ใครที่ยังนอนกรน หรือมีเสียงกรน รบกวนคนข้างๆอยู่ ต้องรีบมาตรวจการนอนกรน (Sleep Test) เพื่อรักษาแก้นอนกรนได้แล้ว เพราะการนอนกรน อาจไม่ใช่แค่เสียงรบกวน แต่อาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือโรคประจำตัวต่างๆได้
นอนกรนเกิดจากอะไร ?
การนอนกรน เกิดจากการที่ช่องทางเดินหายใจของเราแคบลงมากกว่าปกติ อาจเกิดจากการที่โครงหน้าผิดรูป ทำให้คางสั้นและมีพื้นที่ในการวางลิ้นน้อยลง หรือเกิดจากการหย่อนของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้น ที่หย่อนลงไปเบียดทางเดินหายใจ เมื่อเราหายใจจะเกิดเป็นเสียงสั่น หรือเสียงกรนที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง
โรคแทรกซ้อนจากการนอนกรน
สำหรับการนอนกรน หลายๆท่านยังคิดว่าเป็นเรื่องปกติ หรือเป็นเพียงเสียงกรนที่รบกวนคนข้างๆเท่านั้น แต่การนอนกรนเป็นภัยเงียบ ที่สามารถกลายเป็นโรคร้าย หรือโรคประจำตัวได้ในระยะยาว
1. โรคเส้นเลือดในสมองแตก
การนอนกรน จะทำให้ออกซิเจนที่เข้ามาในร่างกายขาดเป็นช่วงๆ ซึ่งในระยะยาว จะทำให้เส้นเลือดเสื่อมลง และอาจกลายเป็นเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตกได้ในที่สุด
2. โรคหัวใจ
คนที่นอนกรน มักจะมีภาวะหยุดหายในใจขณะหลับอยู่แล้ว และภาวะหยุดหายในใจขณะหลับ จะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) โดยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) นี้ จะทำให้หัวใจโต และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ
3. โรคความดันโลหิตสูง
ขณะที่เรานอน และมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ จะทำให้สมองได้รับออกซิเจนที่น้อย หัวใจจะบีบตัวแรงขึ้น เพื่อชดเชยกับการหยุดหายใจขณะหลับ เมื่อหัวใจบีบตัวแรงขึ้น ก็จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย
4. โรคอัมพาต
การนอนกรน ทำให้เลือดของเรามีคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เกิดคราบพลัคขึ้นในเส้นเลือดของเรา เมื่อสะสมไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ไปอุดตันเส้นเลือดที่ส่งเลือดไปเส้นสมอง และทำให้เป็นอัมพาตได้
5. โรคอัลไซเมอร์
การที่เรานอนและสมองมีการรับออกซิเจนที่น้อย ขาดช่วง หรือไม่เพียงพอ ก็จะทำให้สมองเสื่อมลงเรื่อยๆ และทำให้กลายเป็นอัลไซเมอร์ได้ในที่สุด
6. โรคมะเร็ง
การขาดออกซิเจนในเส้นเลือด จะทำให้เลือดคั่ง หากเลือดคั่งในส่วนที่เป็นเนื้องอก หรือเนื้อร้าย จะทำให้เนื้อร้ายได้รับสารอาหารที่มากขึ้น และจะเป็นการกระตุ้นให้เนื้องอก หรือเนื้อร้ายเจริญเติบโตได้เร็วขึ้นมากกว่าปกติ
7. ใหลตาย
ใหลตาย เกิดจากการที่มีลิ่มเลือดอุดตันไปอุดตันเส้นเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานอย่างหนักขึ้น และทำให้เกิดความเสี่ยงหัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งเป็นที่มาของการใหลตาย
จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่าโรคต่างๆที่เกิดขึ้น ล้วนเริ่มจากการนอนกรนทั้งนั้น แม้ในตอนกลางวันเราจะดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย หรือกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขนาดไหน แต่ละเลยเรื่องสุขภาพการนอนไปก็อาจทำให้เกิดโรคร้าย หรือโรคประจำตัวต่างๆได้เช่นกัน
นอนกรนรักษาอย่างไร ?
