ตรวจการนอนหลับ ของคุณด้วย Sleep test
Sleep Test มีกี่แบบ และควรเลือกตรวจแบบไหน
ตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test (Sleeping Test) สามารถแบ่งออกได้ เป็น 4 แบบ ตามความละเอียดของข้อมูลที่ตรวจ โดยใช้ตามนิยามของสมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับของสหรัฐอเมริกา (American academy of sleep medicine หรือ AASM) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลดังนี้
อ่านเพิ่มเติม:
ระดับที่ 1
ทดสอบการนอนหลับแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน (Comprehensive technician-attended polysomnography)
การทดสอบการนอนหลับแบบนี้จะประกอบด้วย การวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ลูกตา ใต้คาง และขา คลื่นไฟฟ้า หัวใจ การตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด การตรวจวัดลมหายใจ เป็นอย่างน้อย โดยอาจทำภายในห้องตรวจเฉพาะของสถานพยาบาล หรือนอกสถานที่ แต่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการตลอดทั้งคืนที่ตรวจ
ระดับที่ 2
ทดสอบการนอนหลับแบบสมบูรณ์ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เผ้าตลอดทั้งคืน (Comprehensive-unattended portable polysomnography)
การตรวจวิธีนี้ อาจตรวจตามบ้านในห้องนอนของผู้รับการตรวจเอง ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ให้แต่ไม่ได้เฝ้าระหว่างเวลาที่ตรวจ ทำให้คล้ายกับการนอนในชีวิตประจำวันมากกว่า ผลลัพธ์ที่ได้จึงแม่นยำมากกว่า
ลักษณะของการตรวจแบบนี้มีส่วนประกอบและข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้ใกล้เคียงกับการตรวจระดับ แรก และมีข้อดีที่เหนือกว่า เช่น
- ค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ถูกกว่า เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในเรื่องค่าห้องของโรงพยาบาล
- ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง
- ใช้เวลาในการรอคิวตรวจน้อยกว่า
โดยผู้ที่เหมาะสำหรับการตรวจวิธีนี้ ได้แก่ ผู้ที่เคลื่อนไหวและเดินทางไม่สะดวก หรือผู้ที่มีอาการมากและต้องการรักษาอย่างรวดเร็ว แต่ต้องรอคิวตรวจในโรงพยาบาลนานมาก เป็นต้น
ระดับที่ 3
การทดสอบการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable sleep test)
การตรวจนี้จะมีเพียงการตรวจลมหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด การวัดระดับเสียงกรน บางครั้งรวมคลื่นหัวใจร่วมด้วย หรือการตรวจคุณภาพการนอนหลับจากระบบหลอดเลือดและประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น การตรวจชนิดนี้แบบนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระดับ 1 และ ระดับ 2
อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจมักได้ค่าความรุนแรงต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากไม่ได้วัดคลื่นสมอง จึงไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพในการนอน รวมระยะความลึกของการนอน ทำให้ผลตรวจมีความแม่นยำน้อยกว่า
ระดับที่ 4
การตรวจระดับออกซิเจนในเลือด และหรือ วัดลมหายใจขณะหลับ (Single or dual channel portable sleep test)
เป็นการตรวจการนอนกรนเพียงบางส่วน และได้ข้อมูลไม่เกิน 3 อย่างเท่านั้น จึงเลือกใช้เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถตรวจในแบบต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วได้เท่านั้น เนื่องจากข้อมูลที่ตรวจได้มักจะไม่มีความน่าเชื่อถือมากพอที่จะนำมาใช้ยืนยันการวินิจฉัยอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
ทาง Vital Sleep Clinic มีให้บริการตรวจการนอนหลับ 2 ระดับคือ ระดับ 1 และ ระดับ 2 แต่ทั้งสองระดับ จะทำการตรวจที่บ้านเพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น
อ่านเพิ่มเติม:
- Promotion Sleeping Test ราคา
- ใครควรตรวจการนอนหลับ (Sleeping Test)
- ประโยชน์ของการตรวจการนอนหลับ (Sleeping Test)
วิธีการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleeping test ระดับ 1 และ 2 ทำอย่างไร ?
1. การตรวจสุขภาพการนอนหลับ ตรวจนอนกรน หรือการทำ Sleep lab จะเริ่มต้นในช่วงหัวค่ำ (เวลาประมาณ 20.00 น ทั้งนี้ตามความเหมาะสมของแต่ละราย) ก่อนเริ่มการตรวจการนอนกรน เจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการนอน หรืออาจให้กรอกแบบสอบถาม และเอกสารความยินยอมของผู้รับการตรวจ หลังจากนั้นจะอธิบายลักษณะเกี่ยวกับอุปกรณ์ และการปฏิบัติตัวต่างๆ ระหว่างการตรวจ
2. ในกรณีที่ตรวจสุขภาพการนอนหลับ ระดับที่ 1 ผู้รับการตรวจส่วนมากจะได้รับการทดลองใส่หน้ากากของเครื่องเป่าความดันลมบวก (CPAP mask) เพื่อปรับตัวก่อนตรวจการนอนกรนในกรณีที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับระดับรุนแรง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะให้รักษาอาการนอนกรนโดยเครื่องดังกล่าวภายในคืนที่ตรวจเลย เมื่อผู้รับการทดสอบการนอนหลับพร้อมที่จะเข้านอน
3. หลังจากชำระร่างกายสะอาดแล้ว เจ้าหน้าที่จะเริ่มทำการติดสายวัดคลื่นไฟฟ้า คลื่นสมอง กล้ามเนื้อลูกตา กล้ามเนื้อใต้คางและขา รวมถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ดังนั้นผู้รับการตรวจจะมีอุปกรณ์ต่างๆ และสายติดที่บริเวณศีรษะ ใบหน้า คาง หน้าอกและขาทั้ง 2 ข้าง
4. นอกจากนี้ยังมีการตรวจระบบหายใจโดยมีสายวัดบริเวณจมูก สายรัดหน้าอก และบริเวณท้อง รวมถึงจะมีเครื่องวัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้ว และอาจมีเครื่องวัดระดับเสียงกรน หรือการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การบันทึกภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ตามความจำเป็น
5. สำหรับการตรวจคุณภาพการนอนหลับ ระดับที่ 1 จะมีเจ้าหน้าที่จะอยู่ในห้องควบคุมภายนอกห้องนอนของผู้รับการตรวจ ซึ่งจะดูแลระหว่างการตรวจ ส่วนการทดสอบการนอนหลับระดับที่ 2 จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้า แต่จะให้นอนหลับอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งคืน
การตรวจสุขภาพการนอนหลับระดับที่ 1 เป็นการตรวจที่มีคนเฝ้าตลอดคืน ในขณะที่การ ตรวจสุขภาพการนอนหลับระดับที่ 2 เป็นการตรวจที่ไม่มีคนเฝ้าตลอดทั้งคืน
อ่านเพิ่มเติม:
BoomTharis ตรวจ Sleep test รักษานอนกรน และพบว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ!!!
