แก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัด 2024

แก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัด 2024

หัวข้อย่อย

การรักษาแก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัด สามารถทำได้หลายวิธี หรือสามารถทำการรักษาพร้อมกันหลายวิธี เพื่อส่งเสริมผลการรักษาให้ดียิ่งขึ้น เช่น การใช้เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance) เพื่อขยายช่องทางเดินหายใจขณะนอนหลับ ร่วมกับการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy) เพื่อเป็นการบำบัดกล้ามเนื้อโคนลิ้น และทางเดินหายใจส่วนต้น ที่หย่อนคล้อย ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ซึ่งเป็นที่มาของเสียงกรน โดยเป็นการแก้ไขปัญหาการนอนตั้งแต่ต้นเหตุ และได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว

สาเหตุของการนอนกรน

1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA)

คือ การที่ช่องทางเดินหายใจไม่สามารถรับอากาศเข้าหรือออกได้ ขณะที่กำลังนอนหลับ เกิดจากการที่มีช่องทางเดินหายใจแคบ จากโครงหน้าที่ผิดปกติ เช่น คางสั้น ทำให้โคนลิ้นเบียดช่องทางเดินหายใจ หรือ อาจเกิดจากกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้นที่ไม่แข็งแรง ทำให้ลิ้นหย่อนลงไปทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง เมื่อทางเดินหายใจแคบลง และมีอากาศผ่านเข้าและอออก จะทำให้เกิดเป็นเสียงกรนขึ้นมาได้

2. อ้วน

ในคนอ้วน มักจะมีไขมันพอกใต้คาง หรือเหนียง โดยเหนียงที่มีน้ำหนักมาก จะไปกดทับช่องทางเดินหายใจขณะนอนหลับ และทำให้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA)

3. ดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอล์กอฮอล์ จะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว รวมไปถึงกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้น และกล้ามเนื้อโคนลิ้นของเราด้วย ทำให้กล้ามเนื้อทั้งสองตัวหย่อนคล้อยลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจ และทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA) ได้เช่นกัน

| ทำไมเราถึง “นอนกรน” และวิธีรักษาให้หายขาด

อาการเสี่ยง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการเสี่ยงมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

1. มีเสียงกรน

ในคนที่มีเสียงกรน มักจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยเสมอ ซึ่งอาการนี้เป็นอาการที่ชัดมากๆของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

2. มีเสียงกรน สลับเงียบเป็นพักๆ

ตอนนอนและหายใจ จะมีเสียงกรนที่ดังมากๆ แต่ที่เสียงกรนหายไป อาจเป็นเพราะว่าไม่ได้หายใจ หรือหายใจไม่ออก เนื่องจากมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA)

3. นอนเยอะ แต่รู้สึกเหมือนนอนไม่พอ หาวบ่อยๆ

นอนหลับเยอะ แต่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น

4. หลงๆลืมๆ

การที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA) ทำให้ร่างกายไม่ได้หายใจ และได้รับออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้สมองขาดออกซิเจนเป็นช่วงๆ และอาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตกได้ด้วย

5. สะดุ้งตื่นตอนนอนบ่อยๆ

การที่หายใจไม่ออก ทำให้สมองต้องปลุกร่างกายขึ้นมากระทันหัน เพื่อหายใจรับออกซิเจน จึงทำให้มีความรู้สึกเหมือนนอนตกตึก หรือสะดุ้งตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน

6. นอนไม่ค่อยหลับ

เพราะหยุดหายใจขณะหลับ ร่างกายจึงปลุกเพื่อให้ตื่นขึ้นมาหายใจอยู่บ่อยๆ ร่างกายและสมองอาจเกิดการจดจำขึ้นมา ว่าถ้านอนแล้วจะทำให้หยุดหายใจขณะหลับ จึงทำให้เรามีความรู้สึกนอนไม่หลับ แม้ว่าจะอยากนอนแล้วก็ตาม

นอนกรนรักษายังไง

นอนกรนรักษายังไง ?

ขั้นตอนแรก จะต้องทราบที่มาของการนอนกรน หรือเสียงกรนก่อน โดยการตรวจนอนกรน (Sleep Test) ซึ่งจะเป็นการตรวจการนอนหลับของเรา ว่ามีความผิดปกติตรงไหน

– วัดความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA)

– วัดระดับออกซิเจนในท่านอนแต่ละท่า

– วัดความดังเสียงกรน

– วัดอัตราการเต้นของหัวใจ

– เช็ค Sleep Stage

– เช็คท่านอนหลับ ที่ทำให้หยุดหายใจขณะหลับมากที่สุด

หลังจากมีผลตรวจนอนกรน (Sleep Test) แล้ว สามารถนำผลการตรวจมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวางแผนการรักษาตามอาการของคนไข้ โดยการรักษาปัญหาการนอนของ VitalSleep Clinic ที่แนะนำ จะเป็นการรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัด เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว คนไข้มักจะไม่อยากผ่าตัดเพื่อทำการรักษาแก้นอนกรน เนื่องจากไม่มีเวลาในการพักฟื้น หรือกลัวการผ่าตัด

1. การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy)

เป็นวิธีแก้นอนกรน และปัญหาการนอน ที่เป็นการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุได้ โดยจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อโคนลิ้น และทางเดินหายใจส่วนต้นให้แข็งแรง ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น และไม่หย่อนคล้อย และเป็นวิธีเดียวที่รักษาปัญหาการนอนตั้งแต่ต้นเหตุได้ ทั้งนอนกรน นอนอ้าปาก และหยุดหายใจขณะหลับ

2. คลื่นความถี่วิทยุรักษาแก้นอนกรน (Radio Frequency)

การรักษานอนกรน โดยคลื่นความถี่วิทยุรักษาแก้นอนกรน (Radio Frequency) จะเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้ไปที่เพดานอ่อนลิ้นไก่ของคนไข้ เพื่อเป็นการกระตุ้นคอลลาเจน ทำให้เพดานอ่อนลิ้นไก่กระชับขึ้น ทำให้แก้ปัญหาเสียงกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ดี แม้ว่าจะเป็นวิธีที่คล้ายกับเลเซอร์แก้นอนกรน แต่การรักษานอนกรน โดยคลื่นความถี่วิทยุรักษาแก้นอนกรน (Radio Frequency) จะใช้เวลาในการทำน้อยกว่า และผลลัพธ์สามารถอยู่ได้นานกว่า

3. เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance)

เป็นเครื่องมือที่ใช้สวมเฉพาะเวลานอน เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น จึงสามารถทำให้ลดเสียงกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้ง่าย อายุการใช้งานยาว ทำให้เป็นที่นิยมสำหรับคนที่มีปัญหาการนอน

4. เครื่องรักษานอนกรน (CPAP)

เป็นเครื่องแก้นอนกรนที่สามารถอัดแรงดันอากาศ เพื่อช่วยให้เปิดทางเดินหายใจ สามารถแก้ปัญหาทางเดินหายใจแคบ และหยุดหายใจขณะหลับได้ดี แต่ก็จำเป็นจะต้องใช้ไฟฟ้า และต้องมีพื้นที่ในการวางเครื่อง CPAP ด้วยเช่นกัน

คลินิกนอนกรน 2024 รักษาด้วยการบำบัด

แนะนำคลินิกนอนกรน 2024 ทางเลือกใหม่รักษาด้วยการบำบัด

นอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถรักษาได้ไม่น่ากลัวเเบบที่ใครๆคิด หากกำลังมองหาคลินิกนอนกรน เพื่อรักษาปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ ที่…

อ่านต่อ

ข้อเสีย ของการรักษานอนกรนแบบผ่าตัด

การรักษานอนกรนแบบผ่าตัด อาจจะทำให้เสียเลือดได้มาก และมีอาการบวมของแผลผ่าตัด อาจส่งผลทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลงทำให้หายใจได้ลำบากหลังจากผ่าตัดในช่วงแรก และจำเป็นจะต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังจากผ่าตัด เพื่อดูอาการ ประมาณ 2-3 วัน

ข้อดี ของการรักษาแก้นอนกรน แบบไม่ผ่าตัด

การรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัด มีหลายวิธีให้เลือกใช้ โดยแพทย์จะแนะนำวิธีที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ในเคสนั้นๆ ขึ้นอยู่กับอาการ และความเหมาะสมในการรักษาคนไข้แต่ละเคส หากมีอาการหยุดหายใจขณะหลับที่เยอะ อาจต้องใช้หลายวิธี เพื่อช่วยรักษาปัญหาการนอนทั้งต้นเหตุและปลายเหตุได้พร้อมๆกัน เช่นการใช้เครื่องรักษานอนกรน (CPAP) ช่วยขยายช่องทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้นในยตอนนอน และบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy) เพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ และกล้ามเนื้อโคนลิ้นให้แข็งแรง ไม่หย่อนคล้อย ก็จะแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นเหตุของการนอนกรน

สำหรับการรักษาแก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัด 2024 ใครที่มีปัญหาการนอน เช่น นอนกรน นอนกัดฟัน หยุดหายใจขณะหลับ หรือปัญหาอื่นๆ ไม่ควรปล่อยมองข้าม ควรรีบมาตรวจนอนกรน (Sleep Test) เพื่อทำการรักษาปัญหาการนอน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบผ่าตัด หรือไม่ผ่าตัดก็ได้เช่นกัน เพราะการนอนหลับที่ไม่ดี เป็นสาเหตุของการเกิดโรคประจำตัวต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบหรือแตก สมรรถภาพทางเพศเสื่อม และโรคต่างๆอีกมากมาย

“เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่การนอน Better Sleep for Better Tomorrow”

line
Sex เสื่อมเพราะนอนกรนเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง 1

Sex เสื่อมเพราะนอนกรนเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง

ผู้หญิงสามารถกรนได้เช่นเดียวกับผู้ชาย การนอนกรนเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อทั้งสองเพศ ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงสามารถนอนกรนในอัตราที่เทียบเท่ากับผู้ชาย…

อ่านต่อ

Scroll to Top