อ้าปากเเล้วปวดกราม สัญญาณโรคข้อต่อขากรรไกรค้าง
หัวข้อย่อย
– ข้อต่อขากรรไกรค้าง เกิดขึ้นจากสาเหตุใด
– อาการข้อต่อขากรรไกรค้างแบบใด ที่ควรรีบพบเเพทย์
– ระยะอาการของโรคข้อต่อขากรรไกรค้าง
ข้อต่อขากรรไกรค้าง เกิดขึ้นจากสาเหตุใด
ภาวะข้อต่อขากรรไกรค้างเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อข้อต่อขากรรไกรเกิดการทำงานที่ผิดปกติไปจากเดิม มีลักษณะที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว ไม่ตอบสนองต่อการสั่งการให้เคลื่อนไหวอย่างปกติ ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับระบบกระดูก ข้อต่อ เอ็น เเละกล้ามเนื้อใบหน้าที่ทำหน้าที่บดเคี้ยว โดยส่งผลกระทบต่อการทำงานของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการรับผิดชอบการเคลื่อนไหวบริเวณขากรรไกรมีการทำงานอย่างผิดปกติ จึงส่งผลทำให้เกิดปัญหาข้อต่อขากรรไกรค้างเวลาอ้าปากกว้าง หาว รับประทานอาหาร หรือเเม้เเต่ขณะพูดคุย เเละในบางรายอาจเกิดปัญหาเจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกรร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุของภาวะข้อต่อขากรรไกรค้างสามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้
พฤติกรรมการใช้งานขากรรไกรที่ไม่ถูกต้อง : การเคี้ยวอาหารโดยใช้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวเพียงข้างเดียว การกัดและเค้นฟันอย่างเป็นประจำ การอ้าปากที่กว้างมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน รวมถึงการนอนกัดฟันเป็นประจำ
ความผิดปกติของโครงสร้างขากรรไกรเเต่กำเนิด : มีลักษณะของโครงสร้างใบหน้าเเละขากรรไกรที่ไม่สมดุลกัน เช่น ขากรรไกรล่างเอียง ฟันสบกันผิดปกติ
อุบัติเหตุ : ถูกกระเเทกโดยตรงบริเวณข้อต่อขากรรไกรจากอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือ การเคี้ยวอาหารโดนของเเข็งโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น เคี้ยวเม็ดกรวด เคี้ยวกระดูก หรือเปลือกเเข็งต่างๆ
ความเครียดสะสม : ปัจจัยจากสภาวะทางจิตใจที่เเตกต่างกันออกไปในเเต่ละบุคคล เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะข้อต่อขากรรไกรค้างขึ้นได้ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เป็นกลุ่มที่มักจะมีภาวะโรคซึมเศร้า (depression) เเละความวิตกกังวล (anxiety) เเทรกซ้อนเกิดขึ้นร่วมด้วยมากกว่ากลุ่มคนทั่วไป ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าความเครียดที่สะสมเเละโรคเเทรกซ้อนเหล่านี้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความเครียดมีความตึงตัวเเละทำงานผิดปกติ
ปัจจัยโรคประจำตัว : เช่น โรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบ (TMD) โรคบาดทะยัก (Tetanus) โรคมะเร็งบริเวณศีรษะเเละคอ โรคทอนซิลอักเสบ โรคคางทูม
อ่านเพิ่มเติม : ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เกิดจากอะไรกันนะ?
