หัวข้อย่อย
– นอนกรน ไม่ได้แปลว่าหลับสบาย แต่แปลว่าอันตรายถึงชีวิต
– นอนกรน เลือกวิธีรักษาแบบไหนให้เหมาะสมกับตัวเอง ?
– ทำความรู้จักกับ เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรน
– รักษานอนกรนด้วย เครื่องมือทันตกรรม (Oral appliance)
– บำบัดรักษานอนกรน ไม่ต้องผ่าตัดก็หายกรนได้
ปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ มีของขวัญสุดพิเศษมอบให้กับตัวเองหรือคนที่เรารักและห่วงใยกันหรือยังคะ ? หลายๆคนคงคิดกันไม่ตกเลยใช่ไหม ว่าของขวัญแบบไหนถึงจะเป็นของขวัญที่ดี ที่เราควรจะมอบให้กับคนที่เรารักหรือให้เป็นรางวัลตัวเอง
ของขวัญแบบไหนก็คงดีไม่เท่า “สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” ในปีนี้มีใครบ้างไหมคะที่เจอกับ “ปัญหาการนอนกรน” มาคอยรบกวนการนอนหลับ และยิ่งไปกว่านั้นปัญหาการนอนกรนยังมาคอยรบกวนและทำลายสุขภาพร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA),โรคหลอดเลือดหัวใจ,โรคความดันโลหิตสูง,โรคหลอดเลือดสมอง
จะดีกว่าไหมถ้าเรามอบสุขภาพการนอนหลับที่ดีและสุขภาพร่างกายที่ดีให้เป็นรางวัลกับตัวเองและคนที่เรารัก ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพการนอนหลับ(Sleep Test) โปรแกรมที่จะช่วยทดสอบสุขภาพการนอนหลับและวินิจฉัยความผิดปกติของการนอนหลับ เพื่อใช้ในการรักษาปัญหาภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ และเป็นแนวทางในการหาวิธีแก้นอนกรนที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมไปถึงปัญหาการนอนกัดฟัน และภาวะผิดปกติของการนอนหลับต่างๆ ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับวิธีการรักษานอนกรนแบบฉบับอัปเดตก่อนสิ้นปีกัน
เชื่อเลยว่าหลายๆคนคงมองว่า การนอนกรนไม่ได้มีอันตรายอะไร หรือ การนอนกรนเป็นเพียงเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นเพียงเพราะเราแค่เหนื่อยล้า หรือกำลังหลับสบาย แต่ที่จริงแล้วการนอนกรนเป็นสัญญานของปัญหาสุขภาพที่กำลังบ่งบอกถึงภาวะอันตรายที่กำลังเกิดขึ้น
นอนกรนเป็นสัญญาณเริ่มแรกของปัญหาสุขภาพ เพราะการนอนกรนเป็นภาวะที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การนอนกรนอย่างเป็นประจำจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดภาวะดังกล่าวขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการที่ร่างกายมีการหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้การหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจมีความแปรปรวน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
และอีกหนึ่งผลเสียของการนอนกรนต่อสุขภาพร่างกาย คือการทำให้การนอนหลับไม่มีคุณภาพ เกิดภาวะการนอนพักผ่อนได้อย่างไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบให้มีอาการ ง่วงนอนในตอนกลางวัน ตื่นบ่อยในตอนกลางคืน นอนไม่เต็มอิ่ม และมีอาการคอแห้ง ปวดศีรษะในตอนตื่น และที่สำคัญในเด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ(OSA) อาจทำให้เด็กๆมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาที่ผิดปกติ มีพฤติกกรรมก้าวร้าว ปัสสาวะรดที่นอน มีผลการเรียนที่แย่ลง สมาธิสั้นซุกซนอยู่ไม่นิ่ง
นอนกรน เลือกวิธีรักษาแบบไหนให้เหมาะสมกับตัวเอง ?
