หัวข้อย่อย
นอนกัดฟัน (Bruxism) สามารถเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด การนอนที่ไม่มีคุณภาพ หรือปัญหาทางสุขภาพ การรักษานอนกัดฟันนี้อาจต้องใช้วิธีที่หลากหลายขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของปัญหา มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการกัดฟันหรือบดเคี้ยวที่เกี่ยวข้องกับการกัด โดยมักเกิดขึ้นขณะที่คนกำลังหลับหรือขณะเคลื่อนไหวในระหว่างการนอนทำให้การนอนกัดฟัน กระทบทั้งสุขภาพการนอนของเรา ข้อต่อขากรรไกร และเนื้อฟันของเราอีกด้วย
นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร
1. ความเครียด
เมื่อเรารู้สึกเครียด อาจทำให้ร่างกายเกิดการเกร็งกล้ามเนื้อขึ้น รวมไปถึงกล้ามเนื้อกราม หรือกล้ามเนื้อบดเคี้ยวด้วย จึงอาจทำให้เกิดเป็นการนอนกัดฟันได้
2. หยุดหายใจขณะหลับ
การหยุดหายใจขณะหลับ จะทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ หรือหายใจไม่ออก และนำไปสู่การกัดฟันเพื่อเปิดทางเดินหายใจ ให้สามารถกลับมาหายใจได้
3. สบฟันไม่ปกติ
การสบฟันที่ไม่ปกติ หรือไม่เหมาะสม จะทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวของเราทำงานหนักเพื่อให้ฟันสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ ทำให้กล้ามเนื้อฉีดขาด หรือบาดเจ็บได้ ทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อ และเกิดเป็นการนอนกัดฟัน
Check List อาการแบบไหน เสี่ยง นอนกัดฟัน
หากใครที่นอนคนเดียว หรือสงสัยว่าตัวเองกำลังนอนกัดฟันอยู่หรือเปล่า ลองสังเกตอาการของตัวเอง หากมีอาการดังนี้ คุณอาจจะนอนกัดฟันอยู่ก็ได้
1. ตื่นขึ้นมาแล้วเมื่อยกราม หรือปวดกราม
หากตื่นขึ้นมาแล้วปวดกราม อาจเป็นเพราะการนอนกัดฟัน ทำให้เกิดการเมื่อย หรือปวดกรามได้ และการสามารถกลายเป็น “ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ” หรือ temporomandibular joint disorder (TMD) ได้ในที่สุด
2. รู้สึกปวดหัว หรือปวดบริเวณหน้าหู
ปวดหัว หรือปวดบริเวณหน้าหู เป็นอาการของ “ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ” หรือ temporomandibular joint disorder (TMD) ซึ่ง อาจเกิดจากการนอนกัดฟันในระยะยาว
3. รู้สึกเสียวฟัน หรือปวดฟัน
การนอนกัดฟัน จะเพิ่มความรู้สึกเสียวฟัน หรือปวดฟัน เมื่อดื่มน้ำร้อน หรือน้ำเย็น และอาจมีเหงือกอักเสบร่วมด้วย ในระยะยาว อาจทำให้ฟันเสียหาย ทำให้ต้องทำครอบฟัน เมื่อเนื้อฟันของเราเสียหายไป หรืออาจต้องถอนฟันทิ้ง เมื่อฟันเสียหายหนัก
4. กระดูกมุมกราม หรือกระดูกโครงหน้ามีปุ่มนูน
การนอนกัดฟัน จะทำให้กระดูกโครงหน้า หรือมุมขากรรไกรมีปุ่มกระดูกนูนออกมา ทำให้โครงหน้าดูเหลี่ยม และใหญ่ขึ้น
5. อ้าปากกว้างไม่ได้
รู้สึกปวด หรือหรือขากรรไกรค้าง เมื่อกินอาหารคำใหญ่ๆ หาว หรืออ้าปากกว้างๆ เป็นเพราะข้อต่อขากรรไกรอักเสบ หรือ temporomandibular joint disorder (TMD) ซึ่งอาจเกิดจากการนอนกัดฟันในระยะยาว
อ่านต่อ นอนกัดฟันกรอด ๆ ตื่นมาแล้วปวดหัวตลอดเพราะแบบนี้หรือเปล่า ?