ระยะอาการของโรคข้อต่อขากรรไกรค้าง
ภาวะปัญหาข้อต่อขากรรไกรค้างที่เกิดขึ้น สามารถจำเเนกเเบ่งออกได้จากลักษณะอาการเเละความรุนเเรงที่เกิดขึ้นเป็น 3 ระยะ โดยมีดังนี้
ระยะที่ 1
- เริ่มรู้สึกปวดบริเวณขากรรไกร หน้าหู ขมับ
- มีเสียง “คลิก” ดังขึ้นเวลาขยับขากรรไกร
- กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ขากรรไกร มีอาการตึงตัวมากกว่าปกติ
ระยะที่ 2
- ปวดข้อต่อขากรรไกรบ่อยมากขึ้น
- อ้าปากได้ไม่เต็มที่
- ขากรรไกรค้าง อ้าปากเเล้วหุบลงไม่ได้
ระยะที่ 3
- ปวดข้อต่อขากรรไกรอย่างรุนเเรง
- ขากรรไกรล็อก/ค้าง ขยับไม่ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง
- ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว ขากรรไกรมีลักษณะผิดปกติ
- กลืนอาหารลำบาก ขากรรไกรถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
- เกิดเสียง “กร็อก” ดังขึ้น ทุกครั้งเวลาขยับขากรรไกร
อาการข้อต่อขากรรไกรค้างแบบใด ที่ควรรีบพบเเพทย์
หลายๆคนที่เคยเกิดปัญหาอาการ “ข้อต่อขากรรไกรค้าง” ไม่สามารถอ้าปากหรือปิดปากได้ ในบางรายอาจใช้ระยะเวลาเพียงเเค่สั้นๆในการกลับมาขยับหรือควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อขากรรไกรได้อย่างเป็นปกติ เเต่ในบางรายอาจใช้ระยะเวลาที่นานหรือไม่สามารถหายได้ด้วยตนเอง ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อรีบรักษาเเละป้องกันไม่ให้อาการรุนเเรงก่อนสายเกินเเก้ โดยตามคำแนะนำ หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ควรรีบปรึกษาเเพทย์โดยด่วน
ขากรรไกรค้างหรือล็อก : มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อขากรรไกร โดยอาจเกิดอาการอ้าปากเเล้วกรามค้างไม่สามารถปิดปากลงได้ โดยหากเกิดอาการนี้ขึ้น ไม่ควรรอจนปัญหาเกิดขึ้นบ่อยครั้งก่อนจึงพบเเพทย์ ควรรีบเข้าปรึกษาพบเเพทย์ตั้งเเต่เนิ่นๆตั้งเเต่เริ่มเกิดอาการดังกล่าว
อ้าปากได้ไม่เต็มที่ : ข้อต่อขากรรไกรถูกจำกัดความเคลื่อนไหว ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่สามารถอ้าปากกว้างได้ตามปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหาร การพูดคุย หรือการใช้ชีวิตประจำวัน
ปวดขากรรไกรอย่างรุนเเรง : หากเริ่มรู้สึกถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อขากรรไกร อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เกิดขึ้นได้จากภาวะข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ซึ่งควรรีบทำการรักษาก่อนที่อาการปวดจะเพิ่มระดับความรุนเเรงมากจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือปวดจนทนไม่ไหว
ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว : ใบหน้าเกิดลักษณะที่ผิดรูป โดยอาจมีลักษณะที่สามารถสังเกตจากภายนอกได้ เช่น มีใบหน้าที่เบี้ยวผิดรูปไป หรือเกิดอาการปากเบี้ยวในขณะที่ยิ้ม อ้าปาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากกล้ามเนื้อขากรรไกรที่มีความตึงตัวที่มากเกินไป หรือ ขากรรไกรเคลื่อนที่ผิดตำแหน่ง
กลืนอาหารลำบากมากกว่าปกติ : เริ่มเกิดปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหารลงคอที่ยากลำบากมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณของปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบอย่างรุนเเรง
สัญญาณเพิ่มเติมที่ควรรีบพบเเพทย์
– มีเสียงดัง “คลิก” หรือ “กร๊อก” ทุกครั้งที่ขยับขากรรไกร
– รู้สึกตึงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและขากรรไกรเป็นเวลานาน
– ปวดศีรษะ คอ ไหล่ หรือหลังบ่อยๆ
– มีเสียงดังในหู เวียนหัว หรือมีปัญหาการนอนหลับ
– เคี้ยวอาหารลำบาก
– ฟันสึกหรอมากผิดปกติ
อ่านเพิ่มเติม : โรคข้อต่อขากรรไกร เช็กสักนิดก่อนจะสาย
อันตรายเเละโรคเเทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ภาวะข้อต่อขากรรไกรค้าง (TMJ) เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบเกี่ยวกับการทำงานของข้อต่อขากรรไกร โดยมีความเกี่ยวข้องกับ ข้อกระดูก เอ็น เเละกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อต่อขากรรไกร ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด เเละจำกัดการเคลื่อนไหวของขากรรไกร ในกรณีที่ร้ายเเรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
หนึ่งในอาการเเทรกซ้อนที่รุนเเรงเเละอันตรายที่สุดของ ภาวะข้อต่อขากรรไกรอักเสบ คือการติดเชื้อของกระดูกเเละข้อต่อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการเเพร่กระจายตัวของเเบคทีเรียไปยังบริเวณข้อต่อขากรรไกร เเละนำไปสู่การเกิดปัญหาอาการ ปวด บวม หนอง ซึ่งในระยะยาวหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายเเรงเเทรกซ้อน เช่น กระดูกเสียหาย การสูญเสียฟัน เเละนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
โรคเเละภาวะเเทรกซ้อนอื่นๆของ ภาวะข้อต่อขากรรไกรค้าง ได้เเก่
ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ : อาการข้อต่อขากรรไกรค้างเป็นหนึ่งในอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากภาวะข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ดังนั้นหากเกิดภาวะข้อต่อขากรรไกรค้างขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกได้ว่าคุณกำลังมีปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
ปัญหาการหายใจ : ข้อต่อขากรรไกรเป็นข้อต่อที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับกล้ามเนื้อที่ใช้ช่วยในการหายใจในส่วนของทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งการที่ข้อต่อขากรรไกรเกิดการทำงานที่ผิดปกติ มีการเคลื่อนไหวอย่างไม่ถูกต้อง อาจส่งผลกระทบต่อรูปแบบวิธีการหายใจ เเละนำไปสู่ปัญหาด้านการหายใจ
เส้นประสาทเสียหาย : ในกรณีที่เกิดภาวะข้อต่อขากรรไกรค้างอย่างรุนเเรง อาจส่งผลกระทบไปสู่เส้นประสาทบริเวณใบหน้าให้เกิดความอ่อนแรงลง หรือ สูญเสียความรู้สึกได้ เนื่องจากบริเวณข้อต่อขากรรไกรเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับเส้นประสาทบนใบหน้าหลากหลายเส้น
ปัญหาทางการได้ยิน : ข้อต่อขากรรไกรเป็นจุดที่เชื่อมติดกับบริเวณกระดูกหู ดังนั้นอาจส่งผลให้กระดูกบริเวณหูเกิดความเสียหายขึ้นได้ เมื่อมีภาวะข้อต่อขากรรไกรอักเสบ และเป็นหนึ่งในปัจจัยให้เกิดความสูญเสียทางการได้ยิน
ปัญหาด้านการนอนหลับ : อาการปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือ กราม อาจส่งผลกระทบให้เกิดความไม่สบายตัวในขณะนอนหลับ มีอาการปวดตึงบริเวณใบหน้า กราม ขากรรไกร นำไปสู่การเกิดภาวะนอนไม่หลับ เเละเกิดปัญหาด้านสุขภาพต่างๆจากการนอนพักผ่อนที่ไม่มีคุณภาพตามมา
โรคกระดูกพรุน : เมื่อเกิดปัญหาภาวะข้อต่อขากรรไกรค้างเเละไม่ได้ใช้งานเคลื่อนไหวอย่างถูกต้องเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง สามารถส่งผลกระทบต่อมวลกระดูก ซึ่งทำให้เกิดปัญหากระดูกพรุน
เวียนหัว ปวดศีรษะเรื้อรัง : กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าขากรรไกรที่เกิดการเกร็งหรือตึงตัวมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกปวดหัว หรือปวดบริเวณขมับ ทำให้สามารถเกิดปัญหาปวดศีรษะเรื้อรังขึ้นได้
โรคไซนัสอักเสบ : การอ้าปาก หรือ เคลื่อนไหวที่ถูกจำกัดของข้อต่อขากรรไกร ส่งผลกระทบต่อการระบายอากาศในบริเวณของโพรงจมูก
เกิดพังผืดในกล้ามเนื้อ : การเกร็งตัวของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลกระทบให้เกิดพังผืดขึ้นในกล้ามเนื้อ
