เครื่องมือทันตกรรมนอนกรน

เครื่องมือทันตกรรมแก้นอนกรน
Oral appliance (Anti-Snoring Appliance)

การใช้ อุปกรณ์รักษานอนกรน หรือเครื่องครอบฟัน Oral Appliance เพื่อรักษาผู้ที่นอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ถือเป็นวิธีที่นิยมทำวิธีหนึ่งเพราะมีคุณสมบัติ “เล็กกว่า สบายกว่า พกพาสะดวกกว่า”

หลักการของอุปกรณ์แก้กรนชนิดนี้คือ การจัดตำแหน่งลิ้นหรือขากรรไกรมาทางด้านหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น สามารถลดการอุดกั้นทางเดินหายใจและลดเสียงกรนได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ท่านต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับและรับการ ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ก่อน จึงจะพิจารณาได้ว่า สามารถรักษาด้วยเครื่องมือนอนกรน Oral Appliance ได้หรือไม่

“เล็กกว่า สบายกว่า พกพาสะดวกกว่า”

การรักษานอนกรนด้วยอุปกรณ์แก้กรน
Oral appliance เหมาะกับใคร

“เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ไม่อยากใช้เครื่องเปิดทางเดินหายใจอย่าง CPAP รวมถึงผู้ที่ปฏิเสธการรักษาโดยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดทอนซิล อะดีนอยด์ การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกร การเจาะคอ รวมถึงผู้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้า”

ข้อดี ที่เหนือกว่าการใช้เครื่อง CPAP ในการรักษานอนกรน

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับบางราย มักนิยมใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน Oral Appliance ขณะหลับมากกว่าเครื่องช่วยหายใจ CPAP เนื่องจาก

“สำหรับบางรายที่มีอาการนอนกัดฟันร่วมกับอาการนอนกรน อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรนชนิดนี้ยังสามารถช่วยแก้ปัญหานอนกัดฟันที่มีสาเหตุมาจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย นอกจากนี้เครื่องมือทันตกรรมนอนกรน ยังสามารถใช้ร่วมกับการรักษาด้วยคลื่นวิทยุ RF หรือการผ่าตัดทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการรักษาร่วมกันให้สูงขึ้นได้อีกด้วย”

อุปกรณ์แก้กรน Oral Appliance มี 3 ชนิด ดังต่อไปนี้

1. เครื่องช่วยจัดตำแหน่งของ
ขากรรไกรล่าง (Mandibular
repo­sitioning devices, MRD)

เครื่องมือนอนกรนชนิดนี้เป็นอุปกรณ์แก้อาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน โดยหลักการคือ ปรับเลื่อนขากรรไกรล่างไปทางด้านหน้า ยึดขากรรไกรบนและล่างเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ลิ้นที่ยึดติดอยู่กับขากรรไกรล่างเคลื่อนมาทางด้านหน้า

นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อของลิ้นในหลายๆ มัด ให้มีความตึงตัวมากขึ้น และช่วยจัดตำแหน่งของเพดานอ่อนให้มีการตึงตัวและเลื่อนมาทางด้านหน้าด้วย ป้องกันไม่ให้มีการอ้าปากขณะหลับ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อลิ้นเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ เครื่องมือทันตกรรมยังช่วยให้ทางเดินหายใจส่วนบนเปิดกว้างขึ้นขณะนอนหลับ จึงสามารถแก้ไขปัญหานอนกรนได้อย่างแท้จริง

2. เครื่องมือปรับตำแหน่งลิ้นให้ยื่นมาด้านหน้า (Tongue retaining devices)

เครื่องมือนอนกรนชนิดนี้ มีส่วนประกอบที่จะช่วยยึดลิ้นไว้ให้อยู่ในตำแหน่งทางด้านหน้า ไม่ให้ตกลงไปทางด้านหลังขณะนอนหลับ โดยอาศัยแรงดันที่เป็นลบในอุปกรณ์ดังกล่าว ทำให้ทางเดินหายใจบริเวณหลังโคนลิ้นเปิดกว้าง ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ผู้ที่ไม่มีฟัน ผู้ที่มีโรคเหงือก หรือ โรคของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint Disorders) เช่น ข้อต่อขากรรไกรอักเสบขณะนอนหลับด้วย

