ตรวจการนอนหลับ หรือ sleep lab ที่ไหนดี ?

ตรวจการนอนหลับ หรือ sleep lab ที่ไหนดี

หัวข้อย่อย

ในปัจจุบัน คนมักจะให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพร่างกายมากขึ้น เพราะมีสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการดูแลร่างกายของเรา ทำให้เราดูแลตัวเองได้ง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก

แต่ค่าบริการ หรือราคาของการดูแลสุขภาพ ก็จะมีราคาสูงขึ้น เพราะมีความต้องการในตลาดมาก ทำให้คนบางกลุ่มอาจเข้าไม่ถึงการดูแลสุขภาพ เช่น สุขภาพการนอน เพราะการตรวจการนอนหลับ หรือ sleep lab มักจะมีราคาที่สูง หรือมีข้อจำกัดในการตรวจนั่นเอง

ตรวจการนอนหลับ หรือ sleep lab คืออะไร

การตรวจการนอนหลับ หรือ sleep lab เป็นการวัดคุณภาพในการนอนหลับของเรา เพื่อวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอน เช่น เสียงกรน ออกซิเจนขณะหลับ รวมถึงการหยุดหายใจในขณะหลับ และการตรวจการนอนหลับ หรือ sleep lab มักเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่รักสุขภาพ, คนที่ไม่ได้นอนคนเดียว, คนนอนกรน หรือคนที่มีปัญหาการนอนอื่นๆ

ประเภทของตรวจการนอนกรน หรือ sleep lab

การตรวจการนอนกรน หรือ sleep lab มีหลายประเภทให้เลือก โดยอาจเลือกจากการแนะนำของแพทย์ หรือความเหมาะสมในการตรวจ

1. ตรวจการนอนกรนแบบมาตรฐาน (Standard Sleep Test หรือ Home Sleep Test)

เหมาะกับกับคนที่นอนหลับยาก เนื่องจากการตรวจการนอนกรนแบบมาตรฐาน (Standard Sleep Test หรือ Home Sleep Test) จะติดตั้งอุปกรณ์น้อย ทำให้ไม่รบกวนการนอนหลับ โดยการตรวจชนิดนี้ สามารถทำได้ที่บ้าน และสามารถวัดค่าต่างๆสำหรับการวินิฉัย โดยแพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรนได้ดังนี้

– ระดับความรุนแรงของการหยุดหายใจขณะหลับ

– ระดับออกซิเจนขณะหลับ

– ระดับออกซิเจนของการนอนแต่ละท่า

– ระดับความดังของเสียงกรน

– ระดับการนอนหลับ (Sleep Stage)

– อัตราการเต้นของหัวใจ

– ท่านอนที่ทำให้หยุดหายใจขณะหลับมากที่สุด

2.ตรวจการนอนกรนแบบละเอียด (Full Sleep Test)

การตรวจการนอนกรนแบบละเอียด เหมาะกับคนที่นอนกรน นอนกัดฟัน นอนละเมอ นอนเยอะแต่ยังเพลียอยู่ สะดุ้งตื่นกลางดึก เพราะการตรวจการนอนกรนแบบละเอียด (Full Sleep Test) สามารถวัดค่าต่างๆของการนอนได้ และเมื่อทราบผลตรวจการนอนกรนแบบละเอียด (Full Sleep Test) แล้ว จะทำให้แพทย์สามารถวินิฉัยอาการได้ง่าย และแม่นยำมากขึ้น

โดยการตรวจการนอนกรนแบบละเอียด (Full Sleep Test) ส่วนมากมักจะเป็นการตรวจที่สถานพยาบาล และต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าอยู่ตลอดคืน อาจทำให้ผู้ตรวจรู้สึกอึดอัด หรือนอนไม่หลับได้ แต่ที่ VitalSleep Clinic การตรวจการนอนกรนแบบละเอียด (Full Sleep Test) สามารถทำได้ที่บ้าน โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน โดยก่อนที่ผู้ตรวจจะนอน จะมีเจ้าหน้าที่ไปติดตั้งอุปกรณ์ให้ที่บ้าน และเมื่อตื่นนอน ผู้ตรวจสามารถถอดอุปกรณ์ตรวจการนอนกรนออกเองได้ และแจ้งเจ้าหน้าที่มารับอุปกรณ์กลับ หลังจากนั้นจึงมาฟังผลการตรวจการนอนกรน และทำการรักษาอาการต่างๆโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยการตรวจการนอนกรน (Full Sleep Test) สามารถวัดค่าต่างๆได้ดังนี้

– ระดับความรุนแรงของการหยุดหายใจขณะหลับ

– ระดับออกซิเจนขณะหลับ

– ระดับออกซิเจนของการนอนแต่ละท่า

– ระดับความดังของเสียงกรน

– ระดับการนอนหลับ (Sleep Stage)

