นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร อันตรายไหม แก้นอนกัดฟันอย่างไรเหมาะกับเราที่สุด

นอนกัดฟัน นอนกัดฟันเกิดจาก กัดฟัน นอนกัดฟันรักษา แก้นอนกัดฟัน

นอนกัดฟัน คืออะไร

การนอนกัดฟัน เป็นอาการของผู้ที่มีขากรรไกรทำงานผิดปกติ รู้สึกปวดกราม หรือข้อต่อขากรรไกร 

อาการนอนกัดฟันเป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ มีทั้งรูปแบบกัดฟันรู้ตัวและไม่รู้ตัว ผู้ที่มีพฤติกรรมนอนกัดฟันมักขบเน้น เคี้ยวฟันไปมา มีเสียงคล้ายคนนอนกรน หรืออาจแสดงท่าทางขยับเกร็ง ขากรรไกร ซึ่งเสียงที่เกิดจากการนอนกัดฟันมักสร้างความรำคาญให้คนที่นอนร่วมห้อง อาจบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างคู่สามี ภรรยา จนต้องแยกห้องนอนกัน โดยอาการนอนกัดฟันสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ที่มีฟันและไม่มีฟัน ผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันอย่างรุนแรงอาจนอนกัดฟันได้มากกว่า 100 ครั้งขณะที่หลับ

นอนกัดฟัน นอนกัดฟันเกิดจาก กัดฟัน นอนกัดฟันรักษา แก้นอนกัดฟัน

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดภาวะนอนกัดฟันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยหนึ่งของการนอนกัดฟันที่พบบ่อยที่สุดคือ ความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ การกัดฟันและกรามระหว่างนอนหลับก็เป็นผลจากภาวะเครียดและวิตกกังวลเช่นเดียวกัน นอกจากนี้การรับประทานยาหรืออาหารบางชนิด เช่น คาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ ก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหากัดฟัน รวมไปถึงความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ ฝันร้าย กรนเสียงดัง ละเมอ ง่วงนอนมากตอนกลางวัน หยุดหายใจขณะหลับ หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นใหลตาย

อาการนอนกัดฟัน

รู้ได้อย่างไรว่านอนกัดฟัน เช็คสัญญาณอาการนอนกัดฟัน

เนื่องจากการนอนกัดฟัน จะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และอาจไม่มีเสียงดัง รวมทั้งคนที่นอนกัดฟันมักไม่รู้ตัว จึงทำให้ไม่ทราบว่าตัวเองกัดฟันระหว่างคืนหรือเปล่า วิธีการวินิจฉัยที่ดีที่สุด คือ การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ซึ่งสามารถวัดการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวขณะนอนหลับ นอกจากนี้เรายังสามารถสังเกตอาการที่เป็นผลมาจากการนอนกัดฟันด้วยตัวเอง ดังนี้ 

  • สังเกตว่าตอนตื่นนอน รู้สึกเมื่อยหรือเจ็บบริเวณแก้ม ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
  • เมื่อขยับขากรรไกร มักได้ยินเสียงกระดูกลั่น
  • ติดขัดเมื่ออ้าปากกว้าง การอ้าปากถูกจำกัด
  • บางครั้งมีอาการอ้าปากค้าง หรืออ้าปากแล้วเบี้ยว
  • ฟันมีการสึกกร่อนเพิ่มมากขึ้น ไม่สมกับอายุ
  • ฟันแตกหักจากการบดเคี้ยว
  • นอนหายใจทางปาก
  • ข้อต่อขากรรไกรขยับลำบาก มีอาการข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
  • เจ็บปวดบริเวณหน้าหูและกกหู
  • รู้สึกเสียวฟันเมื่อดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็น
  • เสียงกัดฟันดังระหว่างนอนหลับ จนทำให้คนที่นอนด้วยตื่น

