตาย ซึ่งอาการนอนใหลตาย ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ หากไม่ได้รับการตรวจการนอนหลับและรักษาอย่างเร่งด่วน เลือดจะไม่สามารถไปเลี่ยงอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย
ขั้นร้ายแรงที่สุดอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

หยุดหายใจขณะหลับ-เสี่ยงโรคใหลตายไม่รู้ตัว

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร

อาการหยุดหายใจขณะหลับ หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) คือ ระบบทางเดินหายใจส่วนบนถูกปิดกั้นขณะนอนหลับ เมื่อหายใจจะทำาให้เกิดการสั่นสะเทือนกลายเป็นเสียงกรน พบได้มากในผู้ที่มีปัญหานอนกรน ผู้สงอายุกลุ่มคนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มาตรฐาน โรคอ้วน และอาจพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้เกิดจากอากาศสามารถไหล ผ่านเข้าสู่ปอดได้น้อยลง ทำให้มีอาการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ จนถึงขันไม่มีอากาศไหลเข้าสู่ปอดเป็นเวลายาวนานถึง 10 วินาทีบางกรณีอาจยาวนานกว่านั้น

การหยุดหายใจขณะหลับ ส่งผลให้เกิดภาวะออกซิเจนในเลือด สมอง และหัวใจต่ำลง ในขณะเดียวกัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับเพิมสูงขึ้น โรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นโรคที่อันตราย เนื่องจากภาวะดังกล่าวอาจทำให้ผู้ที่หยุดหายใจขณะหลับเสียชีวิตได้ ผู้ที่ประสบปัญหาจึงควรเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน ไม่ควรปล่อยปัญหาทิ้งไว้

ผู้ที่มีปัญหาหยุดหายใจขณะหลับ มักมีอาการนอนกรน นอนหลับไม่ต่อเนื่อง หยุดหายใจขณะหลับ ละเมอเดิน นอนกัดฟัน ชักขณะหลับ รู้สึกเจ็บคอและปากแห้งเมื่อตื่นนอน

ประเภทของอาการหยุดหายใจขณะหลับ

  1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดอุดกั้น Obstructive Sleep Apnea (OSA) เป็นความผิดปกติที่มีการ อุดกั้นทางเดินหายใจมากจนทำให้เกิดหยุดหายขณะหลับใจเป็นช่วง ๆ ขณะนอนหลับ
  2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดสมองส่วนกลาง Central Sleep Apnea (CSA) เป็นความผิดปกติ จากสมองส่วนกลางไม่ส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจให้เหมาะสม หรือเป็นผลมาจาก อาการข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดที่กดสมองส่วนกลางไว้ทำให้หยุดหายใจขณะหลับ เช่น ยานอน หลับ เป็นต้น
  3. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดซับซ้อน Complex Sleep Apnea Syndrome (CompSAS) เป็นความผิดปกติที่ผสมผสานทั้งแบบภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดอุดกั้น (OSA) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดสมองส่วนกลาง (CSA) ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับโดยอัตโนมัติ
หยุดหายใจขณะหลับ

อันตรายจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) คือ การที่เราหยุดหายใจร่วมด้วยในขณะที่เกิดอาการนอนกรน โดยเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้ร่างกายต้องหายใจเข้ามากขึ้น เพื่อนำส่งอากาศผ่านทางเดินหายใจ แต่เนื่องจากทางเดินหายใจตีบและแคบลงกว่าปกติ สุดท้ายก็ส่งผลให้ทางเดินหายใจแคบลงจนปิดสนิท ด้วยเหตุนี้เอง สมองจึงไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ และทำให้สมองขาดออกซิเจนขณะหลับ ผู้ที่ประสบปัญหาหยุดหายใจขณะหลับจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกหายใจแรง อ่อนเพลีย และไม่สดชื่น เพราะตลอดช่วงเวลานอนหลับ มีการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับหลายครั้ง ซึ่งการหยุดหายใจขณะหลับเป็นประจำส่งผลต่อความจำ สภาวะอารมณ์ รวมไปถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคใหลตาย ดังนั้นผู้ที่หยุดหายใจขณะหลับ เสียชีวิตได้ง่าย อันตรายกว่าที่คิด!

