ผู้หญิงนอนกรนไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
หัวข้อย่อย
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) คืออะไร
สาเหตุอาการนอนกรนในบุคคลทั่วไป
คุณผู้หญิงหลายๆท่านในที่นี้ อาจจะมีเหตุผลที่หลากหลาย ที่ต้องปิดบังว่าเองนอนกรน เช่น คุณอาจจะเขินอาย ไม่กล้าบอกกับผู้อื่น หรือไม่รู้ว่าจะหาวิธีแก้การนอนกรนอย่างไรให้ได้ผล การที่ผู้หญิงนอนกรนนั้นเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถเกิดขึ้น แต่ถ้าคุณไม่ตระหนักถึงความอันตรายของการนอนกรน และไม่หาวิธีแก้การนอนกรนผู้หญิงให้ถูกต้อง อาจจะเลยเถิดจนทำให้คุณเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ หรือ นอนไหลตาย ก่อนที่ทุกท่านจะถามว่าทำไมผู้หญิงนอนกรน สิ่งที่เราต้องความเข้าใจก่อนคือ อาการนอนกรนคืออะไร
อาการนอนกรนคืออะไร
อาการนอนกรน เกิดในขณะนอนหลับ กล้ามเนื้อคอจะผ่อนคลายและหย่อนตัว ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง อากาศที่เคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง จะทำให้เกิดการสั่นของเนื้อเยื่อคอ เช่น ทอนซิล เพดานอ่อน ลิ้นไก่ การสั่นดังกล่าวทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น นอกจากการหย่อนของกล้ามเนื้อคอ ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดการแคบลงหรืออุดตันของทางเดินหายใจ เช่น ต่อมทอนซิลโต ผู้ป่วยที่อ้วนมากอาจมีเนื้อเยื่อผนังคอที่มาก ผู้ป่วยมีลิ้นโต การมีเนื้องอกหรือถุงน้ำของระบบทางเดินหายใจส่วนบน อาการนอนกรนจึงเป็นสัญญาณว่าผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) คืออะไร
ในขณะหลับ นอกจากเกิดอาการกรนแล้ว ยังพบว่า อาจมีการหยุดหายใจร่วมด้วย เมื่อเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ร่างกายจะพยายามหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อให้อากาศผ่านเข้าทางเดินหายใจที่ตีบลง ยิ่งทำให้ทางเดินหายใจแคบขึ้นจนกระทั่งปิดสนิท คล้ายกับการดูดชิ้นของอาหารด้วยหลอด ชิ้นของอาหารจะติดที่ปลายหลอด ทำให้ไม่สามารถผ่านไปได้ อาหารในที่นี้เปรียบเสมือนอากาศนั่นเอง เมื่ออากาศไม่สามารถผ่านทางเดินอากาศที่ปิดสนิท ร่างกายจึงไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อสมองขาดออกซิเจน จะทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นในรูปแบบการหายใจแรงหรือไอแรง เพื่อปรับตำแหน่งของลิ้นใหม่ ในวงรอบของการนอน อาจมีการกรนและภาวะหยุดหายใจหลายครั้ง เป็นผลทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่เพียงพอและสมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ อาจะถึงขั้นนอนไหลตายได้เลยทีเดียว
โดยแท้จริงแล้วผู้ชายจะมีแนวโน้มที่จะนอนกรนมากกว่าผู้หญิง แต่ก็ใช่ว่าผู้หญิงจะไม่มีอาการนอนกรนเลย ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรน ส่วนมากจะมาจากสุขภาพ น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตราฐาน และอายุ เป็นต้น
อาการที่บ่งบอกว่าคุณมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเช็กได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบางบุคคลยากที่จะระบุอาการได้ว่ามีอาการหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้นควรพบแพทย์เมื่อมีอาการข้างต้นดังกล่าว 2-3 ข้อขึ้นไป…
สาเหตุอาการนอนกรนในบุคคลทั่วไป
สาเหตุอาการนอนกรนในบุคคลทั่วไป สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น คนอ้วน ผู้สูงวัย ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคไซนัส หรือโรคจมูกอักเสบ ผู้ที่ทำงานหักโหม หรือออกกำลังกายมากเกินไป หรือแม้แต่ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร โดยทั่วไป ปัญหาที่ทำให้เกิดการกรนคือกล้ามเนื้อคอจะผ่อนคลายและหย่อนตัว ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ถ้าหากไม่รู้วิธีแก้นอนกรนที่ถูกต้อง อาจำให้นอนไหลตายได้เลย
ผู้หญิงนอนกรนเพราะอะไร ?
