รวมวิธีแก้นอนกรน ก่อนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพและความสัมพันธ์
เนื้อหา
- ทำไมถึงนอนกรน
- วิธีแก้นอนกรนด้วยตัวเอง
- นอนกรนรุนแรงแค่ไหนถึงควรพบแพทย์
- วิธีแก้นอนกรนแนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง
ทำไมถึงนอนกรน
1. เกิดจากกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับจนทำให้ช่องคอแคบลง ซึ่งส่งผลให้ต้องหายใจเข้าออกแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทางเดินหายใจแคบลงจนถึงจุดหนึ่ง ความแรงของลมหายใจที่ยิ่งเพิ่มมากขึ้นจนเกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อภายในระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีเสียงกรนตามมา
2. เกิดจากการปิดกั้นของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อภายในระบบทางเดินหายใจ เช่น ลิ้น ลิ้นไก่ เพดานอ่อน คอ หรืออาจเกิดจากสารหล่อลื่นในระบบทางเดินหายใจลดลง ทำให้เกิดอาการแห้ง และบวม ทางเดินหายใจจึงแคบลง เมื่อหายใจจึงเกิดเป็นเสียงกรน
3. เกิดจากการดื่มสุรา สูบบุหรี่จัด กินยานอนหลับก็เป็นสาเหตุที่ทำให้กรนได้ หากช่องคอแคบลงอีกเรื่อยๆ ก็จะส่งผลให้เกิดการอุดตันในช่องคอแบบชั่วคราว ทำให้ลมหายใจเข้าออกขาดหายไปชั่วขณะ กลายเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งหากใครมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพราะหากปล่อยเอาไว้อาจเป็นบ่อเกิดของโรคอื่นๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อัมพาต ตลอดจนทำให้มีปัญหากับคนใกล้ชิด
“ผู้ชายมีอัตราการนอนกรนมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะคนอ้วน ผู้สูงวัย ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หรือโรคจมูกอักเสบ ผู้ที่ทำงานหักโหม หรือออกกำลังกายมากเกินไป”
แนะนำอ่านเพิ่มเติม:
ไขทุกข้อข้องใจแก้ปัญหาการนอนกับแพทย์เฉพาะทาง
คุณหมอเคลียร์ข้อสงสัย “สาเหตุ อันตราย วิธีรักษาการนอนกรนและ โรคหยุดหายใจขณะหลับ”
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคหยุดหายใจขณะหลับที่มาร่วมกับอาการนอนกรนเป็นโรคที่อันตราย และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้อาจให้คนใกล้ชิดที่นอนด้วยช่วยกันสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
วิธีแก้นอนกรน
1. ปรับเปลี่ยนท่านอน: การนอนหงายเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนอนกรนมากขึ้น เนื่องจากเพิ่มโอกาสที่กล้ามเนื้อภายในช่องปากหย่อนคล้อยจนปิดกั้นทางเดินหายใจ ท่านอนที่แนะนำคือ ท่าตะแคง
2. ลดความอ้วน: เหตุผลที่คนอ้วนมีโอกาสเกิดอาการนอนกรนมากกว่าคนผอมเพราะ ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณช่องคอมีความหนาตัวขึ้น จึงค่อยๆ ปิดกั้นทางเดินหายใจ อากาศที่ผ่านได้บางส่วนทำให้อวัยวะภายในเกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงกรนออกมาในที่สุด
3. งดดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน: เป็นการเพิ่มความเสี่ยงการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ ซึ่งนำไปสู่ภาวะนอนกรนในที่สุด
4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนนอน: เป็นเพราะการสูบบุหรี่ทำให้เนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบนมีอาการบวมหรือเกิดอาการคัดจมูก ส่งผลให้หายใจติดขัดนำไปสู่อาการกรนในที่สุด
5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนล้า และเกิดภาวะการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อบริเวณลำคอโดยไม่รู้ตัว จึงเป็นที่มาของโรคนอนกรน
6. หลีกเลี่ยงยาบางชนิด: เช่น ยานอนหลับ ยาระงับประสาท และยาแก้แพ้ชนิดง่วง เป็นต้น เพราะเสี่ยงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอหย่อนตัวมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการนอนกรนตามมา
7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: เพื่อช่วยเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย และลดการอุดกั้นในทางเดินหายใจ
รวม 7 วิธีรักษานอนกรนโดยแพทย์เฉพาะทาง
คลิปนี้เป็นการชวนคุณหมอมาตอบคำถามเกี่ยวกับการแก้ปัญหานอนกรนในหัวข้อ “รักษานอนกรนมีกี่วิธี มีวิธีไหนบ้าง” จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปรับชมกันได้เลยค่า
นอนกรนรุนแรงแค่ไหนถึงควรพบแพทย์
ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งหากใครมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ อาการหยุดหายใจขณะหลับ สามารถสังเกตได้ดังนี้
- เสียงกรนดังมากแม้ปิดประตูยังได้ยิน
- ปวดศีรษะหลังตื่นนอน
- ง่วงนอนมากผิดปกติระหว่างวัน
- นอนเตะขาไปมาในขณะหลับ
- ตื่นขึ้นมาเพราะหายใจแรง, สำลัก หรือหายใจติดขัด
- ความต้องการทางเพศลดลง
วิธีเช็คอาการหยุดหายใจขณะหลับที่กล่าวมา เป็นแค่การสังเกตอาการเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ แนะนำให้ตรวจการนอนหลับ (sleep test) ร่วมด้วย เพื่อประเมินการรักษาได้อย่างตรงจุด
วิธีทำให้หายกรนแก้อาการหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งแนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง
- เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน แก้นอนกรน (Oral Appliance): แพทย์หลายท่านแนะนำอุปกรณ์รักษาการนอนกรน แก้นอนกรน ชิ้นนี้ เพราะสามารถลดอาการกรนได้จริงและมีขั้นตอนในการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก ทั้งนี้ หากเลือกรักษากับทาง Vital Sleep Clinic ท่านจะสามารถมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์มีความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน เพราะอุปกรณ์ผลิตจากห้องแลปของทางคลินิก ที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง American Board of Dental Sleep Medicine
- เครื่องช่วยหายใจ CPAP: แพทย์หลายๆ ท่านแนะนำให้แก้โรคนอนกรนด้วยวิธีนี้เพราะ สามารถลดอาการกรนได้จริง และตื่นเช้าในวันถัดมาด้วยความสดชื่นจากการได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอในขณะที่หลับอยู่ แต่ทั้งนี้ คนไข้บางรายที่จำเป็นต้องเดินทางบ่อยๆ อาจไม่สะดวกในการพกพา ในกรณีเช่นนี้แพทย์จะแนะนำ เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance) ให้ใช้แทนเพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต
- คลื่นความถี่วิทยุ RF: การแก้โรคนอนกรนด้วยวิธีนี้สามารถแก้ไขปัญหา “เสียงกรน” แก้นอนกรน ที่มาจากการหย่อนคล้อยบริเวณโคนลิ้นหรือเยื่อบุจมูกได้ดี วิธีนี้มีเพียงแค่แพทย์เฉพาะทางเท่านั้นที่เป็นผู้ทำการรักษาได้
- การฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy): เป็นนวัตกรรมการแก้นอนกรนที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ เพราะเป็นการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุ เช่น การวางตำแหน่งลิ้นให้ถูกต้อง หรือแม้แต่ช่วยฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรง เพื่อลดการหย่อนคล้อยของอวัยวะภายในจนนำไปสู่ปัญหาอุดกั้นทางเดินหายใจ