การรักษาปัญหาการนอนกรนสามารถรักษาได้หลายวิธีโดยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ซึ่งหลายๆคนอาจมีข้อสงสัยกันว่า แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าตัวเองต้องรักษาด้วยวิธีไหนในเมื่อวิธีแก้นอนกรนมีหลากหลายรูปแบบทั้งการผ่าตัด การใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม รวมไปถึงการบำบัดรักษาอาการกรน
วิธีการเลือกรักษานอนกรนให้เหมาะสมกับตัวเอง จะต้องทำการประเมินโดยการตรวจการนอนหลับ( Sleep Test) เพื่อวัดระดับของปัญหาและอาการที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดที่สุด เพื่อหาสาเหตุของปัญหาการนอนกรนที่เกิดขึ้น และใช้เป็นแนวทางในการประเมินเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม โดยวิธีการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคลจะต้องถูกประเมินโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้ผลลัพธ์การรักษามีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด
อ่านเพิ่มเติม
ตรวจการนอนหลับ Sleep Test บอกอะไรได้บ้าง ?
ทำ Sleep Test (Sleep apnea test) ตรวจการนอนหลับ ทดสอบการนอนหลับ การนอนกรน วินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรคภาวะหยุดหายใจชนิดอุดกั้น
ทำความรู้จักกับ เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรน
เรามาเริ่มต้นกันด้วยวิธีการรักษานอนกรน ด้วยเครื่องช่วยหายใจนอนกรนกัน หลายๆคนอาจจะกำลังสงสัยกันว่า เครื่องที่กล่าวมานั้นคืออะไร ? ถ้าจะเรียกชื่อที่คุ้นหู หรือ ชื่อที่คนนิยมเรียก ก็คงจะต้องเรียกว่า เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือ CPAP
โดยหลักการทำงานของเครื่องแก้อาการนอนกรนนี้ สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆคือ ตัวเครื่องช่วยแก้นอนกรน จะผลิตแรงดันลม และใช้แรงดันลมที่ผลิตขึ้นจากตัวเครื่องส่งผ่านทางท่อลมไปยังหน้ากากที่ครอบจมูก เพื่อทำการส่งแรงดันลมไปช่วยขยายทางเดินหายใจที่ถูกปิดกั้น จากการหย่อนตัวลงของกล้ามเนื้อต่างๆภายในช่องคอ ซึ่งจะส่งผลให้ทางเดินหายใจสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกมากขึ้นในขณะนอนหลับ แก้ไขอาการกรนและการหยุดหายใจขณะหลับ
ข้อดีของการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP)
– เห็นผลลัพธ์ชัดเจน เห็นผลลัพธ์ได้ตั้งแต่เริ่มใช้
– แก้ไขปัญหานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในระดับที่รุนแรง
– การนอนหลับมีคุณภาพมากขึ้น นอนหลับได้เต็มอิ่ม
– ลดอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน
– ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ
เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก(CPAP) เป็นวิธีแก้นอนกรนที่ค่อนข้างเป็นที่นิยม และได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดี ซึ่งตัวเครื่อง CPAP นั้น จะมีหลากหลายรุ่นและหลากหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นรุ่น Auto ที่สามารถปรับค่าแรงดันลมได้เองอัตโนมัติในช่วงที่กำหนดไว้ หรือ รุ่น Manual ที่จะทำงานตามการตั้งค่าที่ตั้งไว้อย่างเหมาะสม ดังนั้นเครื่องช่วยหายใจนอนกรนราคาจึงมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละยี่ห้อและรุ่นที่มี
ฟังก์ชั่นการใช้งานที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเลือกใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก(CPAP) ควรมีแพทย์เฉพาะทางให้คำปรึกษาแนะนำตลอดขั้นตอนการเลือกรุ่นที่เหมาะสมสำหรับการรักษาและการติดตามการใช้งาน
อ่านเพิ่มเติม
cpap แต่ละยี่ห้อต่างกันยังไง และเหมาะกับใคร
เครื่องช่วยหายใจ หรือ cpap แต่ละชนิดขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วยและความรุนแรงของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อพิจารณาทางเลือกการรักษา
รักษานอนกรนด้วย เครื่องมือทันตกรรม (Oral appliance)
การรักษาอาการนอนกรนด้วยที่ครอบฟันยางนอนกรน หรือ ที่หลายๆคนจะรู้จักกันในชื่อ เครื่องครอบฟัน Oral Appliance เป็นอีกหนึ่งในวิธีการรักษานอนกรนที่เป็นที่นิยม เนื่องจากตัวเครื่องมือมีขนาดเล็กทำให้การใช้งานมีความสะดวกสบายและคล่องตัวมากขึ้น สามารถพกพาได้อย่างสะดวก