โรคใหลตาย

โรคใหลตาย เกิดจากอะไร

สาเหตุสำคัญของอาการนอนใหลตาย เกิดจากภาวะร่างกายขาดโพแทสเซียม ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจจึงเต้นแรงขึ้นจนเสียชีวิตในที่สุด พฤติกรรมเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดโรคใหลตายมี 2 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษเป็นประจำ จนเกิดการสะสมของสารพิษ และส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจัยต่อมาคือร่างกายขาดวิตามินบี 1 อย่างเฉียบพลัน ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและต้องการนอนหลับ แต่เมื่อหลับแล้วหัวใจจะวายทันที โดยโรคใหลตายมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ

หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคใหลตาย ขั้นต้นควรเข้าตรวจการนอนหลับก่อน การตรวจการนอนหลับ (Sleep apnea test) เป็นการตรวจเพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของร่างกายระหว่างการนอนหลับสำหรับการตรวจคุณภาพการนอนหลับ ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับการประเมินผล ตรวจวัดการทำงานของคลื่นสมอง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด ตรวจวัดระบบหายใจ ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ   

อัตราความชุกของโรคใหลตายในประเทศไทย

จากสถิติในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่มีอาการนอนใหลตาย ประมาณ 40 คน จากจำนวนประชากร 100,000 คน มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ช่วงอายุตั้งแต่ 20 – 50 ปี และส่วนใหญ่พบในคนอีสานมากกว่าภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้จึงไม่จำเป็นต้องตระหนกมากเกินไปว่าตนเองจะเป็นโรคใหลตาย เพราะผู้ป่วยโรคใหลตาย พบได้เพียง 0.004% เท่านั้นจากประชากรทั้งหมดของประเทศ  

กลไกการเกิดโรคใหลตาย

โรคใหลตายคือกลุ่มอาการที่มีการเสียชีวิตขณะนอนหลับโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และเป็นโรคที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์ สำหรับคนที่มีอาการนอนใหลตาย พบว่ามีโซเดียมเข้าออกเซลล์น้อยกว่าคนปกติ ซึ่งแตกต่างจากร่างกายของคนส่วนใหญ่ที่จะมีเกลือแร่วิ่งเข้าออกระหว่างเซลล์ตลอดเวลา เพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจ โดยเกลือแร่ที่ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เป็นต้น ผู้ที่มีความเสี่ยงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และระมัดระวังไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคใหลตาย

อันตรายจากโรคใหลตาย

อาการของโรคใหลตาย

โดยปกติอาการนอนใหลตายแสดงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ผู้ป่วยเสียชีวิตฉับพลันขณะนอนหลับในเวลากลางคืนโดยไม่แสดงอาการผิดปกติเป็นสัญญาณเตือน ส่วนอีกรูปแบบ ผู้ป่วยบางรายจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนการเกิดภาวะใหลตาย เช่น เป็นลม หมดสติหลังจากนอนหลับ ภาวะแขนและขาเกร็ง หายใจหอบเสียงดัง เกิดอาการกระตุก ลมชัก หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจปัสสาวะราดอุจจาระราด หากคนใกล้ชิดพบเห็นอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบนำผู้ป่วยโรคใหลตายส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะผู้ป่วยเริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤต และอาจเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

การเกิดภาวะใหลตายเกี่ยวข้องกับการเต้นของหัวใจอย่างไร

หัวใจห้องล่างมีหน้าที่หลักคือสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่ในกรณีผู้ที่เสียชีวิตจากอาการนอนใหลตาย พบว่าประตูหัวใจห้องล่างเกิดไฟฟ้าลัดวงจร มีกระแสไฟฟ้าจุดเล็ก ๆ มากระตุ้นหัวใจ ทำให้การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ และสั่นระริก ๆ จนทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายรวมไปถึงสมอง ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด เมื่อร่างกายของเราเกิดภาวะดังกล่าว ภายใน 30 วินาที จะทำให้เป็นลมหมดสติ หลังจากนั้นอีก 4 นาที สมองจะเริ่มตาย และหากปล่อยให้สมองขาดเลือดนานกว่า 6-7 นาที ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะใหลตายจะเสียชีวิตในที่สุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น สามารถเข้ารับการตรวจการนอนหลับ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดอาการนอนใหลตายของแต่ละบุคคล

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยภาวะใหลตายขั้นวิกฤต

ผู้ป่วยที่มีอาการนอนใหลตาย หัวใจเต้นเร็วผิดปกติจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ อาจหมดสติ มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หยุดหายใจ ระหว่างรอรถพยาบาลฉุกเฉิน และหน่วยพยาบาลมาประเมินอาการของผู้ป่วย ควรจัดท่าทางที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย คือ จับผู้ป่วยนอนราบกับพื้น กรณีที่ผู้ป่วยไม่หายใจ หรือชีพจรเต้นอ่อน สามารถช่วยผู้ป่วยได้โดยการปั๊มหัวใจ (CPR : Cardiopulmonary Resuscitation) ด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพราะอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต เริ่มจากการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที ควรทำซ้ำต่อเนื่องจนกว่าแพทย์จะมา นอกจากนี้ไม่ควรใช้ของแข็งงัดปากของผู้ป่วย เพราะอาจเป็นอันตรายโดยตรงกับผู้ป่วย

Scroll to Top