อ่านเพิ่มเติม : ภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
ป้องกันยังไง ไม่ให้เกิดข้อต่อขากรรไกรค้าง
ภาวะข้อต่อขากรรไกรค้างสามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลากหลายสาเหตุทั้งพฤติกรรมส่วนตัวในชีวิตประจำวัน การใช้งานข้อต่อขากรรไกรอย่างผิดวิธี ปัจจัยทางกายภาพของโครงสร้างใบหน้า รวมถึงผลกระทบจากอุบัติเหตุ โดยวิธีการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาข้อต่อขากรรไกรค้าง สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ดังนี้
- ไม่เคี้ยวอาหารโดยใช้กรามเพียงข้างเดียว
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เเข็งเกินไป
- พักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมทำลดความเครียด
- หลีกเลี่ยงการขบฟัน ดูดนิ้ว กัดฟัน
- บริหารกล้ามเนื้อขากรรไกรอย่างเป็นประจำ
คำเเนะนำข้างต้นเป็นวิธีการสำหรับปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงเเละป้องกันไม่ให้เกิดภาวะข้อต่อขากรรไกรค้าง เเต่หากเมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นเเล้วควรรีบพบเเพทย์เพื่อเข้ารับคำแนะนำเเละรับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ซึ่งวิธีการรักษาภาวะข้อต่อขากรรไกรค้างจะขึ้นอยู่กับอาการเเละความรุนเเรงที่เเตกต่างกันออกไปในเเต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับการประเมินของเเพทย์ วิธีการรักษาในเบื้องต้นอาจสามารถแบ่งจำเเนกออกเป็น 4 วิธี ได้ดังนี้
1.การรักษาด้วยยา
เป็นวิธีการรักษาในเบื้องต้นสำหรับในกลุ่มผู้ที่ยังมีอาการอยู่ในระดับเริ่มต้น ยังไม่ได้อยู่ในระดับที่มีความอันตรายรุนเเรง ซึ่งอาจใช้การรับประทานยาเพื่อช่วยเเก้ไขรักษาปัญหา
ยาคลายกล้ามเนื้อ : ช่วยผ่อนคลายลดความเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
ยาเเก้ปวด : ช่วยรักษาบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน
ยาต้านการอักเสบ : ช่วยลดอาการอักเสบของข้อต่อขากรรไกร
2.กายภาพบำบัด
ฝึกการบริหารใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรให้ถูกต้อง เพื่อช่วยส่งเสริมให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นที่มากขึ้น เเละเพิ่มความเเข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อขากรรไกร ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณรอบๆข้อต่อขากรรไกรมีการทำงานที่สมดุลมากขึ้น กล้ามเนื้อมีความเเข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักเเละเเรงกระเเทกจากข้อต่อขากรรไกรได้มากขึ้น เป็นวิธีการรักษาที่มุ่งเน้นไปในส่วนของการปรับปรุงรูปแบบการใช้งานของกล้ามเนื้อขากรรไกรให้เกิดความถูกต้องเหมาะสม ซึ่งจะช่วยรักษาเเละเเก้ไขปัญหาอาการข้อต่อขากรรไกรค้าง โดยสามารถฝึกการกายภาพบำบัดลดอาการข้อต่อขากรรไกรค้างได้ด้วย โปรเเกรม Myofunctional Therapy
อ่านเพิ่มเติม : นอนกรนรักษาด้วยการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ Myofunctional Therapy
3.การรักษาด้วยอุปกรณ์ทางทันตกรรม Myosa
เป็นวิธีการใช้อุุปกรณ์ทางทันตกรรมเพื่อช่วยลดอาการปวด อักเสบ เเละลดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของข้อต่อขากรรไกร ซึ่งการใส่ตัวอุปกรณ์ทางทันตกรรมจะช่วยลดเเรงกระเเทกจากข้อต่อขากรรไกร รวมถึงเเรงกระเเทกจากการใช้งานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว นอกจากนี้ยังช่วยให้ขากรรไกรอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้การทำงานเป็นไปได้อย่างถูกต้อง โดยจะช่วยลดปัญหาอาการอักเสบของข้อต่อขากรรไกร รวมทั้งลดอาการข้อต่อขากรรไกรค้าง
อ่านเพิ่มเติม : ขากรรไกรมีเสียงหรือขากรรไกรอักเสบสาเหตุคืออะไร