ผลเสียจากการนอนกัดฟัน

ผลเสียจากการนอนกัดฟันอาจต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ผู้ที่นอนกัดฟันบางรายอาจไม่พบอาการใด ๆ ในขณะที่บางรายพบหลายปัญหาสุขภาพ เช่น ปวดศีรษะ ปวดกราม และเสียวฟัน หากปล่อยให้อาการกัดฟันรุนแรงขึ้น อาจทำให้เนื้อฟันเสียหาย ฟันแตกหรือบิ่น และอาจนำไปสู่การสูญเสียฟันได้ ซึ่งปัญหานอนกัดฟันสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ผู้ที่นอนกัดฟันมาเป็นเวลานาน จะมีฟันสึก ฟันบาง รู้สึกเสียวฟัน คอฟันลึกเป็นร่อง หากไม่ได้รับการแก้ไข สามารถส่งผลเสียต่อความสวยงามบนใบหน้าในระยะยาว เช่น ใบหน้าสั้นลง เนื่องจากฟันที่เป็นอวัยวะสำคัญ อาจเปลี่ยนรูปหน้าของผู้ที่มีพฤติกรรมนอนกัดฟัน
  • ฟันอาจบิ่น แตกร้าว หรือสึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้ปวดฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้
  • ปวดเมื่อยล้า ตึงบริเวณใบหน้าหรือข้อต่อขากรรไกร ทำให้อ้าปากลำบาก การขยับขากรรไกรถูกจำกัด ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ และส่งผลให้ข้อต่อขากรรไกรเสื่อมได้ในระยะยาว
  • กระดูกกรามขยายใหญ่จนเป็นปุ่มกระดูกนูนขึ้นมา บางคนมีใบหน้ากางออกเพราะกล้ามเนื้อบริเวณแก้มทั้งสองข้างขยายใหญ่ขึ้น
  • เสียงดังจากการกัดฟัน อาจรบกวนคนที่นอนร่วมด้วยในห้องเดียวกัน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สามี-ภรรยามีปัญหา จนต้องแยกห้องนอนกัน

อาการนอนกัดฟันรักษาอย่างไร

เนื่องจากอาการนอนกัดฟัน ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้อาการนอนกัดฟันรักษาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ผู้ที่มีภาวะนอนกัดฟันควรควบคุมปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้เกิดอาการ ซึ่งมีวิธีแก้นอนกัดฟัน ดังนี้

  • ลดความเครียด วิตกกังวล ไม่ควรทำให้ตัวเองรู้สึกตื่นเต้นก่อนเข้านอน เช่น นั่งสมาธิ ฝึกโยคะ อ่านหนังสือ หรือวาดรูป
  • งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ก่อนเข้านอน
  • ควรรักษาความสะอาดของห้องนอน และมีแสงสว่างไม่มากเกินไปจนรบกวนการนอนหลับ
  • ใส่เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance) เพื่อป้องกันอาการนอนกัดฟัน ในบางกรณีทันตแพทย์อาจกรอ หรือจัดฟันให้อยู่ในสภาพปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันของแต่ละบุคคล
  • รับประทานยาที่ช่วยปรับการนอนหลับ และลดการกัดฟัน

ทั้งนี้ผู้ที่นอนกัดฟันที่เกิดร่วมกับอาการนอนกรน ควรรักษาภาวะนอนกรนควบคู่ไปด้วย เพราะจะทำให้อาการกัดฟันและปวดข้อต่อขากรรไกรดีขึ้น

Full Sleep test

ผู้ที่สนใจอยากรักษาโรคนอนกรน สามารถเข้ารับการตรวจคุณภาพการนอนหลับแบบละเอียด เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของอาการนอนกรนก่อนเข้ารับการรักษาต่อไป ซึ่งการทดสอบการนอนหลับ (Sleep test) คือการตรวจ Polysomnography (PSG) เพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของร่างกายระหว่างการนอนหลับสำหรับการตรวจคุณภาพการนอนหลับ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินผล ตรวจวัดการทำงานของคลื่นสมอง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด ตรวจวัดระบบหายใจ ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ ตรวจความรุนแรงของการหยุดหายใจขณะหลับ ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ตรวจระดับออกซิเจนในแต่ละท่านอน ตรวจความดังของเสียงกรน และตรวจท่านอนที่ทำให้เกิดการหยุดหายใจ รวมถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวขณะนอนหลับ

โดยสรุป การนอนกัดฟันเป็นภาวะผิดปกติในช่องปาก ที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้ที่นอนกัดฟันเป็นประจำควรปรึกษาทันตแพทย์ หรือแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อปรึกษาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด รวมไปถึงแนวทางการป้องกันและลดความเสี่ยงภาวะนอนกัดฟันที่อาจรุนแรงขึ้น การกัดฟันเป็นปัญหาที่ไม่ควรถูกมองข้าม เพราะอาจลุกลามจนรบกวนชีวิตอย่างมาก เมื่อทราบว่าตัวเองมีภาวะนอนกัดฟัน อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ารับการรักษาโดยด่วน

Scroll to Top