
เด็กนอนกรน ภัยร้ายที่พ่อแม่ต้องรู้ทัน
การนอนถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญสำหรับวัยเด็ก ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกที่พ่อแม่หลายคนรู้สึกกังวล หากลูกน้อยนอนกรนหรือแม้แต่ลูกหยุดหายใจขณะหลับ แม้ว่าการนอนกรนเป็นอาการที่ถือเป็นเรื่องปกติในผู้ใหญ่ แต่อาการนอนนี้กลับเกิดขึ้นในเด็กได้ด้วยเช่นกัน
การนอนกรนมี 2 แบบ
1. อาการนอนกรนธรรมดา: เมื่อลูกน้อยนอนกรนมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดห์ แต่ไม่ได้มีอาการอื่นที่เห็นได้ชัดร่วมด้วย
2. อาการนอนกรนอันตราย: เป็นการนอนกรนที่ลูกหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้งตลอดคืน เมื่อทางเดินหายใจถูกปิดทำให้มีภาวะหลับๆตื่นๆตลอดคืน และส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ รวมถึงพฤติกรรมด้วย
อาการเด็กนอนกรนพบบ่อยแค่ไหน?
เชื่อกันว่าอาการกรนเล็กน้อยเป็นครั้งคราวพบในเด็กมากถึง 27% การนอนกรนประเภทนี้ไม่มีปัญหาอะไรน่ากังวล
สาเหตุของเด็กนอนกรนคืออะไร?
“อาการนอนกรนในเด็ก” เกิดขึ้นเมื่ออากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปยังทางเดินหายใจได้อย่างอิสระ ดังนั้น เมื่อหายใจเข้าหรือออก เนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ทางเดินหายใจจะสั่น จึงเป็นที่มาของเสียงกรน
“ลูกนอนกรน” เสี่ยง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เสียงกรนเป็นอาการที่บ่งบอกว่า ทางเดินหายใจส่วนต้นมีการตีบแคบ ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในขณะนอนหลับ จึงส่งผลให้ขาดออกซิเจนขณะหลับ และเกิดการทำงานอย่างหนักของระบบหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอาการนอนกรนในเด็ก ได้แก่ :
1. ต่อมทอลซินหรือต่อมอะดีนอยด์โต:
ต่อมอะดีนอยด์คือต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ตำแหน่งตั้งอยู่บริเวณหลังโพรงจมูก โดยส่วนมากพบว่า การที่ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โตมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ เนื่องจากต่อมทอนซิลเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณภายในช่องคอ ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับต่อมอะดีนอยด์
เมื่อต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โตมากเกินไปจากการการติดเชื้อ ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจและเป็นที่มาของอาการนอนกรนในเด็ก นี่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการหายใจไม่เป็นสะดวกในเด็ก
2.โรคอ้วน: จากการศึกษาพบว่า เด็กที่มีน้ำหนักเกินมีแนวโน้มที่จะเข้าข่ายเป็น “เด็กนอนกรน” มากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ โรคอ้วนสามารถทำให้ทางเดินหายใจแคบลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากยิ่งขึ้น
3. โรคภูมิแพ้: อาจทำให้เกิดการอักเสบในจมูกและลำคอ ซึ่งอาจทำให้หายใจได้ยากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเด็กนอนกรนหรือลูกหยุดหายใจขณะหลับ
4. โรคหอบหืด: เช่นเดียวกับโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดอาจยับยั้งการหายใจตามปกติและหากทำให้เกิดการอุดตันบางส่วนของทางเดินหายใจ จึงยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกหยุดหายใจขณะหลับ
5. ควันบุหรี่เพื่อสิ่งแวดล้อม (ETS): การสัมผัสกับ ETS ซึ่งมักเรียกว่า “ควันบุหรี่มือสอง” อาจส่งผลต่อการหายใจและมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้น 10 ของการนอนกรนในเด็ก
6. อากาศที่ปนเปื้อน: คุณภาพอากาศที่ต่ำหรือมีสารปนเปื้อนมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อการระบบหายใจของลูกน้อย รวมถึงยิ่งมีโอกาสที่ทำให้เด็กกรนได้ง่ายยิ่งขึ้น
7. ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมสั้นลง: การวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กนอนกรนกับการย่นระยะเวลาการให้นมอาจมีความเกี่ยวข้องกัน มีความเป็นไปได้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้ทางเดินหายใจส่วนบนพัฒนาและลดอาการนอนกรนในเด็กได้
การนอนกรนในเด็กอันตรายมั้ย?