ข้อเสียของการนอนกัดฟัน
1. ฟันบิ่น ฟันแตก
เมื่อนอนกัดฟัน เกิดขึ้นในระยะยาว จะทำให้เนื้อฟันค่อยๆสึกลงไป และจะทำให้ฟันเสียรูป หรือแตกได้ในที่สุด
2. ทำให้เป็นข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
การนอนกัดฟัน จะทำให้เกิดแรงกระทบต่อกล้ามเนื้อบดเคี้ยว และขากรรไกรของเรา ทำให้เกิดเป็น “ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ” หรือ temporomandibular joint disorder (TMD) ได้
3. ทำให้โครงหน้าเปลี่ยน
การนอนกัดฟันในระยะยาว จะทำให้กระดูกมุมกรามของเรามีปุ่มนูนออกมา ซึ่งจะทำให้ใบหน้าเหลี่ยม และใหญ่ขึ้น เพื่อรับแรงกระทบของการนอนกัดฟัน
4. ทำให้การนอนหลับไม่มีคุณภาพ
เพราะการนอนกัดฟัน จะทำให้สมองตื่นตัวอยู่ตลอด ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างแท้จริง
5.ส่งเสียรบกวนคนข้างๆ
การนอนกัดฟัน ทำให้เกิดเสียงรบกวนคนข้างๆได้ ไม่แพ้คนที่นอนกรนเลย อาจทำให้ความสัมพันธ์แย่ลงได้ในระยะยาว
วิธีแก้นอนกัดฟัน
อาการนอนกัดฟัน สามารถรักษา และป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น หรือการใช้ Splint ฟัน เพื่อลดแรงกดกระแทกของการกัดฟันขณะนอนหลับ โดยทั้งสองวิธี ควรได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
1. การใช้เฝือกสบฟัน หรือ Splint ฟัน (Occlusal Splint)
การใช้เฝือกสบฟัน หรือ Splint ฟัน (Occlusal Splint) สามารถช่วยกระจายแรงกดกระแทกของการกัดฟันขณะนอนหลับได้ดี และช่วยลดอาการเมื่อยกราม หรือกล้ามเนื้อบดเคี้ยว แต่ก็เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ หรือเป็นการป้องกันไม่ให้เนื้อฟันแตกหรือเสียหายเท่านั้น
โดยการใช้การใช้เฝือกสบฟัน หรือ Splint ฟัน (Occlusal Splint) บางชนิด อาจทำให้ขากรรไกรเจริญเติบโตผิดปกติได้ ในเด็ก เพราะต้องใส่ในขณะนอนหลับ ทำให้ช่วงแรกๆอาจจะทำให้นอนไม่ค่อยหลับ หรือนอนหลับยาก
2. การรักษาโดยการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy)
สำหรับใครที่นอนกรนอยู่ อาจจะรู้จักการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy) ว่าเป็นการบำบัดเพื่อลดอากานอนกรน และลดอัตราการหยุดหายใจขณะหลับ แต่การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy) ก็สามารถรักษาการนอนกัดฟันได้เช่นกัน
โดยการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy) สามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อบดเคี้ยวลง ทำให้สามารถลดความเครียดของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวได้ และยังช่วยปรับการสบฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการนอนกัดฟันได้อีกด้วย จึงเป็นวิธีที่เหมาะกับการรักษานอนกัดฟันที่สุด
อ่านต่อ อันตรายถึงชีวิต รีบรักษานอนกัดฟัน ก่อนเกิดโรคแทรกซ้อน
สรุป
สำหรับการรักษานอนกัดฟัน อาจจำเป็นจะต้องทำทั้งสองวิธีนี้ร่วมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันบิ่น หรือแตกไปก่อน โดยใช้เฝือกสบฟัน หรือ Splint ฟัน (Occlusal Splint) และควรรักษาโดยการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy) ร่วมด้วยเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดี และได้ผลมากยิ่งขึ้น โดยการรักษานี้ ควรทำร่วมกับการตรวจการนอนหลับ หรือ sleep lab เพื่อตรวจเช็คความผิดปกติ และสาเหตุของอาการ ทั้งยังจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาโดยนักกายภาพบำบัด และแพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด
“เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่การนอน Better Sleep for Better Tomorrow”
อ่านต่อ ตรวจการนอนหลับ Sleep Test ราคาประหยัด ตรวจได้แม้งบน้อย