บูม ธริศ Youtuber ชื่อดัง รีวิวตรวจ Sleep test พบว่าตัวเองมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ 20 ครั้ง/ชั่วโมง ระดับออกซิเจนในเลือดตกลงไปเหลือเพียงแค่ประมาณ 85% ในจุดที่ต่ำที่สุด ซึ่งจริงๆสำหรับคนทั่วไปเนี่ย ค่านี้ไม่ควรจะต่ำกว่า 95% ซึ่งมันเป็นสัญญาณบอกว่า มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ…
ผู้รับการตรวจควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนรับการตรวจ ?
⭐ผู้รับการตรวจส่วนมากสามารถนอนหลับได้ใกล้เคียงปกติและไม่จำเป็นต้องหยุดงาน เนื่องจากการตรวจทำในช่วงใกล้เวลานอนปกติ โดยในวันที่ตรวจ ผู้รับการตรวจควรสวมเสื้อผ้าเหมือนชุดที่ใส่นอนเป็นประจำ โดยทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องวิตกกังวล
⭐เนื่องจากจะไม่มีสร้างความเจ็บปวดใดๆ ในการตรวจคุณภาพการนอนหลับ หรือ Sleep lab นอกจากความไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือที่ติดตามร่างกายส่วนต่างๆ เท่านั้น
⭐นอกจากนี้ในวันที่ทำการทดสอบการนอนหลับ ผู้รับการตรวจควรหลีกเลี่ยงการดื่ม กาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์เป็นส่วนผสม หรือการออกกำลังกายอย่างหนักหลังเที่ยง และไม่ควรใส่น้ำมัน หรือครีมแต่งผม โดยควรจะนอนในท่าที่สบายและเคยชินที่สุด
⭐สำหรับกรณีที่ใช้ยารักษาโรคประจำตัวเป็นมานาน เช่น ยาลดความดันโลหิต ยารักษาเบาหวาน หรือ ยานอนหลับ อาจไม่จำเป็นต้องหยุดยาก่อนตรวจ อย่างไรก็ดีควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่และแพทย์ทราบด้วย
⭐หลังจากตรวจเสร็จในช่วงเช้า ผู้รับการตรวจสามารถตื่นนอนตามเวลาปกติ โดยกรณีที่ตรวจในระดับ 2 อาจนัดแนะเวลากับเจ้าหน้าที่ให้มาถึงสถานที่รับการตรวจตามสะดวก โดยเจ้าหน้าที่จะทำการแกะอุปกรณ์ต่างๆออก แล้วนำกลับไปวิเคราะห์ผลและตรวจสอบโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับต่อไป
อ่านเพิ่มเติม:
- ขั้นตอนตรวจการนอนหลับ (Sleeping Test) กับ Vital Sleep Clinic
- ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Sleeping Test
ทำ Sleep Test ที่ไหนดี
หลายคนอาจสงสัยว่าควรทำ Sleep Test ที่ไหนดี เพราะมีให้เลือกอย่างหลากหลาย ทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน หรือแม้แต่ตามคลินิกต่างๆ ทั้งนี้ ทางเลือกแรกๆ ที่หลายคนมักนึกถึงจะเป็น Sleep Lab ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ เพราะรู้สึกว่ามีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน
แต่ความเป็นจริงแล้ว Sleep Lab ที่บ้านอาจได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากกว่าเพราะ ผู้ตรวจมีความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่นอนมากกว่า ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น นอกจากนี้การทำ sleeping test ที่บ้านยังสะดวกสบายในการเข้ารับการตรวจเพราะมีเจ้าหน้าที่เดินทางมาติดตั้งเครื่องให้ถึงที่บ้านอีกด้วย
Vital Sleep Clinic เป็น Sleep Lab ที่ให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับอย่างครบวงจร โดยเน้นการทดสอบการนอนหลับที่บ้านเพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ใกล้เคียงกับพฤติกรรมที่แท้จริงของผู้ตรวจมากที่สุด
สรุป
การทำ Sleep Test หรือ Sleeping Test มีทั้งหมด 4 ระดับ แล้วแต่ความสะดวกของผู้ตรวจ การตรวจเหล่านี้สามารถใช้วิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายระหว่างการนอนหลับ รวมถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มากับอาการกรนก็ได้ด้วยเช่นกัน หากสนใจอยากตรวจการนอนหลับกับทาง Vital Sleep Clinic สามารถคลิก “รับคำปรึกษา” ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