– อัตราการเต้นของหัวใจ

– ท่านอนที่ทำให้หยุดหายใจขณะหลับมากที่สุด

– คลื่นไฟฟ้าสมอง

– คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

– เช็คการทำงานของกล้ามเนื้อแขนและขา

อาการแบบไหน ที่ควรตรวจการนอนหลับ หรือ sleep lab

อาการแบบไหน ที่ควรตรวจการนอนหลับ หรือ sleep lab

1. นอนกรน

เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว คนที่นอนกรน จะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นอยู่ด้วย ซึ่งทำให้เกิดเสียงกรน และยังทำให้ร่างกายและสมองขาดออกซิเจนได้ ซึ่งจะส่งผลเสียได้ในระยะยาว และอาจทำให้เสียชีวิตได้

2. นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ

แม้ว่าจะนอนเยอะ นอนมากกว่า 8 ชั่วโมง แต่ก็ยังรู้สึกเหมือนนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ งัวเงีย อยากนอนต่อ หรือตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น อาจเกิดจากการหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่แท้จริง

3. สะดุ้งตื่นขณะหลับ

การสะดุ้งตื่นขณะหลับ อาจเป็นเพราะเราหยุดหายใจไป ทำให้ร่างกายปลุกเราเพื่อตื่นขึ้นมาหายใจ ทำให้รู้สึกเหมือนนอนตกตึก หรือสะดุ้งเฮือก

4. ง่วงนอนแต่นอนไม่หลับ

รู้สึกง่วงนอน แต่ก็ไม่หลับสักที อาจเกิดจากการที่ร่างกายไม่กล้านอนหลับ เพราะจดจำได้ว่าเมื่อนอนแล้ว จะหยุดหายใจ ทำให้ไม่ยอมหลับสักที

โดยอาการเหล่านี้ ล้วนมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่เป็นอันตราย และส่งผลกระทบในระยะยาว และอาจทำให้เกิดโรคประจำตัวต่างๆได้ เช่น โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, เส้นเลือดสมองตีบหรือแตก, อัลไซเมอร์ ฯลฯ หรือร้ายแรงที่สุด อาจไหลตายได้เลย

อ่านต่อ โรคแทรกซ้อนจากการนอนกรน

การรักษานอนกรน

การรักษานอนกรน

การรักษาอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยหลักๆแล้ว จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. การรักษานอนกรน แบบผ่าตัด

การรักษาแบบผ่าตัด ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว แต่ก็มักจะมีผลข้างเคียงด้วย เช่น เจ็บตัว เสียงแหบ พักฟื้นนาน เป็นต้น แต่ก็จะเหมาะกับคนที่มีความผิดปกติของโครงหน้า และขากรรไกร โดยทำการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบนและล่าง เพราะจะสามารถรักษาการนอนกรนโดยการเลื่อนขกาาไกร เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น และปรับโครงหน้าให้ดูดีขึ้นได้ เช่น คนที่มีความสั้น, คางถอย, คางยื่น หรือฟันล่างคร่อมฟันบน

2. การรักษานอนกรน แบบไม่ผ่าตัด

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด มีหลายวิธีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลให้เลือก ผลข้างเคียงน้อย หรือบางวิธีอาจไม่มีผลข้างเคียงเลย และการรักษาแบบไม่ผ่าตัด สามารถให้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนมากกว่า เช่น การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy) ซึ่งเป็นวิธีแก้นอนกรน ที่สามารถแก้ปัญหาการนอนกรนได้ที่ต้นตอ แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา

อ่านต่อ แก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัด 2024

สรุป

สำหรับใครที่อยากดูแลสุขภาพ และร่างกายของตัวเอง หรือมีปัญหาด้านการนอน ไม่ว่าจะเป็นนอนกรน นอนกัดฟัน หรือรู้สึกนอนเยอะแต่ยังง่วงอยู่ก็ตาม ควรที่จะตรวจการนอนหลับ หรือ sleep lab เพื่อหาสาเหตุของอาการ และทำการรักษา หรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้น เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการตรวจที่บ้าน หรือที่สถานพยาบาลเองก็ดี สามารถเลือกทำได้ตามสะดวก หากใครที่ไม่ชอบนอนแปลกที่ หรือไม่อยากเสียค่าใช้จ่าย เช่น ค่าที่พักเพิ่ม ก็อาจจะเลือกเป็นตรวจการนอนหลับแบบที่สามารถตรวจที่บ้านได้ (Home Sleep Test) เพราะการตรวจที่บ้าน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจลงไปได้ เพราะไม่มีค่าห้องพัก และไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าขณะนอนหลับนั่นเอง

อ่าน 7 สัญญาณอันตราย “นอนกรน” เสี่ยงภาวะ “หยุดหายใจขณะนอนหลับ” โดยไม่รู้ตัว

Scroll to Top