เด็กนอนกรนนานๆครั้ง ถือว่ายังไม่อันตราย แต่ถ้ามีเสียงกรนที่ดังต่อเนื่องและเป็นประจำอาจเป็นจุดบ่งชี้ว่ามีการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก
โดยปกติแล้วการนอนกรนธรรมดาถือว่าไม่อันตราย เพราะไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย แต่จากผลการวิจัยพบว่า การนอนกรนที่บ่อยเกินไป จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้มีความอันตรายมากขึ้น
นอกจากการนอนกรนจะส่งผลเสียกับตัวเด็กแล้ว อาจรบกวนการนอนหลับของพ่อแม่หรือพี่น้องที่นอนร่วมห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงกรนที่ดังมาก สามารถทำให้ผู้อื่นตื่นกลางดึก นำไปสู่การนอนหลับที่ไม่ต่อเนื่องสำหรับผู้คนที่นอนด้วย สร้างความรำคาญให้กับผู้อื่นเป็นอย่างยิ่ง
วิธีการสังเกตความผิดปกติจากภาวะเด็กนอนกรน

พ่อแม่ที่เป็นกังวลว่าการกรนของลูกน้อยจำเป็นต้องไปพบแพทย์หรือไม่ อาจพิจารณาได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้
1. เด็กกรน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมากกว่า
2. นอนหายใจทางปาก
3. รู้สึกหายใจลำบากขณะนอนหลับ
4. ปัสสาวะรดที่นอน
5. ปวดหัวในตอนเช้า
6. ง่วงนอนตลอดวัน
7. ไม่มีสมาธิจดจ่อ
8. เรียนรู้ได้ช้า
ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า มีภาวะหายใจที่ผิดปกติในขณะหลับ แต่ทั้งนี้ ไม่จำเป็นว่าเด็กทุกคนที่กรนและมีภาวะเหล่านี้จะต้องมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย
จะช่วยลดอาการเด็กกรนได้ยังไง
1.พบแพทย์
ขั้นตอนแรกที่รักษาอาการเด็กกรนคือ การปรึกษาคุณหมอ เพราะคุณหมอจะถามถึงปัญหานอนกรน และมองหาสัญญาณที่รุนแรงของภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับหรือปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคหืด โรคภูมิแพ้
2. ผ่าตัดแก้นอนกรน
การผ่าตัดเพื่อเอาต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ออก (หรือที่เรียกว่า Adenotonsillectomy) คือ หนึ่งในการรักษาหลักสำหรับเด็กที่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับ ซึ่งจะแนะนำในเด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง แต่นี่อาจจะเป็นทางเลือกสำหรับการรักษานอนกรนบางกรณี
3.การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP)
เป็นการเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอและโคนลิ้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดตันขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ สามารถหายใจรับอากาศอย่างพอเพียงและนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน
การรักษาวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเด็กที่รักษาโดยการผ่าตัดไม่ได้ หรือ เมื่อรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแล้วไม่หาย ทั้งนี้ โดยปกติการรักษาด้วย CPAP จะใช้รักษาในผู้ใหญ่ ส่วนการกรนในเด็กมักจะผ่าตัดทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ออก
4.ดูแลความสะอาดของห้องนอน
ดูแลเรื่องความสะอาดของห้องนอนและเครื่องนอน เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองจมูกอันเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ ซึ่งเป็นปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ
ปัจจุบันพบว่า เด็กส่วนใหญ่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับ ซึ่งส่งผลให้เด็กมีต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต รวมทั้งยังส่งผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็ก
ทำไมต้องรักษาโรคนอนกรน ที่ VitalSleep Clinic
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คลินิกของเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับการศึกษาและรับรองจากสถาบันนานาชาติ เรามีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น
เทคโนโลยีที่ทันสมัย
VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษามากมาย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและระบบทางเดินหายใจ Myofunction Theraphy และจำหน่ายอุปกรณ์แก้กรนหรืออุปกรณ์อีกหลากหลาย เช่น เครื่องเป่าความดันลม Cpap , หมอนลดกรน , Snore circle ชิป อีกด้วย
ความหลากหลายของการรักษา

เสียงตอบรับ
ใครๆก็ไว้ใจให้ VitalSleep Clinic ดูแลรักษาอาการนอนกรน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,นอนกัดฟัน,ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
ติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่
VitalSleep Clinic ตั้งอยู่ที่ตึกพญาไทพลาซ่า ชั้น 33 ใกล้ BTS เดินทางง่าย ไม่ซับซ้อน สะดวกในการเดินทาง
เรามีคลินิกที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมบริการและต้อนรับทุกคนอย่างเป็นมิตร เราใส่ใจในการบริการและจริงใจต่อทุกคน