นอนกรนบ่อย เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับโดยไม่รู้ตัว! ปล่อยไว้อาจนำไปสู่โรคหัวใจ เบาหวาน และอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ รู้จักวิธีตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อวินิจฉัยอย่างแม่นยำ พร้อมแนวทางการรักษาที่ปลอดภัยและเห็นผล
ทำไม? นอนกรนถึงอันตราย
หลายคนอาจมองว่าการนอนกรนเป็นเรื่องปกติ แต่ความจริงแล้วหากนอนกรนเสียงดัง มีการหยุดหายใจ และตื่นกลางดึกบ่อย ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือ OSA ที่ส่งผลกระทบต่อหัวใจ สมอง และระบบเผาผลาญในร่างกาย
การเปลี่ยนจากนอนกรนธรรมดาเป็นภาวะหยุดหายใจ
อาการนอนกรนธรรมดาอาจพัฒนานำไปสู่ภาวะหยุดหายใจได้ โดยเฉพาะในคนที่มีน้ำหนักเกิน กรามเล็ก ลิ้นโต หรือมีประวัติคนครอบครัวที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน การไม่ใส่ใจอาการเบื้องต้นที่เป็นอยู่ คือทางสู่โรคร้ายที่เราไม่ทันได้รู้ตัว
ผลกระทบของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย
- เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
- ส่งผลต่อระดับออกซิเจนในเลือด ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
- เกี่ยวไปถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน
ส่งผลต่อสุขภาพจิตใจและการใช้ชีวิตประจำวัน
- ง่วงระหว่างวัน เหนื่อยง่าย และสมาธิสั้น
- หงุดหงิดง่าย หรือซึมเศร้า
- คุณภาพชีวิตโดยรวมแย่ลง ทำงานผิดพลาดง่าย
การตรวจการนอนหลับ กุญแจสำคัญในการวินิจฉัย
การตรวจการนอนหลับคืออะไร?
การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) คือกระบวนการตรวจหาโรคหรือความผิดปกติของร่างกายในขณะหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาการนอนกรน โดยใช้อุปกรณ์เทคโยโลยีที่ทันสมัยบันทึกคลื่นสมอง การหายใจ ระดับออกซิเจน และการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะกำลังนอนหลับ
การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test)
สะดวกสบาย ใช้งานง่าย เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง โดยอุปกรณ์จะตรวจระดับออกซิเจน การหายใจหลับ
บทความที่เกี่ยวข้อง ตรวจการนอนหลับ กุญแจสำคัญสู่การนอนหลับที่มีคุณภาพและสุขภาพที่ดีขึ้น
ตรวจการนอนหลับด้วย Belun Ring
อุปกรณ์ขนาดเล็กที่สวมใส่กับนิ้วมือขณะนอนหลับ ใช้งานง่ายและไม่รบกวนการนอนเหมือนเครื่องมือขนาดใหญ่ในห้องแลป เหมาะสำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับแต่ยังไม่พร้อมตรวจแบบ PSG ใช้งานง่าย เพียงสวมใส่ตอนนอน มีความแม่นยำสูงและได้รับการรับรองทางการแพทย์ในหลายประเทศ
ใครควรเข้ารับการตรวจการนอนหลับบ้าง?
สัญญาณที่ควรระวัง
- กรนเสียงดัง สะดุ้งตื่นบ่อยระหว่างคืน
- ง่วงนอนแม้ได้นอนครบ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
- มีคนบอกว่าคุณหยุดหายใจขณะนอนหลับ
ทางเลือกในการรักษา นอนกรน หยุดหายใจ
หลังจากตรวจการนอนหลับแล้วพบว่าคุณมีภาวะนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ที่ VitalSleep Clinic มีให้เลือกหลายแนวทาง มีหลายวิธีที่ใช้ได้ผลดีและสามารถเลือกให้เหมาะกับแต่ละคนได้ เช่น
Myofunctional Therapy
การฝึกกล้ามเนื้อช่องปาก ลิ้น และใบหน้าให้แข็งแรงและทำงานถูกต้อง
- เหมาะกับทุกระดับของอาการ
- ช่วยเสริมกับการรักษาอื่น เช่น CPAP
- ลดพฤติกรรมหายใจทางปากและนอนอ้าปาก
Radiofrequency (RF Bot)
การใช้คลื่นความถี่วิทยุส่งพลังงานไปยังเพดานอ่อนและโคนลิ้น เพื่อลดความหย่อนของเนื้อเยื่อ
- เจ็บน้อย
- ไม่ต้องผ่าตัด
Oral Appliance
โปรแกรมทันตกรรมลดนอนกรน ช่วยดันขากรรไกรล่างให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น
- ใช้งานง่าย น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
- เหมาะกับคนที่เป็น OSA ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง หรือคนที่ไม่ประสบความสบเร็จในการใช้ CPAP
เครื่องช่วยหายใจ CPAP
เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจขณะนอนหลับ เหมาะสำหรับคนที่เป็น OSA ระดับกลางจนถึงรุนแรง
- ลดการหยุดหายใจได้ชัดเจน
- ใช้งานอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพขึ้น
คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
สรุป
“นอนกรน หยุดหายใจ” ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ แต่เป็นปัญหาที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายของเราในระยะยาว การตรวจการนอนหลับจึงเป็นวิธีที่ปลอดภัย แม่นยำ สำหรับใครที่มีอาการนอนกรน เพราะการนอนนอนหลับเต็มที่ในทุก ๆ คืน คือรากฐานของชีวิตที่มีสุขภาพดี