คุณอาจจะสงสัยว่าผู้หญิงนอนกรนได้ด้วยหรอ แน่นอนผู้หญิงนอนกรนได้เหมือนกับผู้ชาย แต่แค่อัตราเกิดน้อยกว่าเท่านั้นเอง เนื่องจากผู้ชายมีทางเดินหายใจที่แคบมากกว่าผู้หญิง แล้วสาเหตุอะไรที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรน ผู้หญิงนอนกรนเพราะอะไรกัน
- อายุ – เมื่อผู้หญิงอายุมากกว่า 30 ปี ปัญหาการกรนจะเพิ่มขึ้น
- วัยหมดประจำเดือน – หลังจาก PMS ผู้หญิงก็มีแนวโน้มที่จะกรนได้พอๆ กับผู้ชาย
- น้ำหนัก – น้ำหนักที่มากขึ้นจะเพิ่มไขมันส่วนเกินบริเวณคอ ซึ่งอาจทำให้ช่องอากาศแคบลงหรือปิดกั้นบางส่วนได้
- การตั้งครรภ์ – น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้หลอดเลือดในโพรงจมูกขยายตัวซึ่งอาจเป็นปัญหาได้
- OSA – ภาวะหยุดหายใจขณะหลับอุดกั้นซึ่งพบได้ไม่บ่อยในผู้หญิง แต่ก็ยังเป็นปัญหาได้
สาเหตุข้างต้นของผู้หญิงนอนกรนเพราะอะไรมีส่วนทำให้คุณนอนกรน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด คุณควรต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือทำการ Sleep Test ว่าสาเหตุอาการนอนกรนจริง ๆ คืออะไรกันแน่ การกรนไม่เพียงแต่รบกวนคู่นอนของคุณ แต่ยังเป็นสัญญาณของปัญหา ของโรคเบาหหวาน โรคความดัน และอื่นๆอีกมากมาย
แม้ว่าจะมีวิธีแก้การนอนกรนผู้หญิงหลากหลายวิธีทั้งการรักษาแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด แต่ก่อนที่จะเริ่มแก้ไขปัญหานอนกรนนั้นก็จำเป็นที่จะต้องทำการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test ซึ่งเป็นการวิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายขณะการนอนหลับ และคุณภาพการนอนหลับในแต่ละบุคคล เพื่อให้สามารถบอกได้ชัดว่าคุณกำลังประสบปัญหาการนอนหลับใดบ้าง
พิเศษ! สำหรับโปรแกรมตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) แบบ Full Option เพียง 8,800 บาท จากราคาปกติ 13,000 บาท
วิธีแก้นอนกรนผู้หญิง
การจะรักษานอนกรนได้นั้น คุณต้องทราบก่อนว่าสาเหตุหรือผู้หญิงนอนกรนเพราะอะไรมาจากไหน คุณอาจจะประเมินตัวเองเบื้องต้นจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น แต่คุณควรได้รับการวินิจฉัยจากแพท์ผู้เชี่ยวชาญ หรือการทำ Sleep Test เพื่อหาต้นตอของปัญหานอนกรนที่แท้จริง ซึ่งมีวิธีแก้นอนกรนผู้หญิงด้วยกัน 2 แบบ
- วิธีแก้นนอนกรนผู้หญิงแบบผ่าตัด
- วิธีแก้นนอนกรนผู้หญิงแบบไม่ผ่าตัด โดยใช้อุปกรณ์รักษานอนกรน ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย ไร้กังวลดังนี้
- 1. อุปกรณ์แก้นอนกรน iNAP”]ออกแบบมาเพื่อมอบประสบการณ์การนอนหลับที่สบายให้กับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ซึ่งแตกต่างจากเครื่องช่วยนอนกรน หรือ อุปกรณ์แก้นอนกรน CPAP ทั่วไป การรักษาด้วยอุปกรณ์แก้นอนกรน iNAP ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากครอบใบหน้าหรือต้องพกพาเครื่องขนาดใหญ่อย่างเช่นเครื่องมือแก้นอนกรน CPAP
- 2. เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance)”]แก้ปัญหานอนกรน ด้วยฟันยางแก้นอนกรน ครอบฟันแก้นอนกรน จัดเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่นอนกรนหรือ ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับที่ดีอีกวิธีหนึ่ง สามารถใช้โดยง่ายด้วยการให้ผู้ป่วยสวมเครื่องมือในปากขณะนอนหลับ
- 3. อุปกรณ์แก้นอนกรน CPAP”]แพทย์หลายๆ ท่านแนะนำให้แก้โรคนอนกรนด้วยวิธีนี้เพราะ สามารถลดอาการกรนได้จริง และตื่นเช้าในวันถัดมาด้วยความสดชื่นจากการได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอในขณะที่หลับอยู่
- 4. คลื่นความถี่วิทยุ RF”]การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น หรือใช้คลื่นความถี่วิทยุในการรักษาเยื่อบุจมูกบวมหรืออักเสบ เพื่อแก้ปัญหานอนกรน ขั้นตอนการรักษาการกรนทำโดยแพทย์จะใส่เครื่องมือเป็นเหมือนเข็มชนิดพิเศษ
- 5. การฝังพิลลาร์ (Pillar)”]เป็นการรักษาที่นิยมทำในการรักษา อาการนอนกรน (Snoring) และ/หรือ อาการหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea) ที่เป็นไม่มากอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง หรือไม่ใช่อาการนอนกรนแบบอันตราย โดยสอดแท่งเล็ก ๆ 3 แท่ง ซึ่งทำมาจากโพลิเอสเตอร์อันอ่อนนุ่ม เข้าไปในเพดานอ่อน
- 6. การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ(Myofunctional Therapy)”]เป็นนวัตกรรมการแก้นอนกรนที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ เพราะเป็นการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุ เช่น การวางตำแหน่งลิ้นให้ถูกต้อง หรือแม้แต่ช่วยฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรง เพื่อลดการหย่อนคล้อยของอวัยวะภายในจนนำไปสู่ปัญหาอุดกั้นทางเดินหายใจ