อาการนอนกัดฟันเป็นอีกหนึ่งปัญหาการนอนที่กวนใจใครหลายคนเป็นอย่างมาก นอกจากเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากอาการดังกล่าวแล้ว การนอนกัดฟันยังส่งผลให้ความเสียหายกับฟันและขากรรไกร ทำให้มีอาการปวดหัว รวมถึงทำให้ประสิทธิภาพการนอนลดลงอีกด้วย
ผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันอย่างรุนแรงจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของขากรรไกรและปัญหาการสึกของฟันที่อาจจะสร้างความเสียหายต่อฟันในอนาคต
นอนกัดฟันรักษาได้อย่างไร
ก่อนการรักษาอาการนอนกัดฟัน จำเป็นที่จะต้องมีการวินิจฉัยอาการและประเมินความรุนแรงของการนอนกัดฟัน รวมไปถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน และนิสัยในการนอนหลับ เพื่อให้สามารถรักษาได้อย่างถูกจุด ซึ่งอาการนอนกัดฟันรักษาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. นอนกัดฟันรักษาด้วยเครื่องมือทันตกรรม
- การใส่เฝือกสบฟัน
การรักษาอาการนอนกัดฟันด้วยวิธีใส่เฝือกสบฟัน ทันตแพทย์จะให้ใส่ระหว่างนอนหลับ เพื่อป้องกันฟันสึก ฟันแตก ฟันหัก ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร ลดอาการเกร็ง และตึงของกล้ามเนื้อ โดยเฝือกสบฟันนั้นจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เฝือกสบฟันแบบนุ่ม
2. เฝือกสบฟันแบบแข็ง
- การจัดฟันหรือแก้ไขทางทันตกรรม
การจัดฟันจะช่วยแก้ปัญหาการนอนกัดฟันที่มีสาเหตุมาจากปัญหาทางทันตกรรมให้หายได้ ซึ่งในรายที่มีอาการรุนแรง ทันตแพทย์อาจทำการปรับแต่งพื้นผิวฟันที่ใช้ในการบดเคี้ยว
- การใส่ยางกัดฟัน
ยางกัดฟัน หรือ ฟันยาง เป็นอุปกรณ์สำหรับคนนอนกัดฟัน ซึ่งจะถูกออกแบบมาเพื่อให้ครอบฟันตอนกลางคืน เพื่อลดอาการสบฟัน ลักษณะเป็นยางใส หรือซิลิโคน
2. นอนกัดฟันรักษาได้ด้วยการบำบัด
ในการรักษาด้วยวิธีจะเป็นเพียงแค่การบรรเทาให้อาการนอนกัดฟันนั้นทุเลาลงเพียงเท่านั้น ซึ่งได้แก่
- การจัดการกับความเครียด เช่น การออกกำลังกายหรือการนั่งสมาธิ
- การบำบัดหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการฝึกฝนการวางตำแหน่งของปาก หรือขากรรไกรให้เหมาะสมในแต่ละคน
3. รักษาอาการนอนกัดฟันด้วยการใช้ยา
โดยปกติแล้วการใช้ยารักษานอนกัดฟันจะไม่มีประสิทธิภาพนัก เช่น
- ยาคลายกล้ามเนื้อ แพทย์อาจให้ใช้ในบางรายด้วยการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน โดยใช้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงเท่านั้น
- การฉีดโบทอกซ์ สามารถช่วยให้มีการสบฟันที่เบาลงได้เนื่องจาก กล้ามเนื้อใบหน้ามีความหดรัด ทำให้เกิดอาการตึง จนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อใบหน้าและข้อต่อขากรรไกรได้มากเท่าที่ควร
นอนกัดฟันรักษาไม่หาย อาจเป็นเพราะสาเหตุต่อไปนี้
การรักษาอาการนอนกัดฟันในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี แต่ถ้าหากผลของการรักษานั้นไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวังไว้ นอกจากจะต้องทำการวินิจฉัยวิธีการรักษาใหม่แล้ว สิ่งที่ต้องทำอีกอย่างคือการสังเกตพฤติกรรมว่าสาเหตุที่อาการนอนกัดฟันรักษาไม่หายเสีย ทีเป็นเพราะสิ่งเหล่านี้หรือไม่…
1. มีความเครียด และความหวั่นวิตกเป็นประจำ
2. ความผิดปกติของการนอนหลับอื่นๆ
3. สารกระตุ้นบางชนิด เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีน
4. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท
5. เกิดขึ้นจากโรคบางชนิด เช่น โรคพาร์กินสัน ที่ทำให้กล้ามเนื้อมีการทำงานผิดปกติ เป็นต้น
นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาแล้ว สาเหตุของอาการนอนกัดฟันนั้นยังมาจากกรรมพันธุ์ของครอบครัวได้อีกด้วย ซึ่งเป็นผลให้การรักษาอาการนอนกัดฟันนั้นจะเริ่มหลังจากที่รักษา แก้ไขสาเหตุของการนอนกัดฟันให้หายหรือทุเลาลงเสียก่อน
นอนกัดฟันรักษาที่ Vital Sleep Clinic
ปัจจุบันการนอนกัดฟันรักษาได้จากคลินิกและโรงพยาบาลต่าง ๆ และ Vital Sleep Clinic ก็เป็นอีกคลินิกหนึ่งที่ให้บริการนี้เช่นกัน ด้วยทันตแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองในระดับสากล และวิธีการดังต่อไปนี้
1. การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
การทดสอบการนอนหลับ หรือ Sleep test เป็นการตรวจสำคัญที่ใช้วิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายระหว่างการนอนหลับ ซึ่งอาการนอนกัดฟันอาจมีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจนขณะนอนหลับ เป็นเพราะมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย นำไปสู่ภาวะที่ร่างกายเครียด จึงทำให้นอนกัดฟันและบดฟันโดยที่ไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจการนอนหลับก่อนที่จะทำการรักษาอาการนอนกัดฟัน
2. รักษาอาการนอนกัดฟันด้วยเครื่องมือทันตกรรม Myosa
Myosa ทำมาจากวัสดุที่ยืดหยุ่น ขนาดพอเหมาะกับปาก สามารถสวมใส่ได้ทั้งตอนกลางวันและในตอนกลางคืน โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกั้นระหว่างฟันบนและฟันล่าง ซึ่งช่วยลดความเสียหายจากการนอนกัดฟัน
สรุป
แม้ว่าอาการนอนกัดฟันรักษาได้ด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ก็เป็นปัญหาการนอนที่ไม่ควรจะละเลย เนื่องจากต้นเหตุของอาการดังกล่าวอาจเป็นการขาดออกซิเจนระหว่างนอนหลับที่มีอันตรายถึงชีวิตก็เป็นไปได้ รวมถึงผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันเป็นประจำจะตื่นมามีอาการปวดฟัน ปวดหัวที่รุนแรง หรือทำให้ฟันและขากรรไกรผิดปกติ จึงแนะนำให้พบแพทย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางในการรักษาอาการนอนกัดฟันได้อย่างทันท่วงที
ทุกปัญหาการนอนไว้ใจ Vital Sleep Clinic