3. เครื่องมือในช่องปากที่ใช้ร่วมกับเครื่องเป่าความดันลมเพื่อขยายทางเดินหายใจ (Combined Oral Appliances and CPAP)

เป็นเครื่องครอบฟันที่เหมาะกับผู้ที่นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจจะมีความจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องใช้อุปกรณ์นอนกรนร่วมกันทั้งสองชนิด

ขั้นตอนการรักษา

1. พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาปัญหาการนอนกรนที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วย

2. ตรวจสุขภาพการนอนหลับ Sleep Test

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ สามารถตรวจได้ที่บ้าน เพื่อที่ผลการตรวจจะได้ตรงตามอาการมากที่สุด โดยจะมีเจ้าหน้าที่ นำเครื่องตรวจไปให้ที่บ้าน

3. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแปลผลและอ่านผลตรวจสุขภาพการนอนหลับ

เจ้าหน้าที่จะนำเครื่องตรวจกลับมาที่คลินิก และให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนอ่านผลการตรวจ

4. รับอุปกรณ์ เครื่องครอบฟัน เพื่อรักษา

แพทย์จะให้เครื่องมือทันตกรรมที่เหมาะสมกับตัวเรา และสอนวิธีการใช้โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ

5. ติดตามการรักษา

ผู้ที่มีอาการนอนกรนเสียงดังหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับควรใส่เครื่องมืออย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมถึงเข้ารับการตรวจ เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด

6. ระยะเวลาในการรักษา

ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและวินัยของคนไข้ที่จะใช้เครื่องมือทันตกรรมในการรักษานอนกรนด้วย

เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด ควรได้รับการดูแลสภาพช่องปากและฟัน ตลอดจนขากรรไกร โดยทันตแพทย์ควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือทันตกรรมนอนกรน

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะสั้นขณะสวมใส่อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรนที่พบได้ เช่น

  • ในช่วงแรกอาจพบว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บบริเวณที่ใส่เครื่องมือทันตกรรม
  • อาจเกิดแผลบริเวณเหงือกสำหรับผู้ป่วยบางราย
  • อาจมีอาการปวดเมื่อยหรือ รู้สึกไม่สบายบริเวณกรามและขากรรไกรได้
  • อาการส่วนใหญ่จะหายไปเองหลังจากได้รับการปรับเครื่องมือทันตกรรมให้เข้าที่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีน้ำลายออกมามากผิดปกติ หรืออาจมีอาการปากแห้ง
  • ถ้าใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ไปนาน ๆ ผู้ป่วยอาจมีการสบฟันที่เปลี่ยนแปลงไป หรือปวดฟันบ้าง

อ่านเพิ่มเติม

ทำไมต้องรักษาโรคนอนกรน ที่ VitalSleep Clinic

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น

เทคโนโลยีที่ทันสมัย

Vital Sleep Clinic เป็นคลินิกนอนกรน  มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Therapy และจำหน่ายอุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรนหรืออุปกรณ์แก้นอนกรนอีกหลากหลาย เช่น เครื่องเป่าความดันลม Cpap , หมอนลดกรน , Snore circle ชิป อีกด้วย

 

ความหลากหลายของการรักษา

Vital Sleep Clinic เป็นคลินิกนอนกรน ที่มีวิธีรักษานอนกรนหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด

เสียงตอบรับ

ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่

VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง

เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยวิธีอื่น

null

การเปิดทางเดินหายใจ โดยไม่ผ่าตัด

การเปิดทางเดินหายใจ โดยไม่ผ่าตัด

null

เครื่องมือทันตกรรม แก้นอนกรน

เครื่องมือทันตกรรม แก้นอนกรน

null

การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP)

การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP)

null

การฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน

การฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน

null

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น

null

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้ในการรักษาเยื่อบุจมูกบวม

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้ในการรักษาเยื่อบุจมูกบวม

null

Myofuctional Therapy

การรักษาแบบผ่าตัด โดยวิธีอื่น

null

การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า

การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า

null

การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน และลิ้นไก่ โดยใช้เลเซอร์

การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน และลิ้นไก่ โดยใช้เลเซอร์

null

การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด

การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด