หยุดหายใจขณะหลับ ภัยใกล้ตัวที่คุณอาจไม่รู้ตัว

sleep-disordered-breathing

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รีบหยุดมันก่อนจะสายเกินไป

เรามาทำความรู้จักกันก่อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หากมีอาการ การหายใจขณะหลับที่ผิดปกติซึ่งเป็นอาการอย่างหนึ่งของกลุ่มอาการภาวะหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นอันตรายมาก ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจถึงขั้นรุนแรงขึ้นจนสายไป

ไปทำความรู้จักกับภาวะหยุดการหายใจขณะหลับกันเลยค่ะ

หัวข้อย่อย

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดขึ้นได้อย่างไร
อาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
อันตรายภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
รักษาได้อย่างไร

สรุป

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ( Sleep apnea )

เป็นภาวะการหายใจขณะหลับที่ผิดปกติ หรือมีลักษณะหายใจเหมือนกรน พบมากในผู้ที่มีปัญหานอนกรน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะอากาศสามารถไหลเข้าสู่ปอดได้น้อยลง จนถึงขั้นไม่มีอากาศไหลเข้าสู่ปอดเลยเป็นเวลายาวนานถึง 10 วินาที หรืออาจยาวนานกว่านั้นในบางเคส ปัญหาที่ตามมาคือ ออกซิเจนในเลือดต่ำลง ในขณะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดกลับเพิ่มสูงขึ้น อาการเหล่านี้พบได้มากในผู้สูงอายุหรือกลุ่มคนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และอาจพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาจกล่าวได้ว่า โรคหยุดหายใจขณะหลับที่มาร่วมกับอาการนอนกรนเป็นโรคที่อันตราย และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้อาจให้คนใกล้ชิดที่นอนด้วยช่วยกันสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที


ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหลังลำคอคลายตัว ซึ่งกล้ามเนื้อนี้มีหน้าที่รองรับเพดานอ่อน (ลิ้นไก่) ต่อมทอนซิลผนังด้านข้างของลำคอ และลิ้น ขณะที่คุณหลับ กล้ามเนื้อหลังลำคอจะคลายตัวลง และค่อยๆแคบลง จนกระทั่งปิดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง เมื่อสมองของคุณรับรู้ว่าคุณไม่สามารถหายใจได้คุณจะถูกปลุกขึ้นมาโดยอัตโนมัติ เพื่อให้คุณสามารถหายใจได้อีกครั้ง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้มักจะสั้นมากจนคุณจำไม่ได้ สามารถเกิดขึ้นได้ 5 – 30 ครั้ง หรือมากกว่านั้นในแต่ละชั่วโมง ทำให้คุณไม่สามารถหลับได้ลึก และพักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

• นอนกรนเสียงดังมาก หายใจเหมือนกรน และกรนดังเป็นประจำ จนเกิดความรำคาญต่อผู้ที่นอนร่วมด้วย
• มีลักษณะของการกรนแล้วหยุดเป็นพักๆ ตามด้วยอาการเหมือนสำลักขณะนอนหลับ
• หายใจติดขัด หายใจแรง เวลานอน
• รู้สึกนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ตื่นบ่อย
• ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น มีอาการปวดศีรษะ
• ความรู้สึกทางเพศลดลง
• ง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน เช่น ขณะทำงาน หรือหลับในขณะขับรถ
• รู้สึกหงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่ดีบ่อยๆ
• ไม่มีสมาธิ ขี้ลืม

หายใจขณะหลับผิดปกติ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นภาวะผิดปกติทางการหายใจ

อันตรายภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

หากมีอาการรุนแรง ไม่หายใจขณะหลับเป็นเวลานานอาจทำให้เสียชีวิต นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุทำเกิดโรคแทรกซ้อนซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องทำการรักษาและกินยาไปตลอดชีวิต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองทำให้เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต รวมถึงโรคอันตรายอื่นๆ อีกมากมาย และในกรณีร้ายที่สุด อาจทำให้เสียชีวิตขณะหลับ หรือเรียกว่าไหลตายได้

รักษาได้อย่างไร

แพทย์จะทำการวินิจฉัย การตรวจร่างกาย และผลการตรวจการทดสอบสุขภาพการนอน หรือผล Sleep Test
ในส่วนของเครื่องมือเครื่องช่วยหายใจแพทย์หลายๆท่านแนะนำ เครื่องช่วยหายใจ CPAP เพราะ สามารถลดอาการกรนได้จริง และตื่นเช้าในวันถัดมาด้วยความสดชื่นจากการได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอในขณะที่หลับอยู่

CPAP คืออะไร

CPAP แก้กรน เป็นอุปกรณ์แก้นอนกรนชนิดหนึ่ง (ย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure) ซึ่งเป็นการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดวิธีหนึ่งในการรักษานอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea syndrome, OSAS) ก็คือบุคคลที่ไม่หายใจขณะหลับไปชั่วขณะหนึ่ง หรือท่านทีมีอาการหายใจเหมือนกรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง

CPAPแก้กรน เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งในผู้ที่มีภาวะไม่หายใจขณะหลับซึ่งเป็นการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการรักษาหยุดการหายใจขณะหลับ

หลักการทำงาน

อุปกรณ์แก้นอนกรนชนิดนี้ หรือ CPAP หลักการในการรักษา คือ การเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอและโคนลิ้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดตันขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ สามารถหายใจรับอากาศอย่างพอเพียงและหลีกเลี่ยงการหยุดหายใจขณะหลับ  ทำให้นอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน

ส่วนของเครื่องช่วยนอนกรนที่สร้างความดันลม ส่วนของหน้ากาก และสายรัดศีรษะ ส่วนของท่อลม อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ของเครื่องช่วยหายใจ cpap

เครื่องช่วยนอนกรนมีส่วนประกอบและรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร

ปัจจุบันมีเครื่อง CPAP อยู่หลายแบบเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามส่วนประกอบของเครื่องซีแพพ หลักๆ นั้นจะคล้ายกัน ได้แก่
1. ส่วนของเครื่องช่วยนอนกรนที่สร้างความดันลม
2. ส่วนของหน้ากากและสายรัดศีรษะ
3. ส่วนของท่อลม
4. อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ของเครื่องช่วยหายใจ cpap เช่น เครื่องทำความชื้นหรือหน้ากากสำรอง เป็นต้น

วิธีการใช้

CPAP จะเริ่มใช้เฉพาะเวลาที่ท่านกำลังจะนอนหลับ
วิธีการใช้เครื่องเป่าความดันลมนี้ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. เพียงเปิดเครื่องCPAP
  2. เช็คระดับความดันลม
  3. สวมหน้ากาก เพื่อให้ลมเป่าผ่านทางท่อเข้าสู่ทางเดินหายใจอย่างถูกต้อง
  4. แล้วจึงเข้านอน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักใช้เพียง
  5. หน้ากากที่ครอบจมูก (Nasal Mask) แต่บางครั้ง
  6. อาจใช้หน้ากากแบบที่ครอบทั้งจมูกและปาก และน้อยรายมากที่จะใช้หน้ากากครอบเฉพาะบริเวณปากเท่านั้น

ข้อดี-ข้อเสีย ของการรักษา

ข้อดีมีทั้งในระยะสั้น คือ 

  • ท่านจะไม่มีอาการนอนกรนและจะไม่มีอาการหยุดการหายใจขณะหลับหรือไม่หายใจขณะหลับไปชั่วขณะหนึ่งพร้อมกับได้รับอากาศอย่างเต็มที่
  • ตื่นขึ้นมาจะสดชื่น
  • ลดอาการอ่อนเพลีย
  • ความง่วงนอนตอนกลางวันอย่างที่ท่านรู้สึกความแตกต่างได้

ข้อดีในระยะยาว คือ 

  • จะลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนหรืออาการอื่นๆที่เกิดจากการหยุดการหายใจขณะหลับด้วย โดยหากท่านติดตามดูแลกับแพทย์อย่างใกล้ชิดร่วมกับการใช้เครื่องช่วยหายใจ จะมีความเสี่ยงในการรักษาน้อยลง
ข้อเสีย หรือ ผลข้างเคียงจากการใช้ 

ผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่พบบ่อย ๆ  จากการใช้มักเกิดจากเครื่องเป่าอากาศที่ใช้ เช่น

  • อาจไม่พอดีกับโครงหน้าของท่าน ทำให้แน่นไปจนเป็นรอยกดทับ
  • อาจเกิดแผลถลอก หรืออาจหลวมไปจนเกิดความรำคาญ
  • นอกจากนี้การที่ต้องใช้ลมเป่าผ่านจมูกของท่านทุกคืนเป็นเวลานาน ๆ บางรายอาจมีปัญหาเรื่องโรค จมูกหรือไซนัสกำเริบขึ้น
  • ท่านอาจจะรู้สึกไม่ประทับใจในภายแรกที่ได้เห็นหน้ากากว่าไม่ค่อยน่าใช้
  • บางรายทดลองใช้แล้วเกิดความอึดอัด รำคาญทำให้นอนหลับไม่สนิท
  • รวมถึงความไม่สะดวกต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีท่านต้องเดินทางไกลหรือเปลี่ยนสถานที่ นอนหลับบ่อยครั้ง จะพกพาลำบาก เนื่องจากมีขนาดใหญ่
  • นอกจากนี้หลาย ๆ ท่านอาจต้องใช้เครื่อง CPAP ไปตลอดชีวิต ยกเว้นบางรายที่สามารถแก้ที่ต้นเหตุของโรคนอนกรน หรือภาวะหยุดการหายใจขณะหลับได้จึงอาจหยุดใช้เครื่องช่วยนอนกรน(CPAP)ได้ในภายหลัง

สรุป

ภาวะหยุดการหายใจขณะหลับ หรืออาการไม่หายใจขณะหลับไปชั่วขณะหนึ่ง มีอาการหายใจเหมือนกรน หากปล่อยไว้โดยไม่ได้สนใจป้องกันรักษา ก็จะทำให้ยากต่อการรักษาCPAP เป็นตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพตัวหนึ่งที่จะทำให้สุขภาพการนอนหลับของคุณดียิ่งขึ้น CPAPแก้กรน จะช่วยทำให้ไม่รู้สึกเพลียระหว่างวันอีกด้วย นอนกรนเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ เพราะจะทำให้เกิดภาวะหยุดการหายใจขณะหลับตามมา หากคุณหรือใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี ที่ Vital Sleep มีบริการให้คำปรึกษา และรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามเข้ามาได้เลยค่ะ ทุกปัญหาการนอนไว้วางใจ Vital Sleep

Scroll to Top