นอนกรนรักษาได้ทั้งแบบผ่าตัด และไม่ผ่าตัด แต่ที่เป็นที่นิยมกัน มักจะเป็นวิธีแก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัดเสียมากกว่า เพราะการรักษานอนกรนแบบผ่าตัด มีผลข้างเคียงจากการรักษา มากกว่าการรักษานอนกรน แบบไม่ผ่าตัด
สำหรับการรักษาเสียงกรนจำเป็นจะต้องตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน (Sleep Test) เพื่อนำผลการตรวจมาวินิฉัย โดยแพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน และแพทย์จะแนะนำการรักษาเพื่อแก้นอนกรนที่เหมาะสมกับอาการ และความเหมาะสมสำหรับเคสนั้นๆต่อไป
ประเภทของการตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน (Sleep Test)
การตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน (Sleep Test) มีทั้งแบบที่สามารถตรวจได้ที่บ้าน หรือ ตรวจที่โรงพยาบาลก็ได้เช่นกัน
1. ตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน แบบมาตรฐาน (Standard Sleep Test)
สามารถตรวจที่บ้านได้ ไม่ต้องมีคนเฝ้าขณะหลับ อุปกรณ์น้อย ไม่รบกวนตอนนอน เหมาะกับคนที่นอนหลับยาก เป็นการตรวจค่าพื้นฐานสำหรับใช้วินิฉัยปัญหาการนอนได้
2. ตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน แบบละเอียด (Full Sleep Test)
เป็นการตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน แบบละเอียด วัดค่าการนอนต่างๆได้มากกว่า ทำให้วินิฉัยได้ง่าย และแม่นยำมากขึ้น ทำให้แพทย์แนะนำวิธีการรักษานอนกรนได้ละเอียดและตรงจุดมากขึ้น โดยการตรวจแบบนี้ ก็สามารถทำการตรวจที่บ้าน และไม่ต้องมีคนเฝ้าเช่นกัน
3. ตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน แบบสมบูรณ์ (Comprehensive Sleep Test)
การตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน แบบนี้ จำเป็นจะต้องตรวจที่สถานที่ให้บริการ และจะต้องมีคนเฝ้าตลอดคืน ทำให้ไม่เหมาะสำหรับคนที่นอนหลับยาก หรือชอบนอนคนเดียว แต่จะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากกว่าการตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน แบบมาตรฐาน
โดยสามารถใช้ผลตรวจจากการตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน (Sleep Test) แบบไหนก็ได้ สามารถนำมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิฉัยปัญหาการนอน และทำการรักษานอนกรนได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความสะดวก และเหมาะสมของแต่ละบุคคล
อ่านเพิ่มเติม
ตรวจการนอนหลับ Sleep Test ราคาประหยัด ตรวจได้แม้งบน้อย
การตรวจการนอนหลับ (Sleep Study) เป็นการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของร่างกาย
การรักษานอนกรน แบบไม่ผ่าตัด ที่แนะนำ
การรักษานอนกรน เพื่อแก้นอนกรน แบบผ่าตัด เป็นวิธีแก้นอนกรนที่ไม่เป็นที่นิยม และไม่แพร่หลายสำหรับคนที่มีปัญหาการนอนมากนัก VitalSleep Clinic จึงอยากแนะนำการรักษา แบบไม่ผ่าตัด เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษา ดังนี้
1. การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น หรือ Myofunctional Therapy
เป็นการรักษาปัญหาการนอนและแก้นอนกรนตั้งแต่ต้นเหตุ ที่สามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย เป็นการฝึกกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้น และโคนลิ้นให้แข็งแรง เมื่อกล้ามเนื้อส่วนนี้ของเราแข็งแรงขึ้นแล้ว จะทำให้กล้ามเนื้อไม่หย่อนคล้อยลงไปปิดกั้นทางเดินหายใจ และจะช่วยลดเสียงกรนและลดความเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ด้วย โดยไม่ต้องสวมใส่อุปกรณ์ขณะนอน และใช้เวลาในการฝึกเพียง 1-2 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น
2. การรักษานอนกรน ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ หรือ Radio Frequency (RF Bot)
การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ เหมาะกับคนที่มีปัญหากล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้นหย่อนคล้อย เพดานอ่อนลิ้นไก่หย่อยคล้อย ที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ จะทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้น และเพดานอ่อนลิ้นไก่กระชับขึ้น ทำให้ลดความเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากการอุดกั้นได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อรักษานอนกรน และไม่ต้องสวมอุปกรณ์ขณะหลับ
3. การใช้เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน หรือ Oral Appliance
การใช้เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน เหมาะกับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่จำเป็นจะต้องใช้เครื่องรักษานอนกรน อัดแรงดันอากาศเพื่อช่วยรักษา แต่เป็นคนนอนหลับยาก และต้องเดินทางบ่อย โดยเครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน สามารถทดแทนเครื่องอัดแรงดันอากาศได้ เพราะมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก สวมใส่เฉพาะตอนนอน และไม่มีเสียงดังรบกวนการนอนหลับ
4. เครื่องแก้นอนกรน หรือ CPAP
เครื่องแก้นอนกรน เป็นเครื่องรักษานอนกรนที่จะอัดแรงดันอากาศ เพื่อช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น ในคนที่มีภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ เพราะจะช่วยอัดแรงดันอากาศเข้าไป ทำให้ช่วยเปิดช่องทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งจะช่วยลดเสียงกรน และภาวะหยุดหายใจในขณะหลับได้ดี
อ่านเพิ่มเติม
เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เเก้ไขอาการกรนได้อย่างไร ?
ปัญหาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เเล้วเครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรนคืออะไร ต้องเลือกแบบไหนจึงจะเหมาะสม
สำหรับใครที่ยังมีเสียงกรนอยู่ อย่าละเลยการนอนกรนเด็ดขาด เพราะการนอนกรน เป็นสาเหตุของโรคประจำตัวต่างๆได้ อาจทำให้คนที่ออกกำลังกาย มีสุขภาพดีอยู่แล้ว กลายเป็นคนมีโรคประจำตัวและต้องทำการรักษาโรคนั้นไปตลอด หรืออาจเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้เลย เพราะฉะนั้นแล้ว ใครที่มีปัญหาการนอนอยู่ ควรมาตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน (Sleep Test) เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงตั้งแต่ต้นเหตุจะดีกว่า โดยสามารถเลือกการตรวจนอนกรน หรือ ตรวจการนอนกรน (Sleep Test) แบบใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบตรวจที่บ้าน หรือแบบมีคนเฝ้าที่สถานพยาบาล แต่จำเป็นจะต้องมีผลการตรวจที่ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถทำการรักษาและแก้นอนกรนได้อย่างตรงจุด เพราะสุขภาพดี เริ่มต้นที่การนอน Better Sleep Better Health
อ่านเพิ่มเติม