
อัปเดตล่าสุด 3 วิธีรักษานอนกรน ไม่ต้องผ่าตัด
จากครั้งก่อนที่แอดมินนำข้อมูลสุด insight เกี่ยวกับอุปกรณ์รักษานอนกรนมานำเสนอ ก็มีลูกเพจทักเข้ามาถามเป็นจำนวนมาก วันนี้แอดมินจึงเห็นว่าเป็นฤกษ์งามยามดีที่จะมาอัปเดตการรักษานอนกรนแบบไม่ต้องผ่าตัด ที่ได้รับความนิยมจากทั้งในโรงพยาบาลและตามคลินิกต่างๆ ข้อมูลวันนี้ถือว่าอัปเดตที่สุดแล้ว พลาดไม่ได้แล้วล่ะ !
Oral Appliance
คืออุปกรณ์ทันตกรรมรักษานอนกรน มีให้เลือกหลายรุ่นตามความต้องการของคนไข้เช่น ความหนาของตัวอุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ผลิต
หลักการทำงานของ Oral appliance: การจัดตำแหน่งลิ้นหรือขากรรไกรมาทางด้านหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ซึ่งจะทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น วิธีนี้สามารถช่วยให้ผู้ที่มีปัญหานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ดีมากขึ้น
ข้อดี
ข้อเสีย
CPAP (Continuous Positive Airway Pressure):
เครื่องช่วยหายใจประเภทหนึ่งที่ใช้รักษานอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ในระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรง
หลักการทำงานของ CPAP: ตัวเครื่องจะเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปากผ่านบริเวณลำคอและโคนลิ้น ซึ่งเป็นส่วนทางเดินหายใจตอนต้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดตันขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP สามารถหายใจรับอากาศอย่างพอเพียงและนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน
ข้อดี
ข้อเสีย
RF (Radio Frequency) (Continuous Positive Airway Pressure):
การใช้คลื่นวิทยุยกกระชับเพดานอ่อน ทำให้เกิดการสะบัดตัวขณะหายใจน้อยลง จึงช่วยลดอาการนอนกรน
หลักการทำงานของ RF: มีการปล่อยพลังงานวิทยุไปที่เพดานอ่อนทำให้เพดานอ่อนกระชับขึ้น การปล่อยพลังงาน RF (Radio Frequency) ทำให้เนื้อเยื่อเกิดเป็นพังผืดและมีการหดตัว จึงทำให้เสียงกรนและการสั่นสะเทือนขณะหายใจลดน้อยลง
ข้อดี
ข้อเสีย
อุปกรณ์แต่ละชนิดมีข้อดีในแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันเช่น คนที่เดินทางไปต่างจังหวัดบ่อยๆ อาจจะเลือกใช้ oral appliance เพราะขนาดเล็ก พกพาสะดวก แต่ถ้าคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างรุนแรง ต้องการสดชื่นขึ้นทันทีในเช้าวันต่อมา ก็ควรใช้ CPAP ในการรักษา หากว่าต้องการลดเสียงกรนรบกวนคนข้างๆ อาจใช้ RF (Radio Frequency) ในการช่วยแก้ปัญหา นอกจากการพิจารณาพฤติกรรมภาพรวมของตนเองแล้ว อาจต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับความรุนแรงของอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับของแต่ละบุคคล
ทำไมต้องรักษานอนกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
ที่ VitalSleep Clinic
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น
เทคโนโลยีที่ทันสมัย
VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์ลดการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เช่น Myosa® ความหลากหลายของการรักษา

เสียงตอบรับ
ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
ติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่
VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง
เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เพราะเราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน
การรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัด โดยวิธีอื่น
1. การเปิดทางเดินหายใจโดยไม่ผ่าตัด
2. เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน
3. การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP)
5. การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น
การรักษานอนกรนแบบผ่าตัด โดยวิธีอื่น
1. การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า