โดยตัวเครื่องมือ Oral Appliance เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับสวมใส่ในช่องปากและครอบฟันในขณะนอนหลับ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้โคนลิ้น หรือ เนื้อเยื่อภายในช่องคอเกิดการหย่อนตัวลงและปิดกั้นทางเดินหายใจในขณะหลับ ตัวเครื่องมือจะช่วยจัดตำแหน่งของลิ้นและขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้นในขณะนอนหลับ ช่วยลดอาการนอนกรนและป้องกันการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การเลือกเครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance) ให้เหมาะสมกับระดับความรุนแรงและอาการที่เกิดขึ้น ควรอยู่ในการดูแลแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิด ซึ่งฟันยางนอนกรนราคาจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น ที่มีความแตกต่างกันจากวัสดุที่ใช้ในการผลิต รวมไปถึงฟังก์ชั่นการใช้งาน และความสะดวกสบายในการใช้งาน
ข้อดีของเครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance)
– เครื่องมือมีขนาดเล็ก
– พกพาง่าย สะดวกสบาย
– สวมใส่ง่าย เพียงแค่ใส่ครอบฟันขณะหลับ
– ลดเสียงกรนขณะนอนหลับ ให้คนข้างๆได้หลับสบาย
– ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
อ่านเพิ่มเติม
เครื่องมือทันตกรรมเปิดทางเดินหายใจ เครื่องมือครอบฟัน ที่ครอบฟันแก้กรน ฟันยางแก้นอนกรน แก้ไขการนอนกรน รักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัด
บำบัดรักษานอนกรน ไม่ต้องผ่าตัดก็หายกรนได้
เป็นวิธีการรักษาปัญหาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยโปรแกรมบำบัดกล้ามเนื้อบนใบหน้าและทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therpy) โดยจะมุ่งเน้นไปในส่วนของการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อลิ้น กล้ามเนื้อปาก ขากรรไกร และกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเหล่านี้เกิดการทำงานที่ผิดปกติในขณะนอนหลับ หรือป้องกันการคลายตัวของกล้ามเนื้อซึ่งนำไปสู่การเกิดการปิดกั้นทางเดินหายใจในขณะหลับ
ในบทความงานวิจัยที่มีชื่อว่า : Myofunctional Therapy to Treat Obstructive Sleep Apnea: A Systematic Review and Meta-analysis ได้มีการศึกษาถึงวิธีการรักษาปัญหานอนกรนและภาวะการหยุดหายใจในขณะหลับ จากกลุ่มผู้ทดลองในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ โดยใช้วิธีการรักษาด้วยโปรแกรม Myofunctional Therpy ซึ่งผลลัพธ์ในงานวิจัยได้สรุปไว้ว่า ปัญหาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ ลดลงถึง 62% ในวัยเด็ก และ 50% ในวัยผู้ใหญ่ จากการรักษาด้วยโปรแกรม Myofunctional Therapy
ข้อดีของการรักษานอนกรนด้วยการบำบัด
– เป็นวิธีการรักษาปัญหานอนกรนที่ต้นเหตุเพียงวิธีเดียว
– ปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยง สามารถรักษาได้ทุกวัย
– ป้องกันปัญหาแทรกซ้อนในระยะยาว
– ฝึกบำบัดเพียงวันละ 1-2 ชั่วโมง
– ไม่ต้องใส่อุปกรณ์ขณะนอนหลับ หรือ อาจสวมใส่อุปกรณ์ทางทันตกรรม Myobrace ในขณะนอนหลับร่วมด้วย เพื่อช่วยให้การบำบัดมีผลลัพธ์ดีมากยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติม
Myofunctional Therapy รักษานอนกรน แก้นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ
Myofunctional Therapy เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมในการใช้รักษาอาการนอนกรน แก้นอนกรน รักษานอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
สรุป
การรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีวิธีการรักษาที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องแก้นอนกรน การใช้เครื่องมือทางทันตกรรม หรือ การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า ซึ่งการที่จะเลือกวิธีแก้นอนกรนที่เหมาะสมกับตัวเอง จะต้องทำการตรวจสุขภาพการนอนหลับด้วย
โปรแกรม(Sleep Test) เพื่อตรวจถึงปัญหาการนอนหลับที่ผิดปกติอย่างละเอียดและแม่นยำ เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางสามารถนำผลจากการตรวจมาประเมินถึงอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้น สำหรับวางแผนและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล